สันทิฏฐิโก อกาลิโก โอปนยิโก ปัจจัตตัง
โดย nong  12 ก.ย. 2548
หัวข้อหมายเลข 386

ขอความหมายที่ชัดเจนของคำเหล่านี้ค่ะ และบทสวดมนต์นี้ปรากฏอยู่ในพระสูตรใดบ้างไหมคะ?

ขอบพระคุณค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 13 ก.ย. 2548

ขอเชิญคลิกอ่าน...

สันทิฏฐิโก [วิสุทธิมรรค]


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 13 ก.ย. 2548

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 2

[แก้บท สนฺทิฏฺฐิโก]

ส่วนวินิจฉัยในบทว่า สนฺทิฏฺฐิโก นี้ พึงทราบ (ต่อไปนี้)

[นัยที่ ๒ แปลว่า "ชนะ (กิเลส) ด้วยสันทิฏฐิ"]

นัยหนึ่ง ทิฏฐิอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ ชื่อว่า สันทิฏฐิ โลกุตตรธรรมย่อมชำนะ (กิเลส) ด้วยสันทิฏฐิ เหตุนั้นจึงชื่อ สันทิฏฐิกะ

จริงอย่างนั้น ในโลกุตตรธรรมนั้น อริยมรรคย่อมชำนะกิเลสทั้งหลายด้วยสันทิฏฐิ อันสัมปยุต (กับตน) อริยผลย่อมชำระกิเลสทั้งหลายด้วยสันทิฏฐิ อันเป็นเหตุ (ของตน) พระนิพพานย่อมชำนะกิเลสทั้งหลายด้วยสันทิฏฐิ อันเป็นวิสัย (อารมณ์ของตน) เพราะเหตุนั้นโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ จึงชื่อว่าสันทิฏฐิกะ เพราะชำนะ (กิเลส) ด้วย สันทิฏฐิประดุจนักรบได้ชื่อว่า รถิกะ เพราะ (รบ) ชนะด้วย รถ ฉะนั้น


ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 13 ก.ย. 2548

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 2

[แก้บท สนฺทิฏฺฐิโก]

ส่วนวินิจฉัยในบทว่า สนฺทิฏฺฐิโก นี้ พึงทราบ (ต่อไปนี้)

[นัยที่ ๓ แปลว่า "ควรซึ่งการเห็น"]

อีกนัยหนึ่ง การเห็น เรียกว่า ทิฏฐะ ทิฏฐะนั่นเองเป็นสันทิฏฐะ แปลว่า การเห็นโลกุตตรธรรมย่อมควรซึ่งสันทิฏฐะ (การเห็น) เหตุนั้นจึงชื่อว่า สันทิฏฐะ เพราะว่าโลกุตตรธรรมเมื่อบุคคลเห็นอยู่ด้วยอำนาจภาวนาภิสมัย (รู้โดยทำให้มีขึ้น) และด้วยอำนาจสัจฉิกิริยาภิสมัย (รู้โดยทำให้แจ้ง) นั่นแล จึงยังวัฏฏภัย (ภัยคือวัฏฏะ) ให้กลับได้ ๑ เพราะเหตุนั้น โลกุตตรธรรมนั้นจึงชื่อ สันทิฏฐิกะ เพราะควรซึ่งสันทิฏฐะ (การเห็น) เปรียบเหมือนคนที่ได้ชื่อว่า วัตถิกะ เพราะความซึ่งวัตถะ (ผ้า) ฉะนั้น


ความคิดเห็น 4    โดย study  วันที่ 13 ก.ย. 2548

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒

[แก้บท อกาลิโก]

(นัยที่ ๑ แปลว่า ไม่มีกาล)

ธรรมนั้น มุ่งการให้ผล หามีกาลไม่ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอกาโล อกาลิโก ก็ อกาโล นั่นเอง มีอธิบายว่า "ธรรมนั้นหาได้รอกาลอันต่างโดยการกำหนดมีปัญจาหะ (๕ วัน) และสัปดาหะ (๗ วัน) เป็นต้นให้ผลไม่ แต่ย่อมให้ผลติดต่อกันไปกับความเป็นไปของตนทีเดียว"

(นัยที่ ๒ แปลว่า "มิใช่ธรรมมีกาล")

นัยหนึ่ง กาลในอันให้ผลแห่งธรรมนั้น ยังไกลที่จะถึง ๓ เหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า กาลิกะ ถามว่าธรรมนั้นคืออะไร ตอบว่า ธรรมนั้นคือกุศลธรรมที่เป็นโลกิยะ ส่วนโลกุตตรธรรมนี้มิใช่กาลิกะ เพราะมีผลต่อเนื่องทันที เหตุนั้นจึงชื่อว่า อกาลิกะ

บทว่า อกาลิโก นี้ ตรัสหมายเอามรรคเท่านั้น


ความคิดเห็น 5    โดย study  วันที่ 13 ก.ย. 2548

ขอเชิญคลิกอ่าน

เอหิปัสสิโก [วิสุทธิมรรค]


ความคิดเห็น 6    โดย study  วันที่ 13 ก.ย. 2548

ขอเชิญคลิกอ่าน

โอปนยิโก [วิสุทธิมรรค]


ความคิดเห็น 7    โดย study  วันที่ 13 ก.ย. 2548

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒

[แก้บท ปจฺจตฺต๋ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ]

บทว่า ปจฺจตฺต๋ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ความว่า อันวิญญูชนทั้งหลายมี อุคฆติตัญญูบุคคล เป็นต้น ทั้งปวงพึงรู้ว่า "มรรคเราเจริญแล้ว ผลเราบรรลุแล้ว นิโรธเราทำให้แจ้งแล้ว" เพราะว่ากิเลสทั้งหลายของสัทธิวิหาริก จะละด้วยมรรคที่พระอุปัชฌายะเจริญหาได้ไม่ เธอจะอยู่เป็นผาสุกด้วยผลสมาบัติของท่านก็ไม่ได้ จะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่ท่านทำให้แจ้งก็ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น จึงมีคำอธิบายว่า โลกุตตรธรรมนั่น บุคคลไม่พึงเห็นดังเช่นเครื่องประดับที่ศีรษะของคนอื่น (ซึ่งจะฉวยเอามาประดับที่ศีรษะของตัวเองได้) แต่พึงเห็นว่า ธรรมอันวิญญูชนทั้งหลายจะพึงเสวยอยู่ในจิตของตัวเองเท่านั้น


ความคิดเห็น 8    โดย study  วันที่ 13 ก.ย. 2548

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 552

[๔๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปเป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม ก็แลครั้นรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ อาศัยความที่ธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดูจึงแสดงธรรม


ความคิดเห็น 9    โดย chatchai.k  วันที่ 8 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น