ฌาณ กับ มิจฉาทิฏฐิ
โดย คุณสงสัย  7 พ.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 8589

ผู้ที่เจริญฌาน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ได้หรือไม่โปรดอธิบายให้เข้าใจอย่างชัดเจน


ความคิดเห็น 1    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 7 พ.ค. 2551

ฌาณ

คำว่าฌานโดยศัพท์หมายถึง เพ่ง หรือเผา ธรรมที่เป็นข้าศึกกันมี ๒ ชนิด คือ อกุศลฌาน ๑ กุศลฌาน ๑ สภาพธรรมที่เป็นองค์ของฌานมี ๗ คือ วิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ เอกัคคตา ๑ โสมนัส ๑ โทมนัส ๑ อุเบกขา ๑ กุศลฌานมี ๒ คือ ลักขณูปนิชฌาน (เพ่งลักษณะ วิปัสสนา) ๑ อารัมณูปนิชฌาน (เพ่งอารมณ์ สมถะ) ๑

ในคำสอนของพระพุทธองค์ทรงเน้นเรื่องการเจริญลักขณูปนิชฌาน เพราะทำให้รู้ความจริงและดับกิเลส พ้นทุกข์ได้ การเจริญสติปัฎฐานคือ การเจริญลักขณูปนิชฌานเพราะรู้ลักษณะของสภาพธรรม

จากคำอธิบายถ้าเป็นกุศลญาณก็ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิแต่ถ้าเป็นอกุศลฌานคงเป็นมิจฉาทิฏฐิ..ใช่ไหมคะ (ตีความเองทีไรมักผิดพลาด)


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 7 พ.ค. 2551

ขอเสริมอีกหน่อยนะครับ

ผู้ที่เจริญฌาน (กุศลฌาน) เป็นมิจฉาทิฏฐิก็มีมาก ดังตัวอย่างในพระสูตรชื่อ พรหมชาลสูตร อยู่ในทีฆนิกายสีลขันธวรรค เป็นพระสูตรแรก หนึ่งในตัวอย่างนั้นก็คือ บางคนเจริญฌานจนสามารถระลึกชาติก่อนได้ แต่รู้ไม่ตลอด ก็เข้าใจว่า เกิดขึ้นลอยๆ หรือเที่ยง เป็นต้น ดังนั้น นักบวชภายนอกศาสนาในบางยุค มีความรู้เรื่องการเจริญสมถภาวนา เจริญฌานจิตแต่ไม่มีปัญญาที่ละเอียด ย่อมเข้าใจผิดในข้อปฏิบัติ สรุปเอาเองตามความรู้ความเห็นของตน แต่ไม่ตรงตามเป็นจริง ชื่อว่า เห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) แม้แต่อาจารย์ของพระโพธิสัตว์คือ อุทกดาบส ก็เข้าใจว่าตนถึงนิพพานแล้ว อย่างนี้ก็ชื่อว่าเห็นผิดเช่นกัน เพราะความเห็นผิดมีหลายระดับครับ


ความคิดเห็น 3    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 7 พ.ค. 2551

เพราะฌานระงับกิเลสได้โดยเพียงการข่มไว้เท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นการอบรมเจริญความเห็นถูก เพื่อละความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เมื่อฌานจิตไม่เสื่อมก่อนจุติก็ส่งผลให้บุคคลนั้นไปปฏิสนธิในพรหมโลก แต่ก็ยังเป็นพรหมปุถุชนที่ยังมีความเห็นผิด ดังตัวอย่างของ พกพรหม ที่มีความเห็นว่าพรหมโลกเที่ยง ยั่งยืน ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย จนเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าต้องเสด็จไปแสดงธรรม ณ ที่นั้น
รายละเอียดกรุณาศึกษาเพิ่มเติมที่

พรหมนิมันตนิกสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้า ๔๔๑


ความคิดเห็น 4    โดย suwit02  วันที่ 7 พ.ค. 2551
สาธุ

ความคิดเห็น 5    โดย ati  วันที่ 7 พ.ค. 2551

เรียนถาม...อกุศลฌาณเป็นเช่นไรครับ


ความคิดเห็น 6    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 8 พ.ค. 2551

อนุโมทนาคำตอบที่ทำให้ไม่เข้าใจผิด..พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดจริงๆ และตีความเองทีไรมักผิดพลาด


ความคิดเห็น 7    โดย study  วันที่ 8 พ.ค. 2551

ตอบความเห็นที่ ๕
อกุศลฌาน คือ ขณะที่จิตเป็นอกุศล องค์ฌาน มีวิตก วิจาร เป็นต้น ที่เกิดร่วมกัน ขณะนั้นก็เป็นอกุศลฌานครับ


ความคิดเห็น 8    โดย ati  วันที่ 8 พ.ค. 2551

อนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย พาราระวี  วันที่ 8 พ.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย อิสระ  วันที่ 8 พ.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 11    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 8 พ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่าพระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งหมดและไม่ทรง ติเตียนฌานทั้งหมด เพราะฌานที่เป็นกุศลและอกุศลฌานก็มี อกุศลฌานก็คือมี ใจเพ่งเล็ง จดจ่อในนิวรณ์ ๕ อันเป็นอกุศล องค์ฌานนั้นที่เป็นวิตก วิจาร..ก็เป็นอกุศลด้วยจึงเป็นอกุศลฌานครับ ผู้ได้ฌานเป็นผู้ที่เห็นผิดก็มี ผู้ที่ได้ฌานมีความเห็นถูกก็มี ผู้ที่ไม่ได้ฌานมีความเห็นผิดก็มี ผู้ที่ไม่ได้ฌานมีความเห็นถูกก็มี ปัญญาจึงมีต่างระดับ ปัญญาขั้นฌานก็ระดับหนึ่ง แต่ปัญญาขั้นนี้ละความเห็นผิดไม่ได้ ปัญญาที่เป็นไปในการเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา (สติปัฏฐาน) สามารถดับกิเลสคือ ความเห็นผิดได้เมื่ออบรมจนถึงจุดนั้น แม้จะไม่ได้ฌานก็อบรมละความเห็นผิดได้ครับ ขออนุโมทนาครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 12    โดย wannee.s  วันที่ 10 พ.ค. 2551

ฌาน หมายถึง เพ่งหรือเผา ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็เผาอกุศล ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลก็เผากุศลค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย pimpisa  วันที่ 5 มิ.ย. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 11 โดย แล้วเจอกัน

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้หมดและไม่ทรงติเตียนฌานทั้งหมดเพราะฌานที่เป็นกุศลและอกุศลฌานก็มี อกุศลฌานก็คือ มีใจเพ่งเล็ง จดจ่อในนิวรณ์ ๕ อันเป็นอกุศล องค์ฌานนั้นที่เป็นวิตก วิจาร..ก็เป็นอกุศลด้วยจึงเป็นอกุศลฌานครับ ผู้ได้ฌานเป็นผู้ที่เห็นผิดก็มี ผู้ที่ได้ฌานมีความเห็นถูกก็มี ผู้ที่ไม่ได้ฌานมีความเห็นผิดก็มี ผู้ที่ไม่ได้ฌานมีความเห็นถูกก็มี ปัญญาจึงมีต่างระดับ ปัญญาขั้นฌานก็ระดับหนึ่ง แต่ปัญญาขั้นนี้ละความเห็นผิดไม่ได้ ปัญญาที่เป็นไปในการเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา (สติปัฏฐาน) สามารถดับกิเลสคือ ความเห็นผิดได้เมื่ออบรมจนถึงจุดนั้น แม้จะไม่ได้ฌานก็อบรมละความเห็นผิดได้ครับ ขออนุโมทนาครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ไม่เข้าใจข้อความนี้ค่ะ คุณแล้วเจอกัน "พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้หมด" ดิฉันไปอ่านเจอข้อความนี้มาค่ะ
๑."ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแล อยู่ในที่ใกล้นิพพาน"

๒. การเข้าฌานมีคุณ ๒๘ “ขอถวายพระพร การเข้าฌานมีคุณ ๒๘ เมื่อสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงระลึกถึงคุณ ๒๘ นั้น ก็ทรงเข้าฌาน

คุณแห่งการเข้าฌาน ๒๘ นั้น คือ
๑. รักษาตัว
๒. ทำให้อายุเจริญ
๓. ทำให้เกิดกำลัง
๔ .ปิดเสียซึ่งโทษ
๕. กำจัดเสียซึ่งสิ่งที่ไม่มียศ
๖. ทำให้เกิดยศ
๗. กำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม
๘. ทำให้เกิดความยินดีในธรรม
๙. กำจัดเสียซึ่งภัย
๑๐. กระทำให้เกิดความกล้าหาญ
๑๑. กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
๑๒. ทำให้ความเพียร
๑๓. กำจัดซึ่งราคะ
๑๔. ระงับซึ่งโทสะ
๑๕. กำจัดเสียซึ่งโมหะ
๑๖. กำจัดเสียซึ่งมานะ
๑๗. ทิ้งเสียซึ่งวิตก
๑๘. ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
๑๙. ทำให้จิตรักในที่สงัด
๒๐. ทำให้ร่าเริง
๒๑. ทำให้เกิดปีติ
๒๒. ทำให้เป็นที่เคารพ
๒๓. ทำให้เกิดลาภ
๒๔. ทำให้เป็นที่รักแก่ผู้อื่น
๒๕. รักษาไว้ซึ่งความอดทน
๒๖. กำจัดเสียซึ่งอาสวะแห่งสังขารทั้งหลาย
๒๗. เพิกถอนเสียซึ่งการเกิดในภพต่อไป
๒๘. ให้ถึงซึ่งสามัญผลทั้งปวง
๓.อีกประการหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการเสวยสุขอันสงบ ก็ทรงเข้าฌาน

อนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงเข้าฌานโดยเหตุ ๔ คือเพื่อความอยู่เป็นสุข ๑ เพื่อความไม่มีโทษมีแต่มากด้วยคุณ ๑ เพื่อความเจริญแห่งพระอริยะอย่างไม่เหลือ ๑ เป็นของที่พระพุทธเจ้าทั้งปวงสรรเสริญว่าประเสริฐ ๑ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงเข้าฌานด้วยเหตุเหล่านี้ไม่ใช่ทรงเข้าฌานด้วยเหตุที่ยังมีสิ่งที่ควรทำอยู่หรือด้วยเหตุเพื่อจะสะสมสิ่งที่ควรทำแล้วทรงเข้าด้วยทรงเล็งเห็นคุณวิเศษโดยแท้ขอถวายพระพร” พระผู้เป็นเจ้าโปรดนี้โยมไม่มีข้อสงสียโยมจะรับไว้ซึ่งถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยประการดังนี้.

ขอความเมตตาช่วยอธิบายด้วยค่ะขอบพระคุณล่วงหน้าในความเมตตาที่ให้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ


ความคิดเห็น 14    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 5 มิ.ย. 2551

" พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งหมด" ซึ่งข้อความนี้อยูใน โคปกโมคคัลลานสูตร หมายถึง ฌานมี ๒ อย่าง คือฌานที่เป็นกุศลและฌานที่เป็นอกุศล ฌานที่เป็นอกุศลควรเจริญไหม เช่น มีจิตจดจ่อเพ่งด้วยความยินดี พอใจ เป็นต้น เมื่อเป็นฌานที่เป็นอกุศล จึงไม่ควรเจริญ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้หมด เพราะฌานที่เป็นอกุศลก็มีครับ ฌานที่เป็นไปในทางกุศลครับ ควรเจริญและมีอานิสงส์ประการต่างๆ ครับ