หน้าที่ของภิกษุและสามเณร
โดย sms  19 เม.ย. 2550
หัวข้อหมายเลข 3487

เมื่อบวชแล้วมีหน้าที่อะไรบ้าง



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 19 เม.ย. 2550

หน้าที่ของพระภิกษุและสามเณรที่เป็นบรรพชิต ก็คือ เป็นผู้ศึกษาใน คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ คันถธุระ หมายถึง การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา และปฏิบัติตามคำสอน ส่วนวิปัสสนาธุระ คือ การอบรมเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เพื่อผลอันเลิศคือการละคลายกิเลส จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ การบรรลุเป็นพระอรหันต์เป็นสิ่งที่นักบวชปรารถนา ไม่ใช่สิ่งอื่น


ความคิดเห็น 2    โดย sms  วันที่ 19 เม.ย. 2550

กิจอื่นนอกจากนี้มีไหมครับ เช่น ช่วยปกป้องพระศาสนา ภิกษุจะช่วยกันได้อย่างไรครับ เพื่อสืบทอดพระศาสนา


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 19 เม.ย. 2550

ภิกษุจะปกป้องพระพุทธศาสนา ก็คือ ศึกษาธัมมะให้ถูกต้องตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เพราะถ้าศึกษาผิด พระธรรมก็เสื่อม เมื่อพระธรรมเสื่อม ศาสนาก็เสื่อมด้วยครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

>>> ผู้ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมและมั่นคง


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 19 เม.ย. 2550

หน้าที่ของภิกษุ สามเณร คือ การศึกษาปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และเวลาที่ภิกษุเข้าสู่ที่ประชุม จะนั่งนิ่ง หรือ สนทนาธรรมเท่านั้น


ความคิดเห็น 6    โดย PUM  วันที่ 20 เม.ย. 2550

หน้าที่ของภิกษุ สามเณร คือ การศึกษาปริยัติ ทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติ ได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เป็นผู้สำรวมในสิกขาบททั้งในที่ลับและที่แจ้ง ไม่ล่วง สิกขาบทแม้จะเป็นข้อปลีกย่อยเล็กน้อย ด้วยความเป็นผู้มีศีลสำรวมกาย วาจา ก็จะ เป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น ทำให้ผู้ที่ยังไม่ศรัทธาเกิดศรัทธา หรือผู้ที่ศรัทธาอยู่แล้วก็มี ความศรัทธายิ่งๆ ขึ้น มีความเพียรชำระขัดเกลากิเลส เพื่อให้บรรลุคุณธรรมที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป จะได้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ทำให้ผลทาน และผลแห่งบูชา ของสาธุชน ทั้งหลายมีผลมาก เผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสืบทอดอายุของพระศาสนา เมื่อศึกษาอย่างถูกต้อง และปฏิบัติถูกต้อง ก็จะสอนได้อย่างถูกต้อง เพราะพระพุทธ ศาสนาจะดำรงอยู่ได้ด้วยการรักษาพระธรรมวินัย โดยการศึกษา ทำความเข้าใจให้ถูก ต้อง และการที่มีผู้เลื่อมใสปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน การประดิษฐานพระพุทธศาสนา ไว้ในใจคน เป็นการสืบทอดพระศาสนา แบบยั่งยืนกว่าการสร้างถาวรวัตถุ หรือการจารึก ไว้ในกฏหมาย เพราะเป็นสมบัติที่ใครก็ไม่อาจจะมาปล้นหรือแย่งชิงได้


ความคิดเห็น 7    โดย ผ้าเช็ดธุลี  วันที่ 3 มี.ค. 2560

ขอบพระคุณมากครับ และ ขออนุโมทนา ในกุศลธรรม ทุกท่านในการสนทนา สาธุ


ความคิดเห็น 8    โดย chatchai.k  วันที่ 7 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ