ความเห็นผิดในชีวิตประจำวัน
โดย sms  19 ก.ย. 2549
หัวข้อหมายเลข 2128

อย่างไรจึงจัดว่าเป็นความเห็นที่ผิด และจะเกิดความเห็นถูกได้อย่างไร



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 19 ก.ย. 2549

ความเห็นผิด หรือ มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง มี

หลายระดับขั้น เช่น ความเห็นผิดที่มีกำลังมากปฏิเสธบุญบาป ผลของบุญบาป ปฏิเสธ

เหตุผลทั้งหมด หรือมีความเห็นว่าเที่ยง หรือเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นตัวตน

ของเรา ทั้งหมดคือความเห็นผิดผู้ที่คบสัตบุรุษ ฟังธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเห็น

ถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้องตรงตามความเป็นจริง


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 19 ก.ย. 2549

เชิญคลิกอ่านได้ที่นี่...

เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด [มิจฺฉาทิฏฺฐิ]


ความคิดเห็น 4    โดย สหรัตน  วันที่ 24 ก.ย. 2549

ช่วยอธิบายคำ4 คำเหล่านี้ด้วยครับ... (ลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน,ปทัฏฐาน) ... จากข้อความ... มิจฉาทิฏฐินั้นมีการยึดถือมั่นโดยอุบายไม่แยบคายเป็นลักษณะ (อโยนิโส อภิ

นิเวส ลกฺขณา) มีความยึดมั่นผิดสภาวะเป็นรส (ปรามาสรสา) มีความยึดถือผิดเป็น

ปัจจุปัฏฐาน (มิจฺฉาภินิเวสนปจฺจุฏฺฐานา) มีความไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลาย

เป็นต้นเป็นปทัฏฐาน (อริยานํ อทสฺสน กามตาทิปทฏฺฐานา) พึงเห็นว่าเป็นโทษอย่าง

ยิ่ง.


ความคิดเห็น 5    โดย สหรัตน  วันที่ 24 ก.ย. 2549

ขออภัยครับมีเพิ่มเติมคือ... การบูชา และ การบวงสรวง หมายความว่าอย่างไร และทำ

อย่างไรครับ..ข้อความเดิม... ...ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผล

วิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี...


ความคิดเห็น 6    โดย study  วันที่ 27 ก.ย. 2549

สภาพธรรมที่มีจริง ย่อมมีลักขณาทิจตุกะ ๔ เป็นของแต่ละสภาพธรรม (เว้นพระ

นิพพานไม่มีปทัฏฐาน) ใน ๔ อย่างนั้น ประกอบด้วย ลักษณะ คือลักษณะที่เป็น

ลักษณะที่เฉพาะของธรรมนั้นๆ รสหรือกิจหน้าที่ของธรรมนั้นๆ

ปัจจุปัฏฐาน หมายถึง อาการที่ปรากฏ ปทัฏฐาน หมายถึง เหตุใกล้ให้เกิดของธรรมนั้นๆ คำว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล คำเดิมคือ นตฺถิ ทินฺนํ การบูชาไม่มีผล " นตฺถิ ยิฏฐํ (การบูชาใหญ่ แก่ผู้มีคุณ) การบวงสรวงไม่มีผล " นตฺถิ หุตํ (การบูชาเล็ก เช่นต้อนรับแขก) รายละเอียดโปรดอ่านข้อความโดยตรง


ความคิดเห็น 7    โดย study  วันที่ 27 ก.ย. 2549

เชิญคลิกอ่านที่นี่

ความเห็นผิด