กายุชุกกตาและจิตตุชุกกตา
โดย papon  21 ก.พ. 2558
หัวข้อหมายเลข 26201

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

"กายุชุกกตาและจิตตุชุกกตา" ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับคำนี้ด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 21 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-กายุชุกตา เป็นเจตสิกที่ซื่อตรง ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยแน่วแน่ ไม่คดโกง มุ่งตรงต่อธรรมที่ดีงาม

-จิตตุชุกตา เป็นเจตสิกที่ทำให้จิตมุ่งตรงต่อธรรมที่ดีงาม

(กายุชุกตา และ จิตตุชุกตา เป็นเจตสิกที่ตรงกันข้ามกับอุปกิเลส มีมายาสาไถย เป็นต้น

ซึ่งทำให้จิตคดโกงไม่ตรง)

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 21 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า เจตสิก เป็นธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต เจตสิกเกิดโดยไม่มีจิตไม่ได้ หรือ จิตเกิดโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน จิต มีความหลากหลาย เหตุผลประการหนึ่งคือ หลากหลายเพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เช่น ถ้าอกุศลเจตสิก (โลภะ เป็นต้น) เกิดร่วมกับจิต ก็ปรุงแต่งให้จิตนั้นเป็นอกุศลจิต ไม่ตรงแล้วในขณะที่จิตเป็นอกุศล ในทางตรงกันข้าม ถ้าเจตสิกฝ่ายดี มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น เกิดร่วมกับจิตใด ก็ทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่ดีงามเป็นกุศลจิต เป็นต้น ปราศจากความคดงอโดยประการทั้งปวงในขณะที่จิตเป็นกุศล

แม้แต่เจตสิก ๒ ประเภทนี้ คือ กายุชุกตา กับ จิตตุชุกตา ก็เช่นเดียวกัน เป็นเจตสิกฝ่ายดี ไม่ใช่จิต จะต้องเกิดร่วมกับจิตฝ่ายดีเท่านั้น จะไม่เกิดร่วมกับจิตชาติอกุศลเลย ความหมายของ กายุชุกตาเจตสิก คือ เป็นเจตสิกที่ซื่อตรง ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ตรง แน่วแน่ ไม่คดโคง มุ่งตรงต่อธรรมที่ดีงาม (กาย ในที่นี้ มุ่งหมายถึงกลุ่มของเจตสิกธรรมที่กายุชุกตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย) ส่วนความหมายของจิตตุชุกตาเจตสิก คือ เป็นเจตสิกที่ทำให้จิตที่เกิดร่วมด้วยมุ่งตรงต่อธรรมที่ดีงาม เป็นธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ในขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น จะไม่ปราศจากเจตสิกที่ดีงาม ๒ ประเภทนี้ รวมถึงเจตสิกที่ดีงามอื่นๆ ด้วยครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย papon  วันที่ 21 ก.พ. 2558

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

กายะโดยอรรถ หมายความว่าอย่างไรครับ? ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 21 ก.พ. 2558

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

เข้าใจคำว่ากายนะครับ กาย หมายถึง การประชุม การรวมกันของสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อพูดถึงแต่คำว่ากาย ไม่ได้หมายถึง ร่างกายของเราเท่านั้น แต่หมายถึง การประชุม การรวมกันของสิ่งใด สิ่งหนึ่งก็ได้ ดังนั้นคำว่า กาย คือการประชุม รวมกัน

กาย มี 2 อย่างคือ นามกายและรูปกาย นามกายคือการประชุมกัน รวมกันของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม ซึ่งก็ได้แก่ขันธ์ 4 มี เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ส่วนรูปกาย ก็คือสภาพธรรมทั้งหมดที่เป็นรูปธรรม มี ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สี...เป็นต้น อันเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลยที่เป็นรูปธรรม เป็นรูปกายคือการประชุมของสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกายเป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนามกายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน ? มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสปัสสาสะ นิมิต และท่านกล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย.


ความคิดเห็น 5    โดย papon  วันที่ 21 ก.พ. 2558

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

อาจารย์ครับแล้ว "กายุชุกตา" โดยอรรถหมายความว่าอย่างไรครับ? ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 21 ก.พ. 2558

กายุชุกตา เป็นเจตสิกที่ซื่อตรง ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยแน่วแน่ ไม่คดโกง มุ่งตรงต่อธรรมที่ดีงาม


ความคิดเห็น 7    โดย ธนฤทธิ์  วันที่ 21 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย papon  วันที่ 21 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย ธนฤทธิ์  วันที่ 21 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย ธุลีพุทธบาท  วันที่ 22 ก.พ. 2558

เมื่ออกุศลเกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้ "ไม่ตรง" จริงๆ ครับ.

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ทั้งสองท่านเป็นอย่างสูง ครับ.


ความคิดเห็น 11    โดย peem  วันที่ 22 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 17 มี.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย Jarunee.A  วันที่ 5 มี.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ