ความบริสุทธิ์แต่ละประเภท - วิสุทธิที่ 5-1 ตอนที่ 5-8 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
โดย wittawat  10 ก.ค. 2562
หัวข้อหมายเลข 31022

ความบริสุทธิ์ที่ 5 เป็นความบริสุทธิ์โดยความรู้ชัดและเห็นชัดว่าสิ่งใดเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง เมื่อกังขาวิตรณวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์ที่ข้ามพ้นจากความสงสัย) ได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยสติปัฏฐาน ซึ่งระลึกรู้ลักษณะของนามและรูป ปัญญาที่คุ้นเคยยิ่งขึ้นกับลักษณะและรู้ธรรมชัดขึ้น ปัญญารู้ชัดว่าสิ่งที่มีอยู่จริงเสมอกันทั้งหมดคือธรรมทั้งหมดเป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นก็จะมีความเสมอกันในธรรม ซึ่งก็หมายถึงจะมีการละคลายความติดข้อง และการน้อมไปที่จะยึดติดนามหรือรูปใดก็จะน้อยลง ปัญญาน้อมไปมากขึ้นที่จะพิจารณาการเกิดขึ้นและดับไปของนามและรูปที่ปรากฏในลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นปัญญาสามารถที่จะรู้ชัดการเกิดขึ้นและดับไปของธรรมที่สืบต่อกัน วิปัสสนาญาณในขั้นนี้คือการรู้ชัดในธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว คือโดยเป็นกลุ่ม หรือ (สัมมสนญาณ) หลังจากวิปัสสนาญาณขั้นนั้นแล้ว สามารถที่จะมีวิปัสสนาญานขั้นที่ 4 คือ ความรู้ชัดของการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งที่มีจริง (อุททยัพพยญาน) นี้เป็นความรู้ชัดที่ละเอียดยิ่งขึ้นในการเกิดขึ้นและดับไปของนามประเภทหนึ่ง หรือรูปประเภทหนึ่งในแต่ละขณะ

ผู้ที่เริ่มต้นในวิปัสสนาญาณ สามารถที่จะมี "วิปัสนูกิเลส (หมายถึง ความบกพร่องของวิปัสสนาญาน) " หลังจากวิปัสสนาญานขั้นที่ 4 ได้ดับไป กิเลสสามารถที่จะเกิดขึ้น เพราะว่ากิเลสยังไม่ได้ดับไปก็สามารถที่จะมีปัจจัยปรุงแต่งให้วิปัสสนูกิเลสประเภทหนึ่ง หรือมากกว่านั้นเกิดขึ้นได้ ข้อความใน วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๒ (ตอนจบ) - หน้าที่ 111 แสดงเรื่อง วิปัสนูกิเลส "ถามว่า "ก็อุปกิเลส ๑๐ นั้น เป็นไฉน? แก้ว่า "อุปกิเลส ๑๐ นั้น คือ โอภาส (แสงสว่าง) ญาณ (ความรู้ชัด) ปีติ (ความอิ่มใจ) ปัสสัทธิ (ความสงบระงับ) สุข (ความสบายแช่มชื่นใจ) อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร) อุปัฏฐาน (ความมั่นคง คือสติ) อุเบกขา (ความวางเฉย) นิกันติ (ความพอใจ) "

ข้อความนี้แปลจาก...Different Kinds of Purity - 5th Purity

อ่านตอนอื่นๆ ...กดลิ้งค์

1. วิสุทธิที่ 1.....กดลิ้งค์
2. วิสุทธิที่ 2.....กดลิ้งค์
3. วิสุทธิที่ 3.....กดลิ้งค์
4. วิสุทธิที่ 4.....กดลิ้งค์
5. วิสุทธิที่ 5-1.....กดลิ้งค์
6. วิสุทธิที่ 5-2.....กดลิ้งค์
7. วิสุทธิที่ 6.....กดลิ้งค์
8. วิสุทธิที่ 7.....กดลิ้งค์