ขอความอนุเคราะห์ข้อมูล
โดย kdl003  26 ธ.ค. 2548
หัวข้อหมายเลข 616

1. ความหมายของคำว่า ความแก่ หรือความชรา ในพระไตรปิฎก นอกจากในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ ที่ให้ความหมายว่าความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป จะมีความหมายอื่นอีกหรือไม่

2. การปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในวัยชรา นั้น มีกล่าวถึงในหัวข้อใดบ้าง อ่านในชราสูตร มีหัวข้อเกี่ยวกับความยึดติดในรูปฯเป็นส่วนใหญ่

หมายเหตุ ที่อยากได้เนื่องจากจะได้แนะนำให้นักศึกษาเขียนลงในส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์แทนที่จะเขียนเฉพาะแนวคิดทางตะวันตกเท่านั้น

ขอบคุณมากครับ



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 26 ธ.ค. 2548

โดยมากในพระไตรปิฎกท่านอธิบายอรรถของชราไว้เหมือนกันหลายแห่งแต่ในอรรถกถาท่านขยามความเพิ่ม โปรดอ่านโดยตรง เล่มที่ ๗๗

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ 281

[๑๔๗] ชรา เป็นไฉน ความคร่ำคร่า ภาวะที่ครำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอกความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ -หน้าที่ 326

ว่าด้วยนิเทศชรา (บาลีข้อ ๑๔๗)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศชรา ต่อไป

บทว่า ชรา (ความคร่ำคร่า) เป็นรูปความเฉพาะตนโดยภาวะของตน.

บทว่า ชิรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เป็นศัพท์แสดงถึงอาการ.

ศัพท์ทั้ง ๓ มีคำว่า ขณฺฑิจจํ (ความที่ฟันหลุด) เป็นต้น เป็นศัพท์แสดงถึงกิจในเมื่อล่วงกาลผ่านไป สองศัพท์หลังเป็นการอธิบายความตามปกติ. *

จริงอยู่ ชรานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยภาวะของตนด้วยบทว่า ความคร่ำคร่า นี้. เพราะเหตุนั้น

บทว่า ความคร่ำคร่า นี้ จึงเป็นรูปความเฉพาะตนโดยสภาพแห่งบทว่า ความคร่ำคร่า นั้น. ทรงแสดงชรานั้นโดยอาการ ด้วย

บทว่า ชิรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เพราะเหตุนั้น ศัพท์ว่า ชิรณตา นี้ จึงเป็นการอธิบายถึงอาการของชรานั้น.

ด้วยบทว่า ขณฺฑิจิจํ นี้ พระผู้นีพระภาคเจ้าทรงแสดงชราโดยกิจ คือ กระทำความเป็นผู้มีฟันและเล็บหักในเมื่อล่วงกาลผ่านไป.

ด้วยบทว่า ปาลิจฺจํ (ความที่ผมหงอก) นี้ ทรงแสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มีผมและขนหงอก.

ด้วยบทว่า วลิตฺตจตา (ความที่หนังเหี่ยวย่น) นี้ ทรงแสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มีเนื้อเหี่ยวแล้ว หนังย่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ศัพท์ทั้ง ๓ มีอาทิว่า ขณฺฑิจฺจํ (ความที่ฟันหลุด) เหล่านี้ จึงเป็นศัพท์แสดงกิจในเมื่อล่วงกาลผ่านไปของชรานั้น.

ด้วยศัพท์ทั้ง ๓ นั้น พระองค์ทรงแสดง ปากฏชรา ว่า ชรานั้นเป็นธรรมชาติปรากฏแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเห็นภาวะเหล่านี้ เป็นของพิการไป เปรียบเหมือนทางเดินของน้ำ หรือ


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 26 ธ.ค. 2548

ลม หรือไฟ ย่อมปรากฏเพราะความที่หญ้าและต้นไม้เป็นต้นหักโค่นทลายแล้ว หรือถูกไฟไหม้ และทางที่เป็นไปแล้วนั้นมิใช่น้ำเป็นต้นเหล่านั้นเลย ข้อนี้ ฉันใด ทางเดินของเรา ก็่ฉันนั้นเหมือนกันย่อมปรากฏในที่มีฟันเป็นต้น ด้วยอำนาจลักษณะมีภาวะที่หักเป็นต้น ใครๆ แม้ลืมตาก็รู้ได้ แต่ลักษณะมีภาวะที่ฟันหักเป็นต้นเท่านั้น มิใช่ชราเพราะชรามิใช่สิ่งที่พึงรู้แจ้งด้วยตา

อนึ่ง ชรานั้น พระองค์ทรงแสดงโดยปกติ กล่าวคือความสิ้นอายุ และความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์มีจักษุ เป็นต้น ซึ่งปรากฏเฉพาะในเมื่อล่วงกาลผ่านไปเท่านั้น

ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สํหานิ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก (ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ และความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) เพราะเหตุนั้นสองศัพท์หลังเหล่านั้น พึงทราบว่า เป็นศัพท์อธิบายความตามปกติของชรานั้น

บรรดาบททั้ง ๒ (คือความเสื่อมสิ้นแห่งอายุและความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) นั้น เพราะอายุของผู้ถึงชราแล้วย่อมเสื่อม ฉะนั้น ชรา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลูปจารนัยว่า ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ.

อนึ่ง เพราะอินทรีย์มีจักษุ เป็นต้น ในเวลาที่ยังเป็นหนุ่มเป็นของผ่องใสดี สามารถรับวิสัยของตนแม้ละเอียดได้โดยง่ายที่เดียว เมื่อเขาถึงชราแล้ว เป็นอินทรีย์หง่อมแล้วสับสนไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถรับวิสัยของตนแม้หยาบได้ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อินฺทฺริยานํ ปริปาโก (ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) โดยผลูปจารนัยที่เดียว

ว่าด้วยชรา ๒ อย่าง

อนึ่ง ชราแม้ทั้งหมด ที่ทรงยกขึ้นแสดงไว้อย่างนี้นั้นมี ๒ อย่าง คือ ปากฏชรา ปฏิจฉันชรา

บรรดาชราทั้ง ๒ นั้น ชราในรูปธรรม ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงภาวะมีการหัก เป็นต้น ในอวัยวะมีฟันเป็นต้น

ส่วนชราในอรูปธรรม ชื่อว่า ปฏิจฉันนชรา เพราะไม่แสดงพิการเช่นนั้น

ในชราทั้ง ๒ นั้น ภาวะมีความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้นใดนี้ ย่อมปรากฏภาวะความเป็นผู้มีฟันหักนั้น เป็นวรรณะ (สี) เท่านั้น เพราะความที่อวัยวะมีฟันเป็นต้นเช่นนั้น เป็นสิ่งที่รู้ได้โดยง่าย บุคคลเห็นวรรณะ (สี) นั้นด้วยจักษุ


ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 26 ธ.ค. 2548

แล้วก็คิดโดยมโนทวาร ย่อมทราบชราว่า ขันธ์เหล่านี้ถูกชราประหารแล้ว ดุจการแลดูวัตถุทั้งหลายมีเขาโค เป็นต้น ที่ผูกไว้ในที่เป็นที่ตั้งแห่งน้ำก็จะทราบได้ว่า น้ำมีภายใต้ ฉะนั้น.

ชรานี้ มีอีก ๒ อย่าง คือ อวีจิชรา (ชราไม่มีร่องรอย) สวีจิชรา (ชรามีร่องรอย) .

บรรดาชราทั้ง ๒ นั้น ชรา (ความคร่ำคร่า) ของแก้วมณี ทอง เงินแก้วประพาฬ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์เป็นต้น

ชื่อว่า อวิจิชรา เพราะความพิเศษแห่งสี เป็นต้น ในระหว่างๆ เป็นของที่รู้ได้โดยยาก เหมือนความแปลกแห่งสีเป็นต้นของสัตว์มีชีวิตในพวกมันททสกะเป็นต้น และสิ่งไม่มีชีวิตในพวกที่เป็นดอกไม้ผลไม้และใบอ่อน เป็นต้น. มีอธิบายว่าเป็นนิรันตรชราคือ ชราไม่มีระหว่าง แต่ชรา (ความคร่ำคร่า) ในสิ่งอื่นๆ จากวัตถุมีแก้วมณี เป็นต้นนั้น ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความแปลกแห่งสีเป็นต้นในระหว่างๆ เป็นสิ่งที่รู้ได้ง่าย.

ในชราทั้ง ๒ นั้น สวีจิชรา พึงทราบอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่ง อุปาทินนรูป และอนุปาทินนรูป.

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า ฟันน้ำนมของพวกเด็กๆ ย่อมเกิดก่อนทีเดียว ฟันเหล่านั้นไม่ถาวร แต่เมื่อฟันเหล่านั้นหักไปแล้ว ฟันก็จะตั้งขึ้นอีก ฟัน (แท้) เหล่านั้นครั้งแรกเป็นสีขาว ย่อมเป็นสีดำในเวลาถูกลมคือชรากระทบ.

อนึ่ง ผมครั้งแรกย่อมเป็นสีแดงบ้าง ย่อมเป็นสีดำบ้าง ขาวบ้าง. ส่วนผิวย่อมมีสีแดง เมื่อบุคคลกำลังเจริญๆ บุคคลขาวก็จะปรากฏเป็นสีขาว บุคคลดำก็จะปรากฏเป็นสีดำ แต่เมื่อถูกลมคือชรากระทบแล้ว ผิวนั้นก็จะจับรอยย่น. ข้าวกล้าแม้ทั้งหมดในเวลาที่หว่านแล้ว ย่อมงอกเป็นสีขาว ภายหลังจะเป็นสีเขียว แต่ในเวลาถูกลมคือชรากระทบแล้วก็เป็นสีเหลือง จะแสดงแม้ด้วยหน่อมะม่วงก็ควรเหมือนกัน

คำว่า อยํ วุจฺจติ ชรา (นี้เรียกว่าชรา) ความว่า นี้เรากล่าวให้ชื่อว่า ชรา. ก็ชรานี้นั้น ขนฺธปริปากลกฺขณา มีความแก่ของขันธ์เป็นลักษณะมรณูปนยนรสา มีการนำเข้าไปหาความตายเป็นกิจ โยพฺพนวินาสปจฺจุปฏฺฐานา มีความพินาศแห่งวัยหนุ่มสาวเป็นปัจจุปัฏฐาน

พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์ ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์นี้ต่อไป แม้ชรานี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งของทุกข์

ถามว่า เป็นที่ตั้งของทุกข์ไหน.

ตอบว่า ของทุกข์ในกาย และทุกข์คือโทมนัส


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 31 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย Sirapatthanatorn  วันที่ 17 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาคะ