เวรกรรม Stamp/ประทับตราบุคคลไว้อย่างไร
โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  30 ก.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9416

เวรกรรมทำแล้ว ยมบาลจดไว้หรือว่าเวรกรรมประทับในจิต เวรกรรมไม่ดับไปพร้อมกับจิตหรือ หรือว่าเจ้าเวรนายกรรมตามมาทันหรือว่าเขาเกาะเราอยู่ที่บ่าข้างขวา


ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 30 ก.ค. 2551
อกุศลกรรมและกุศลกรรม เมื่อบุคคลกระทำเร็จแล้วย่อมสะสมในสันตาน (จิต) จริงอยู่จิตเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป แต่จิตที่ดับไปแล้วย่อมเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นสืบต่อ ดังนั้นกรรมที่กระทำไปแล้วย่อมไม่หายไปไหน คือสะสมสืบต่อในจิต เมื่อมีปัจจัยพร้อมย่อมเป็นปัจจัยให้วิบากเกิดขึ้น สรุป คือ กรรมทีทำแล้ว ไม่มีใครจด ไม่ได้เกาะอยู่ที่ไหน แต่สะสม และเป็นปัจจัยให้วิบากเกิดขึ้น..

ความคิดเห็น 2    โดย พุทธรักษา  วันที่ 30 ก.ค. 2551

เรียน"คุณจำแนกไว้ดีจ้ะ"

ลองค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ"ปรมัตถธรรมสังเขป"ดูนะจ้ะโดย อ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์.บทที่ ๓. (หน้า ๘๖) ....ชื่อว่า "จิต" เพราะสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี..........................ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 30 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สัจจธรรม มี 4 อย่าง คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน

ขณะที่ทำกรรม เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม ถามว่าเกิดที่ไหน ก็เกิดที่จิต แล้วจิตนั้นก็

ดับไป แต่ก็สะสมในสิ่งที่ทำไว้แล้วในจิตต่อไปที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อมีความ

โกรธเกิดขึ้น ความโกรธนั้นเองย่อมสะสมอยู่ที่จิตเพราะความโกรธเกิดที่จิต เมื่อความ

โกรธเกิดขึ้บ่อยๆ ก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้บุคคลนั้น เป็นผู้โกรธง่ายขึ้น ถามว่าที่โกรธ

ง่าย มาจากไหน ก็มาจากการสะสมความโกรธครั้งก่อนที่เกิดขึ้นที่จิตดวงก่อนๆ นั่นเอง

และเมื่อทำอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมก็สะสมไป เป็นเหตุปัจจัยที่เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม

ผลของกรรมก็เกิดขึ้นนั่นเองครับ ผลของกรรมเกิดจากกรรมที่บุคคลนั้นทำ ไม่มีเจ้า-

กรรมนายเวร สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตนครับ ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย เมตตา  วันที่ 31 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย prakaimuk.k  วันที่ 31 ก.ค. 2551

ดังนั้นการฟังธรรมเสมอๆ ให้เข้าใจ จึงเป็นการสะสมอุปนิสัยในการศึกษาพระธรรม เป็น

กุศลกรรม และเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็ให้ผล ให้เข้าใจยิ่งๆ ขี้น ทำให้เป็นผู้ประกอบด้วย

ปัญญาในขั้นต่างๆ .......ขออนุโมทนาค่ะ.....


ความคิดเห็น 6    โดย khampan.a  วันที่ 31 ก.ค. 2551
ชีวิตที่ดำเนินไปในแต่ละวันนั้น เป็นธรรม เป็นจิตแต่ละขณะๆ ที่เกิดขึ้นเป็นไป

ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ขณะที่กุศลจิตเกิด ขณะที่อกุศลจิตเกิด เป็นต้น ล้วนเป็นธรรมในชีวิตประจำวัน เพราะเป็นจริง เป็นสิ่งที่มีจริง ในชาติที่แล้วๆ มาจนกระทั่งถึงชาติปัจจุบันนี้ ไม่ปราศจากจิตแม้แต่ขณะเดียวบุคคลแต่ละบุคคลมีอัธยาศัยที่แตกต่างกันออกไปนั้น ก็เพราะการสั่งสม การที่เป็นคนมักโกรธในชาตินี้ ก็เพราะได้สั่งสมความโกรธไว้แล้วตั้งแต่ขณะก่อนๆ ซึ่งรวมถึงในชาติก่อนๆ ด้วย ถ้าชาตินี้ยังโกรธ สั่งสมความโกรธไว้อยู่ ชาติต่อๆ ไป ก็คงยังเป็นคนมักโกรธอยู่นั่นเอง ผู้ที่มีอัธยาศัยในการให้ทาน มีอัธยาศัยในการเกื้อกูลบุคคลอื่น มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น ก็เพราะได้สั่งสมมาแล้วทั้งนั้น

ขณะที่เป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต แต่ละขณะที่เกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างรวดเร็วนั้น เป็นปัจจัยสั่งสมสืบต่ออยู่ในจิตขณะต่อๆ ไป ดังนั้น จิตที่เกิดต่อจึงมีสภาพธรรมที่จิตดวงก่อนสั่งสมไว้แล้วสืบต่อไป สิ่งที่สั่งสมไว้แล้วนั้นจึงไม่หายไปไหน ยังคงสั่งสมสืบต่ออยู่ในจิตขณะต่อๆ ไป กุศลกรรม และ อกุศลกรรมที่ทำไว้แล้ว เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ถึงวาระที่จะให้ผลเกิดขึ้น ผลก็เกิดขึ้น ซึ่งเลือกไม่ได้ ไม่มีใครทำให้เลยแต่เป็นเพราะกรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว เท่านั้น ครับ ...ขออนุโมทนาครับ...

ความคิดเห็น 7    โดย wannee.s  วันที่ 31 ก.ค. 2551

ขณะที่เราทำกุศลชวนเกิด 7 ขณะ ดวงที่ 1 ให้ผลชาตินี้ ดวงที่ 2 - 6 ให้ผลนับชาติ

ไม่ถ้วน ดวงที่ 7 ให้ผลชาติหน้าค่ะ ถ้าทำอกุศลชวนก็เกิดขณะ 7 ขณะ เหมือนกันค่ะ

ตัวอย่างฝ่ายอกุศลที่ให้ผล เช่น พระโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์ยังถูกคนอื่นตามฆ่าค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย ajarnkruo  วันที่ 1 ส.ค. 2551
1. เวรกรรมทำแล้ว ยมบาลจดไว้ คลิกอ่านที่นี่ครับ --> ยมบาลและนายนิรยบาล 2. หรือว่าเวรกรรมประทับในจิต เวรกรรมไม่ดับไปพร้อมกับจิตหรือ คลิกอ่านที่นี่ครับ --> การสะสมกิเลสและกรรมในจิต 3. หรือว่าเจ้าเวรนายกรรมตามมาทัน คลิกอ่านที่นี่ครับ --> เจ้ากรรมนายเวรมีจริงหรือไม่

4. หรือว่าเขาเกาะเราอยู่ที่บ่าข้างขวา คลิกอ่านที่นี่ครับ --> ภาพหลอน

ความคิดเห็น 9    โดย suwit02  วันที่ 1 ส.ค. 2551

สาธุ


ความคิดเห็น 10    โดย เซจาน้อย  วันที่ 1 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 11    โดย pornpaon  วันที่ 4 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาในความคิดเห็นที่เกื้อกูล

เพื่อความเข้าใจแก่คุณจำแนกไว้ดีจ้ะทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย เจริญในธรรม  วันที่ 6 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ