สัญญา ปริยัติ ปฏิบัติ มีความหมายอย่างไร
โดย บ้านธัมมะ  21 ธ.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 6541

สัญญา เป็นสภาพธรรมที่เป็นเจตสิกปรมัตถ์ เป็นความจำเกิดกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้น ขณะนี้ทุกคนมีความจำ เราจำได้ว่าเพื่อนชื่ออะไร จำได้ว่า เป็นคน เป็นสัตว์ แต่ความจำนี้ยังเป็นความจำที่วิปลาส เป็นความจำที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะว่า ความจริงก็คือ สภาพธรรมนี้เป็นอนัตตา แต่เราจำด้วยความเป็นตัวตนตลอดเวลา

เพราะฉะนั้น จึงจะต้องเริ่มอบรม เริ่มสะสมความจำใหม่ ที่จะรู้ว่าสภาพธรรมทั้งหมดมีเพียงลักษณะที่รู้อารมณ์ คือ เป็นนามธรรม หมายถึง จิตและเจตสิก ส่วนสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์คือ รูปธรรม แล้วก็เริ่มเข้าใจจากขั้นการฟัง จากขั้นการพิจารณา เริ่มที่จะสะสมความเข้าใจถูกต้อง จนกว่าเมื่อไรที่สติปัฏฐานเริ่มที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เหมือนกับการที่ได้ศึกษามา

ปริยัติกับปฏิบัติ เป็นปัญญาคนละขั้น แต่เป็นความรู้อย่างเดียวกัน เมื่อไรที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นจึงจะเริ่มสะสมอนัตตสัญญาซึ่งเป็นความจำที่ถูกต้องเล็กๆ น้อยๆ จนกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูงมาก เมื่อไรที่เป็นวิปัสสนาญาณ ขณะนั้นจึงจะเริ่มมีอนัตตสัญญา เป็นความจำที่ถูกต้องจริงๆ เพราะฉะนั้น สัญญาก็เป็นความจำเท่านั้น และเป็นเจตสิก



ความคิดเห็น 1    โดย wannee.s  วันที่ 22 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย pornpaon  วันที่ 23 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 3    โดย daimond  วันที่ 23 ก.พ. 2554

คำว่าสะสม อนัตตสัญญา เป็นคำที่เมื่ออ่านแล้วทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นว่า ในวันหนึ่ง ขณะจิตหนึ่งเราควรพิจารณาอย่างไร จึงจะเห็นถูกตามความเป็นจริง เพื่อการละคลายอัตตสัญญาออกไปทีละน้อย เข้าใจแล้วแจ่มแล้ว

ขออนุโมทนาด้วยความบริสุทธิ์ใจค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย isme404  วันที่ 29 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย chatchai.k  วันที่ 26 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 12 เม.ย. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ