การเดินจงกรมนี้เป็นอย่างไรครับ
โดย somjad  23 มิ.ย. 2549
หัวข้อหมายเลข 1420


ผมเองก็ชอบออกกำลังกาย เดินมั่ง วิ่งมั่ง แล้วแต่วัน ได้ยินมาว่าในสมัพุทธกาล

พระภิกษุสงฆ์ก็จาริกไป เพื่อเผยแพร่ธรรมโดยการเดิน ก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกาย

ได้ แต่ก็มานึกถึงการเดินจงกรม ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่พอผมนึกถึงคำนี้ทีไร

ก็จะนึกถึง ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ ทุกที แต่ผมว่าไม่น่าจะใช่ จึงใคร่จะทราบว่า

การเดินจงกรมนี้ เป็นอย่างไรครับ



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 24 มิ.ย. 2549


การเดินจงกรมโดยศัพท์ หมายถึง การก้าวไปตามลำดับ ซึ่งในชีวิตของสมณะเพศ

การออกกำลังกายแบบคฤหัสถ์มีการเต้น การวิ่ง หรือกีฬาประเภทต่างๆ ไม่สมควร ฉะนั้น

การเดินจงกรมจึงเป็นการบริหารร่างกาย เพื่อเป็นการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้น แต่เนื่อง

จากท่านพระภิกษุเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานในทุกอิริยาบถ การเดินของท่านก็เดิน

ปกติคือ มีการพิจารณาธรรมะด้วย แต่ไม่ใช่มีการบริกรรมคำว่า ย่างหนอ


ความคิดเห็น 2    โดย Beckham  วันที่ 24 มิ.ย. 2549


บัญญัติ ๖ ตามนัยของอาจารย์ ก็ว่าโดยนัยของอาจารย์อันเป็นอรรถกถามุตตกะ (นอกไปจากอรรถกถา) มีบัญญัติ ๖ อื่นอีก คือ.

๑. อุปาทาบัญญัติ ๒. อุปนิธาบัญญัติ ๓. สโมธานบัญญัติ ๔. อุปนิกขิตตบัญญัติ ๕. ตัชชาบัญญัติ ๖. สันติบัญญัติ (พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 183)

บัญญัติใด มีคำว่า ปฐวี เตโช ความแข็ง ความร้อนเป็นต้น เพราะเพ่งสภาวธรรมนั้นๆ บัญญัตินี้ ชื่อว่า ตัชชาบัญญัติ.

อนึ่ง ในบรรดาบัญญัติ ๖ เหล่านั้น ตัชชาบัญญัติ ก็คือ วิชชมานบัญญัตินั่นเอง. บัญญัติที่เหลือย่อมรวมเป็นพวกอวิชชมานบัญญัติ และอวิชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ. (พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 186) ท่านมหาธัมมปาลเถระอาจารย์ชาวลังกา กล่าวไว้ในวิสุทธิมัคคมหาฎีกาว่า สภาวธมฺโม หิ คมฺภีโร น ปญฺญติ นนุ จ ตชฺชา ปญฺญตฺติวเสน สภาวธมฺโม คณฺหายตีติ สจฺจํ คณฺหายตีติ ปุพฺพภาเค ภาวนาย ปน วฒฺฑมา นาย ปญฺญตฺตึ สมติกฺกมิตฺวา สภาเวเยว จิตฺตํ ติฏฺฐตีติ อยากให้ ช่วยแปลข้อความบาลีนี้ และแสดงความเห็นด้วยครับ


ความคิดเห็น 3    โดย Beckham  วันที่ 24 มิ.ย. 2549

ข้อความ ที่ส่งไปก่อนหน้านี้ มีอ้างอิงคือ วิสุทธิ. ฎี. ๑.๓๑๖


ความคิดเห็น 4    โดย study  วันที่ 26 มิ.ย. 2549

เป็นความจริงว่า สภาวธรรมเป็นของลึกซึ้ง บัญญัติไม่เป็นของลึกซึ้ง

ถามว่า ก็พระโยคีย่อมถือเอา สภาวธรรมด้วยอำนาจบัญญัติ ที่เกิดจาก

สภาวธรรมนั้นมิใช่หรือ

ตอบว่า ในเบื้องต้น ย่อมถือเอาสภาวธรรม ด้วยอำนาจบัญญัติ ที่เกิด จากสภาวธรรมก็จริง แต่เมื่อภาวนาเจริญไปอยู่ จิตย่อมก้าวล่วงบัญญัติ แล้วตั้งอยู่ในสภาวธรรมเท่านั้น


ความคิดเห็น 5    โดย prapas.p  วันที่ 1 ก.ค. 2549

เชิญคลิกอ่าน...

เรื่องที่จงกรมและเรื่องไฟ [จุลวรรค]


ความคิดเห็น 6    โดย prapas.p  วันที่ 1 ก.ค. 2549

เชิญคลิกอ่าน...จำวัดที่ผิดพระวินัย [มหาวิภังค์ ]