เ รื่ อ ง ข อ ง ก ร ร ม
โดย BENHUR  24 ก.พ. 2552
หัวข้อหมายเลข 11343

คือผมมีข้อสงสัยนานมากแล้วครับ

คนเราเกิดมาย่อมมีกรรมเป็นของตนเองใช่ไม๊ครับ และย่อมบันดาลให้เราเป็นไป ตามกรรมรึเปล่าครับ

สมมติคนๆ หนึ่ง ชาติก่อนๆ เคยทำกรรมไม่ดีไว้ แล้วส่งผลให้ชาตินี้เค้าต้องเกิด มาเป็นคนที่ไม่ดีอีก หรือเกิดเป็นสัตว์ที่ต้องทำร้ายผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน อย่างนี้ ไม่เป็นการต่อกรรมให้มากขึ้นไปอีกเหรอครับ เหมือนว่าต้องชดใช้กรรมไม่มีที่สิ้นสุดอ่ะ ครับ เท็จจริงเป็นอย่างไร ขอความกรุณาท่านผู้รู้ช่วยไขข้อข้องใจให้ผมด้วยนะครับ

ขอบพระคุณอย่างสูง

เด็กม.6



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 25 ก.พ. 2552
พระพุทธพจน์แสดงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน จะสุขหรือจะทุกข์ก็เพราะกรรม จะรวยหรือจน จะมียศหรือไร้ยศ จะสวยหรือไม่สวยฯ ก็เพราะกรรมทั้งสิ้น แต่กรรมในอดีตมีมาก บางกรรมนำเกิด กรรมบางประเภทคอยเบียดเบียนตัดรอน กรรมบางประเภทคอยอุปถัมภ์สนับสนุน เป็นต้น แต่เมื่อเกิดมาแล้ว การดำเนินชีวิต ส่วนหนึ่งรับผลของกรรม ส่วนหนึ่งทำกรรมใหม่มีทั้งกรรมดีและกรรมชั่วถ้าตราบใดที่ไม่อบรมเจริญปัญญาตัดเพื่อดับกิเลส การหมุนเวียนตายเวียนเกิด ทำกรรม รับผลของกรรมอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ที่ฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้า อบรมเจริญปัญญาจนถึงความเป็นพระอรหันต์ ย่อมถึงที่สุดแห่งกรรมและวิบากได้ครับ

ความคิดเห็น 2    โดย sopidrumpai  วันที่ 25 ก.พ. 2552

คุณ Benhur ศึกษาเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมได้นะคะจะได้เข้าใจมากขึ้น

การให้ผลของกรรมเป็นวิบาก เป็นรูปที่ประณีตหรือรูปที่หยาบก็ได้ ให้ผลทางตา หู จมูกลิ้น กาย (สุข ทุกข์) ก็ได้ จะตัดชีวิตตินทรีย์โดยฉับพลันก็ได้

แต่เมื่อรับอารมณ์ซึ่งเป็นผลของกรรมแล้ว ต้องแยบคายว่าเป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้นที่ปรากฏ แต่หากมีการยึดถือว่าเป็นเราแล้ว และมีการกระทำโดยเจตนาทางกาย วาจา ใจออกไปตามกำลังการสะสมของกิเลสของแต่ละคน ออกมาเป็นการกระทำ "กรรม" อีกกรรมที่ทำนี้ก็จะวนเวียนให้ผลเป็นวิบากต่อไปเมื่อสุกงอมเต็มที่และเมื่อพร้อมด้วยเหตุปัจจัยค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย ajarnkruo  วันที่ 25 ก.พ. 2552

พระธรรมซึ่งพระผู้พระภาคทรงแสดงนั้น มีความละเอียด ลึกซึ้งมาก แม้แต่ในเรื่องกรรมและผลของกรรม เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชน หากมีโอกาสที่จะได้ศึกษา ก็ควรศึกษาให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อมีความเข้าใจในพระธรรมมากขึ้น ความสงสัยที่มีย่อมจะบรรเทาลงได้ตามกำลังของปัญญาครับ

แนะนำให้ลองคลิกฟัง -->

เข้าใจเรื่องกรรม
บรรยายโดย ... ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์


ความคิดเห็น 4    โดย ธรณ์__ภควลีธร  วันที่ 25 ก.พ. 2552

หนังสือ "เกิดเพราะกรรมหรือความซวย" ของ ท.พ.สม สุจีรา พูดถึงกรรมว่า กรรมบางกรรมไม่มีเจตนา แสดงว่า เขาไม่เชื่อเรื่อง สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์


ความคิดเห็น 5    โดย ศิณอนงค์  วันที่ 25 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 25 ก.พ. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ต้องแยกระหว่างกรรมและผลของกรรมครับ กรรมคือเจตนาที่เป็นในกุศลหรืออกุศล เช่น การให้ทานเป็นกรรมดี การฆ่าสัตว์เป็นกรรมไม่ดี แต่ไม่ใช่ผลของกรรม ส่วนผล- ของกรรมคือผลของกุศลหรืออกุศลที่ทำให้ทำให้เกิดในภพภูมิที่ดีหรือไม่ดี ทำให้มีรูป ร่างที่ดีหรือไม่ดี เห็นในสิ่งทีดีหรือไม่ดี เป็นต้น ดังนั้นเมื่อทำกรรมไม่ดีส่งผลให้เกิดมา ย่อมเห็นสิ่งที่ไม่ดี (ผลของกรรม) แต่ส่วนที่นิสัยไม่ดีนั้นเป็นผลมาจากการสะสมกิเลสที่ เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ไม่ใช่เป็นผลของกรรมที่ได้ทำไว้ครับ ผลของกรรมที่ได้ทำไว้ไม่ดีย่อม ทำให้เห็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี เป็นต้น แต่การทำอกุศล ทำบาปอีกนั้นเกิดจากกิเลสที่ได้ สะสมมาไม่ใช่ผลของกรรมครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 7    โดย suwit02  วันที่ 25 ก.พ. 2552

พาลบัณฑิตสูตร

[๔๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนทุ่นมีบ่วงตาเดียว ไปในมหาสมุทร ทุ่นนั้นถูกลมตะวันออกพัดไปทางทิศตะวันตก ถูกลมตะวันตก พัดไปทางทิศตะวันออก ถูกลมเหนือพัดไปทางทิศใต้ ถูกลมใต้พัดไปทางทิศเหนือ มีเต่าตาบอดอยู่ในมหาสมุทรนั้น ล่วงไปร้อยปีจึงจะผุดขึ้นครั้งหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดตัวนั้น จะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้บ้างไหมหนอ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่ พระองค์เจริญ ถ้าจะเป็นไปได้บ้างในบางครั้งบางคราว ก็โดยล่วงระยะกาล นานแน่นอน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมี บ่วงตาเดียวโน้นได้ ยังจะเร็วกว่า เรากล่าวความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่ วินิบาตคราวหนึ่งแล้วจะพึงได้ ยังยากกว่านี้ นั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เพราะในตัวคนพาลนี้ไม่มีความประพฤติธรรม ความประพฤติสงบ การทำกุศล การทำบุญ มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนคนอ่อนแอ.

อ่านต่อได้จาก

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 155

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย พุทธรักษา  วันที่ 26 ก.พ. 2552

เรื่องของกรรมหากจะเข้าใจได้โดยตลอดจริงๆ ต้องอาศัยการศึกษาจากพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างละเอียดพระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดง ... อยู่ในพระไตรปิฎก.
แต่การอ่านพระไตรปิฎก ... ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจจึงต้องอาศัยความรู้จาก กัลยาณมิตรที่เข้าใจอรรถ ในพระไตรปิฎกอย่างถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง.
ต้องคบกัลยาณมิตร ... ขาดกัลยาณมิตรไม่ได้เลยคบอย่างไร ... ?

คบ ... โดยการฟังหรืออ่าน ในสิ่งที่ท่านเหล่านั้นนำพระพุทธพจน์มาแสดงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ... จนกว่าจะเป็นปัญญาของตนเองที่รู้ตามได้โดยต้องอาศัยความเพียร ความอดทนที่จะฟัง และพิจารณาให้เข้าใจและไม่ใช่จะเชื่อตามๆ ไปโดยไม่พิจารณาสิ่งไหนรู้ได้ ก็รู้ได้ สิ่งไหนรู้ไม่ได้ เพราะปัญญายังไม่ถึงก็ไม่ควรกังวลสิ่งที่รู้ได้มี ... ก็รู้สิ่งที่รู้ได้เสียก่อน รู้เหตุที่จะทำให้กิดผลการระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริงใ นขณะนี้เท่านั้น ที่เป็น เหตุที่จะทำให้เกิดผล"คือ ความเข้าใจในสภาพธรรม ที่ยังไม่รู้ เรื่องของกรรมเป็นเรื่องของ "เหตุ"ที่ต้องตรงกับ "ผล" ฉันใด"ผล" ก็ต้องตรงกับ "เหตุ" ฉันนั้น.

เรื่องผลของกรรม ในชาติที่แล้ว หรือชาติหน้า ที่จะระบุเจาะจงตายตัวได้อย่างแน่นอนแท้จริง ไม่คลาดเคลื่อนเลยนั้นต้องเป็นปัญญา ระดับของพระพุทธเจ้าเท่านั้นซึ่งเรื่องนี้ ก็มีแสดงไว้ในพระไตรปิฎก ... ว่า คือ พระสัพพัญญุญาณ.

ในเมื่อเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า ... เราไม่มีทางรู้ได้.

แต่ธรรมอย่างนี้ ที่ทรงแสดงอยางนี้เพื่อให้เรารู้ ในสิ่งที่รู้ได้นั้น ก็มีอยู่.!

พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจได้ รู้ตามได้จริงและพิสูจน์ได้จริง ในชีวิตประจำวัน ตามความเป็นจริงโดยพระองค์ทรงแสดงธรรม ให้เข้าใจก่อน ว่า แท้จริงแล้วทุกสิ่งทุอย่างที่ยึดถือว่า เป็นเรา เป็นเขา เป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ฯลฯ ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เป็น ปรมัตถธรรม.

ปรมัตถธรรมคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน. แยกโดยย่อแล้ว คือ นามธรรม และ รูปธรรมนามธรรม เป็นสภาพที่รู้ คือ จิต เจตสิก นิพพานรูปธรรม เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย คือ รูป.

จิต คือ การเห็นทางตา การได้ยินทางหู การได้กลิ่นทางจมูก การรู้รสทางลิ้นการกระทบสัมผัสทางกาย การคิดนึกทางใจ ... เป็นต้น.

จิต เป็นสภาพที่รู้ จิต รู้อะไร ... ?

... รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจจิตสามารถรู้ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น จิตรู้ลักษณะของจิตจิตรู้ลักษณะของเจตสิก จิตรู้ลักษณะของรูป และ จิตรู้ลักษณะของนิพพาน.

เจตสิก คือ สภาพธรรมที่มี ลักษณะ ชอบ ไม่ชอบ โกรธ เกลียดดีใจ เสียใจ เมตตา กรุณา ริษยา อาฆาต รักใคร่ ... ฯลฯ .

เจตสิก เป็นสภาพที่รู้เจตสิก รู้อะไร ... ?

... ..รู้อารมณ์เดียวกับจิต เกิดขึ้นและดับไปพร้อมจิตกิจอันหนึ่งของเจตสิก คือ ปรุงแต่งจิตให้มีลักษณะต่างๆ จิต จึงต่างกันไปตามเจตสิก ที่เกิดร่วมกันกับจิตนั้นๆ นั่นองเช่น จิตที่ดี มีเมตตาก็เพราะประกอบด้วย อโทสเจตสิก เป็นต้นหรือจิตที่ไม่ดี ที่เรียกว่า อกุศลจิตประเภทต่างๆ นั้น ... ..ก็เพราะเกิดร่วมกับเจตสิกที่มีลักษณะโกรธ ริษยา โลภ ... เป็นต้น.

รูป คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ... เป็นต้น.

รูป ... รู้อะไร.?รูปไม่สามารถรู้อะไรได้เลย.!

รูปเกิดขึ้นและดับไปตามเหตุปัจจัยเมื่อเกิดและปรากฏ ... ก็เป็นอารม์ ที่จิตและเจตสิกรู้ คือ "รู้ลักษณะของรูปต่างๆ แต่ละชนิด" นั่นเอง.

ส่วน นิพพาน นั้น ยังเกินวิสัยของปุถุชน ที่ไม่มีปัญญาระดับ "วิปัสสนาญาณ" เมื่อยังไม่มีปัญญาระดับั้น ... จึงยังไม่สามารถที่จะรู้ได้ตราบใดที่ยังไม่รู้ ลักษณะของจิต ลักษณะเจตสิก ลักษณะของรูป อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง กระจ่างและ หมดความสงสัยในลักษณะนั้นๆ ได้อย่างแท้จริงจิต ก็มีนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ได้. พิสูจน์ในขณะนี้.!

เช่น ถ้าตาไม่มี ตาบอด จะเห็นสีได้อย่างไร ... ? ถ้ากลิ่น ไม่มี หรือ ประสาทรับรู้กลิ่นที่จมูกเสีย จะมีการได้กลิ่น ได้อย่างไร ... .? เป็นต้น.

ถ้าศึกษาละเอียดไปอีก ก็ควรทราบว่าจิต มี ๔ ชาติ คือ วิบาก อกุศล กุศล กิริยา.

จิต ชาติวิบาก คือ การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัสทางกาย.

จิตชาติวิบาก เป็นผลของกรรม. ถ้าได้รับรู้สิ่งที่ดี ก็เป็นผลของกรรมที่ดี ที่เคยกระทำไว้. ถ้าได้รับรู้สิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นผลของกรรมที่ไม่ดี ที่เคยกระทำไว้.

เช่น การเห็นทางตา เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กุศล จิตที่เห็น ก็เพียงเห็น แล้วดับไป ไม่เป็นเหตุให้เกิดกรรมต่อไปในภายภาคหน้า.

จิต ชาติอกุศล คือ จิตที่ประกอบด้วยเจตสิก ที่เป็นอกุศล เรียกว่า อกุศลจิต
เช่น เมื่อจิตประกอบด้วยเจตสิกที่ไม่ดี เช่น ความโลภจิตก็เป็นอุศล โดยมีลักษณะอยากได้ ติดข้อง พอใจ ... และถ้ามีกำลังมากๆ คือสะสมมากๆ อาจเป็นเหตุให้เกิด อกุศลกรรมบถ

คือการกระทำที่เป็นเหตุให้เกิดในอบายภูมิ เช่นการกระทำที่ผิดศีล ๕ อันเนื่องจากความโลภนั้น เป็นต้น. จิต ชาติอกุศล จึงเป็นเหตุให้เกิดอกุศลกรรม
เป็นเหตุให้เกิดผลของอกุศลกรรม คือการรับรู้อารมณ์ที่ไม่ดี อันเป็นผลให้ได้รับสิ่งที่ไม่ดีต่อไปในภายภาคหน้า.

การให้ผล ก็ตามกำลังของอกุศลกรรมนั้นๆ โดยแล้วแต่ ว่าจะเป็นเพียงการสะสมอกุศลจิต เป็นอกุศลจิตหรือเป็น อกุศลกรรมบถ คือ ล่วงศีล เช่นศีล ๕.

จิต ชาติกุศล คือ จิตที่ประกอบด้วยเจตสิก ที่เป็นกุศล เรียกว่า กุศลจิต เช่น ความเมตตา ความกรุณา ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ฯลฯ เมื่อมีกำลัง ก็เป็นเหตุให้เกิด กุศลกรรมบถ เช่น การช่วยเหลือกจการงานของผู้อื่น การฟังธรรม การให้ทาน การไม่ทำร้าย การไม่รังแกเบียดเบียน สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นต้น.

จิตชาติกุศล จึงเป็นเหตุให้เกิดกุศลกรรม เป็นเหตุให้เกิด ผลของกุศลกรรม คือ การรับรู้อารมณ์ที่ดี อันเป็นผลให้ได้รับสิ่งที่ดีในภายภาคหน้า.

จิต ชาติกิริยา คือ จิต ที่ไม่ใช่ ทั้งกุศล และ อกุศล จึงไม่เป็นเหตุให้เกิดผลที่ดี หรือไม่ดี ไม่มีการให้ผลใดๆ ในภายภาคหน้าเช่น จิตของพระอรหันต์ ... ..ทำไมพระอรหันต์จึงไม่เกิดอีก เมื่อปรินิพพานแล้ว.?เพราะเหตุที่ว่า จิตที่เป็นชาติกิริยาไม่ให้ผลเป็นกุศลิบาก หรืออกุศลวิบากในภายภาคหน้านั่นเอง.

พระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดและตรงไปตรงมาเป็นเรื่องเหตุที่ตรงกับผล ... เช่น เรื่องของกรรมถ้าจะเข้าใจละเอียด ก็ต้องศึกษาอย่างละเอียดเมื่อเข้าใจอย่างละเอียด จะคลายความสงสัยในเรื่องของกรรมได้.

ขออนุโมทนาที่สนใจและศึกษาพระธรรมอันเป็นคำตอบของชีวิต ... อย่างแท้จริง.


ความคิดเห็น 10    โดย wannee.s  วันที่ 14 มี.ค. 2552

ตัวอย่างจากพระไตรปิฏก พระเทวทัตจองเวรกับพระพุทธเจ้ามาก็หลายชาติ จนชาติ สุดท้าย ท่านก็สำนึกผิดตอนที่ถูกแผ่นดินสูบ ท่านเอาคางถวายเป็นพุทธบูชา ในอนาคตท่านจะได้บรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย wannee.s  วันที่ 14 มี.ค. 2552

อีกตัวอย่างหนึ่ง มีบุรุษคนหนึ่งตอลดชีวิตเขาไม่เคยทำบุญให้ทาน เขาทำอาชีพชาว ประมง ตอนหลังเขาก็นิมนต์พระเถระให้เข้าบ้าน พระเถระก็ให้เขาสมาทานศีล 5 เขาก็สมาทานศีลยังไม่ทันเสร็จเลย ลิ้นแข็ง ก็ตายไปเกิดบนสวรรค์ค่ะ