เรื่องการบอกบุญ ไม่ทราบว่ามีหลักการแค่ไหนครับ
โดย สืบต่อพุทธ  30 เม.ย. 2558
หัวข้อหมายเลข 26500

อยากเรียนสอบถามอาจารย์ เรื่องการบอกบุญ ไม่ทราบว่ามีขอบข่ายแค่ไหนครับ เช่น ต้องเป็นบุญใหญ่ ถี่แค่ไหน บอกใครได้ครับ เราต้องสนใจความรู้สึกผู้อ่าน ผู้ฟังไหมครับ เช่น ถ้าผมบอกบุญเล็กๆ เช่น เก็บขยะที่สาธารณะ ที่วัด เพราะคิดว่าอยากให้สะอาด ไม่อยากให้ถุงพลาสติก ทำให้คนหกล้ม เป็นต้น ดังนั้น ผมสามารถบอกบุญทั้งเล็กและใหญ่ไหมครับ เพราะเคยมีคนบอกผมว่าให้บอกแค่บุญใหญ่หรือหลักพอ เขาอ้างว่าคนได้ยินหรือคนอ่าน จะรำคาญครับ แต่ผมกลับเห็นตรงข้ามถ้าการกระทำนั้นเป็นกุศล บอกถูกคน บอกถูกกาลเทศะ ก็สมควรบอกได้ ช่วยแนะความกระจ่างผมด้วยครับ

สาธุ สาธุ สาธุครับ



ความคิดเห็น 1    โดย สืบต่อพุทธ  วันที่ 30 เม.ย. 2558

แล้วผมต้องพิจารณาต่อไปไหมครับ ว่าคนฟังจะเบื่อ จะรำคาญไหมครับ ผมคิดว่าผมบอกบุญด้วยกุศลจิต ให้วางเฉย แม้ว่าผู้อ่านหรือผู้ฟังจะรำคาญ ถ้าถูกคน ถูกกาลเทศะครับ เพราะมีคนแย้งเรื่องนี้ครับ ช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 1 พ.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์อยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก โดยทั่วไปแล้ว การบอกบุญ ก็คือ เป็นการชักชวนหรือเชิญชวนให้ผู้อื่นได้ร่วมเจริญกุศล เพื่อประโยชน์ของผู้ที่ถูกชักชวนเป็นหลัก คือได้เกิดกุศลจิต ร่วมเจริญกุศลประการนั้นๆ หรือ แม้เพียงเกิดกุศลจิต อนุโมทนาด้วยที่ได้ทราบข่าวการเจริญกุศลนั้นๆ ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดตายตัวว่าจะต้องเป็นการกุศลใดๆ สำคัญที่สภาพจิตเป็นหลักว่า พูดหรือบอก เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นจะได้เกิดกุศลจิต ร่วมกุศล หรือ อนุโมทนา ด้วย ไม่ใช่เพื่อยกตนหรือเกิดความสำคัญตน ซึ่งก็ต้องดูกาลเทศะด้วยว่าควรพูดเมื่อใด เพราะคนเราไม่เหมือนกัน สะสมมาต่างกัน คำพูดที่ดี ก็อาจจะเป็นคำพูดที่ไม่ดีสำหรับคนที่ไม่เห็นประโยชน์ของการก็ได้ ดังนั้น จึงต้องรู้จักคนที่จะเราบอกด้วย และดูกาละที่เหมาะด้วย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...


ความคิดเห็น 3    โดย tanrat  วันที่ 1 พ.ค. 2558

พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของสัจจะ สาระ และประโยชน์ในชีวิตประจำวันในแต่ละขณะเป็นเรื่องของการละ จนละกิเลสไม่ให้เกิดอีกเลย แต่กิเลสที่สะสมมาหนาแน่นมาก บดบังไม่ให้เข้าใจ และเห็นถูก เป็นไปในสังสารวัฏฏ์ ฟังแลศึกษาให้เข้าใจ เข้าใจอย่างไร จรดกระดูกเลยค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย peem  วันที่ 2 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย paderm  วันที่ 2 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย ประสาน  วันที่ 3 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย ธุลีพุทธบาท  วันที่ 5 พ.ค. 2558

โดยส่วนตัวเห็นว่า ควรพิจารณากาลเทศะ บุคคล และประโยชน์ของผู้ที่ได้ฟัง ครับ. ไม่ควรบอกบุญพร่ำเพรื่อ เกินประมาณ ควรบอกในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังจริงๆ บางครั้งบุญเล็กบุญน้อย คนอื่นๆ ก็ทำกันเป็นปกติ หรือเห็นกันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องบอก ที่สำคัญคือ การบอกบุญให้ผู้อื่นทราบ ใกล้เคียงกับการโอ้อวดสำคัญตนมาก ครับ. ถ้าบอกไปแล้ว ติดข้องยึดถือในความดีของ "เรา" เพื่อให้คนอื่นทราบว่า "เรา" ทำดี ก็ไม่ใช่การบอก "บุญ" ซึ่งเป็นความดี แต่เป็นการบอกว่า "เรา" ทำบุญ ไม่ใช่การอุทิศส่วนบุญ ในลักษณะที่ให้ผู้อื่นเกิดจิตอนุโมทนาใน "บุญ" ซึ่งเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ที่ไม่ว่าเกิดกับใครก็ควรอนุโมทนา เพราะเป็นสิ่งที่เกิดยาก ครับ.

บางครั้งถ้าเป็นผู้ละเอียดในจิตของตน ก็อาจจะเป็นการบอกความดีที่คนอื่นทำให้ผู้อื่นทราบเพื่ออนุโมทนาได้ ส่วนความดีของตนเองก็ปกปิดไว้ ไม่จำเป็นต้องให้ใครๆ ทราบเลย ครับ. เว้นแต่จะเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะเราคงจะไม่เกิดจิตโอ้อวดสำคัญตนในบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยส่วนตัวแล้ว สำหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จะบอกบุญเฉพาะกุศลที่ประณีตจริงๆ แก่บุคคลที่เห็นคุณค่าซึ่งเขาไม่มีโอกาสได้ทำ เพื่อที่เขาจะได้มีส่วนร่วมในกุศลครั้งนั้น ด้วยการอนุโมทนา แม้ว่าเขาจะไม่ได้ทำเอง และบุคคลที่เราบอก เขาต้องเห็นคุณค่าของกุศลประเภทนั้นๆ จริงๆ

แต่ก็แล้วแต่อัธยาศัยของแต่ละบุคคลจริงๆ ที่จะพิจารณาจิตของตนและประโยชน์ที่จะได้รับว่า เป็น "กุศล" จริงๆ หรือไม่ ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวในเรื่องนี้ แต่ไม่ใช่การบอกโดยทั่วไป ป่าวประกาศ เหมือนว่าเป็นการประกาศคุณของตนเอง ครับ. หรือ ไม่ใช่ไม่ยอมบอกผู้อื่นเพราะตระหนี่บุญ ไม่อยากให้ผู้อื่นได้บุญเหมือนตน เช่น รู้ว่าบุคคลที่เราไม่ชอบจะเกิดจิตอนุโมทนา แต่ไม่ยอมบอก เพราะไม่ชอบเขา หรือ อาจจะไม่ยอมบอกใครๆ เพราะไม่อยากให้ใครมีส่วนในกุศลที่เราทำ ทั้งหมดเป็นเรื่องของ "ปัญญา" ที่จะพิจารณาสภาพธรรมที่เกิดขึ้น แล้วย่อมรู้ว่า อะไรคือสิ่งที่ควรและไม่ควร ไม่ถูกหลอกลวงชักพาไปด้วยอกุศล เพราะปัญญาย่อมนำไปในกิจทั้งปวง ครับ.

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์คำปั่น ครับ.


ความคิดเห็น 8    โดย wannee.s  วันที่ 8 พ.ค. 2558

สำคัญที่เจตนา ถ้าเราบอกเฉพาะคนที่เราสนิทคุ้นเคยกัน เพื่อให้เขาเกิดกุศลจิต และเขาก็มีอุปนิสัยชอบเจริญกุศลก็ชักชวนได้ เช่น ในอดีตมฆมานพทำถนนหนทางให้เรียบ เพื่อให้ความสะดวกสบายกับคนอื่น คนอื่นเห็นก็มาขอทำด้วยทุกคนก็ได้ร่วมกันทำกุศล ค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย Jarunee.A  วันที่ 14 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ