การระลึกน่ะ ระลึกอย่างไร
โดย query  18 ก.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 4291

ระลึกมากๆ หรือระลึกนิดๆ หน่อยๆ ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่นะครับ เช่นสติ เรารู้ว่าเป็นการระลึก จะระลึกอย่างไร มีปัญหาแล้ว ระลึกนิดหน่อย ระลึก

ให้ลึกซึ้ง ระลึกไปถึงว่า อนิจจ ทุกขอนตตา หรือนึกแต่อ่อนแต่แข็ง ผมเข้าใจครับที่อาจารย์สอน ฟังมา ๒-๓ ปีเข้าใจ แต่เวลาปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ รูป นาม อะไรคือ รูป นาม ทั้งๆ ที่ผมไม่ได้เรียนพระไตรปิฏก ผมเข้าใจครับ ทีนี้ขณะที่ระลึก ปัจจุบันที่ระลึก ปัจจุบันธรรม ขณะที่ระลึก ระลึกอย่างไรถึงจะมีเคล็ด เคล็ดในการระลึกนี่สำคัญครับ ระลึกตื้น ระลึกลึก ระลึกมาก ระลึกยาว ระลึกสั้น ระลึกเผินๆ เอาใจใส่ก็เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขาไป นี่นาม นึกแล้วนี่



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ก.ค. 2550

ถ้าพยายามจะทำก็วุ่นจริงๆ เลย จะให้สติระลึกเผินหรือจะให้ระลึกแรง จะให้มากหรือจะให้น้อย การอบรมเจริญความรู้ คือปัญญานั้น ไม่ใช่มีเคล็ดที่จะทำ แต่เริ่มด้วยการฟังและศึกษาสิ่งที่สติจะระลึกรู้จนเข้าใจยิ่งขึ้น พอที่จะเป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกรู้ตรงลักษณะของ สภาพนามธรรมหรือรูปธรรมตามปรกติตามความเป็นจริง เมื่อสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นจริงอย่างไร ก็ระลึกรู้ตามความเป็นจริงอย่างนั้นเท่านั้น ไม่ต้องไปกดให้แรง ไม่ต้องไปผ่อนให้เบา ไม่ต้องไปทำให้เผินหรืออะไรเลย เพราะถ้าทำอย่างนั้นก็เป็นเรื่องตัวตน ไม่ใช่การพิจารณาศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง สภาพธรรมตามความเป็นจริงเป็นอย่างไร ผู้ไม่หลงลืมสติคือกำลังระลึกรู้สภาพธรรมนั้นตามปรกติความเป็นจริงตรงลักษณะนั้น และเริ่มพิจารณารู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรมนั้นๆ ทีละเล็กน้อย โดยไม่ใช่ให้สติจดจ้องให้ลึกลงไปอีก หรือว่าให้เผินออกมาหน่อย หรืออะไรอย่างนั้น เมื่อสติที่เกิดขึ้นนั้นดับไปแล้วก็อาจจะหลงลืมสติต่อไป หรือสติก็อาจจะระลึกที่อารมณ์อื่นต่อไปก็ได้ จึงจะเห็นความเป็นอนัตตาของสติปัฏฐาน เมื่อรู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายและสติปัฏฐานก็เป็นอนัตตา จึงจะไม่ยุ่ง มิฉะนั้นความรู้สึกว่าเป็นตัวตนก็ทำให้ยุ่งแน่ๆ เพราะแม้พอจะระลึกก็ไม่ทราบว่าระลึกแค่ไหนจึงจะถูก จะระลึกหนักหรือเบา จะแรงหรือจะเผิน ซึ่งถ้าเป็นการระลึกศึกษาพิจารณาเข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏก็จะไม่ยุ่งเลยเพราะเมื่อเป็นปรกติแล้วจะยุ่งได้อย่างไร เมื่อผิดปรกติจึงจะยุ่ง

.. จากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป


ความคิดเห็น 2    โดย orawan.c  วันที่ 18 ก.ค. 2550

อนุโมทนา


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 18 ก.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แม้สติก็เป็นอนัตตา บังคับให้เกิดก็ไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย ตามปกติแล้ว โลภะความต้องการ เป็นเพื่อนที่คอยติดตามไปเสมอ เมื่อยังไม่ได้ศึกษาธรรม ก็ต้องการในรูป เสียง เมื่อศึกษาธรรมแล้ว โลภะไม่ได้หายไปไหน ก็เริ่มมีความต้องการจะให้สติเกิด มีวิธีอย่างไร มีเคล็ดหรือทางลัดไหม โดยที่ถูกโลภะนำไปโดยไม่รู้ตัว ต้องมั่นคงว่าทุกอย่างเป็นธรรม สติก็เป็นธรรม ธรรมต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิด ถ้าไม่เกิดจะทำให้เกิดไม่ได้ เพราะความต้องการไม่ใช่เหตุปัจจัยให้สติเกิดดังนั้นประการที่สำคัญที่สุดคือ ฟังธรรมให้เข้าใจเท่านั้น เมื่อรู้ว่าเป็นธรรม และเป็นอนัตตา ก็ศึกษาด้วยความเบา เพราะผลจะเกิดขึ้นได้ เป็นหน้าที่ของธรรมที่จะทำหน้าที่ไม่ใช่เรา และขณะใดที่ถูกโลภะนำไป ขณะนั้นก็เป็นเครื่องเนิ่นช้าที่จะให้สติเกิดเพราะยังไม่มั่นคงว่าเป็นธรรมครับ ฟังต่อไปนะ ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของธรรม

ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย อิสระ  วันที่ 19 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย wannee.s  วันที่ 19 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 6    โดย ajarnkruo  วันที่ 20 ก.ค. 2550

ฟังพระธรรม สั่งสมปัญญาทีละนิดทีละน้อยไปเรื่อยๆ ดีกว่าครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 7    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 5 ต.ค. 2550

เคล็ดลับและทางตรง คืออดทนที่จะฟังไปให้เข้าใจ ธรรมทำหน้าที่ปฏิบัติเอง


ความคิดเห็น 8    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 16 ต.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 16 ต.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ