ความหมายของอนัตตา - เข้าใจผิดว่าเป็น กลุ่มก้อน ตอนที่ 9-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
โดย wittawat  27 เม.ย. 2562
หัวข้อหมายเลข 30803

มีท่านที่อาจจะเชื่อว่าการรู้เพียงลักษณะของนามธรรมเดียว หรือรูปธรรมเดียว ก็สามารถที่จะประจักษ์แจ้งอริยสัจธรรมได้ และเขาก็เข้าใจไปเองว่าสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่เขาไม่ได้เข้าใจลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมตามที่ปรากฏตามความเป็นจริง ซึ่งต่อมาแน่นอนว่าเขาต้องมีความลังเลสงสัยในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม เขาคิดว่าไม่สามารถที่จะรู้ (ลักษณะของรูปและนาม) ได้ นั่นก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าเขาไม่ได้มาในหนทางที่ถูกต้องที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม

เราได้อ่านพระสูตรที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านั้น เกี่ยวกับข้ออุปมาของทางพระอานนท์ที่ท่านใช้
กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า "ท่านพระอุทายี บุรุษต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหา แก่นไม้ ถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ใหม่ ในป่านั้น พึงตัดที่โคนต้นแล้วตัดที่ปลาย (ยอดบนสุดของต้น) ครั้นแล้วลอกกาบออก แม้กระพี้ ที่ต้นกล้วยนั้นก็ไม่พบ ที่ไหนจะพบแก่นได้ ฉันใด ท่านพระอุทายี ภิกษุ จะพิจารณาหาตัวตนหรือสิ่งที่เป็นตัวตนในผัสสายตนะ ๖ ไม่พบ. ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ยืดถือสิ่งไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยืดถือ
ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่ดิ้นรน ก็ดับสนิทจําเพาะตน "ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี" [1]".

เราได้อ่านว่าท่านพระอานนท์กล่าวว่า มีบุรุษต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้ ถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ใหม่ ถ้ายังคงเป็นต้นกล้วย ก็ยังคงปรากฏความเป็น "กลุ่มก้อน" (ธรรมที่ประชุมกันอยู่ ไม่ปรากฏความเป็นธรรม) ต่อมาเราได้อ่าน "พึงตัดที่โคนต้นแล้วตัดที่ปลาย (ยอดบนสุดของต้น) ครั้นแล้วลอกกาบออก" คือ ควรที่จะละความติดข้องว่าเป็น "กลุ่มก้อน" ว่าเป็น "สิ่งหนึ่งสิ่งใด" ว่าเป็นเรา

ต่อจากนั้นก็อ่านว่า "แม้กระพี้ ที่ต้นกล้วยนั้นก็ไม่พบ ที่ไหนจะพบแก่นได้" เพราะนั้นก็ถอนออกจากความเห็นที่ว่าเป็นต้นกล้วย ก็คล้ายๆ กับกรณีของโค ที่ยังไม่ได้ถูกพ่อค้าเนื้อ ชำแหละ ตามที่เราอ่านใน ปปัญจสูทนี คัมภีร์อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร "ถ้าพ่อค้าเนื้อไม่ได้แร่หนัง และชำแหละอวัยวะออกเป็นส่วนๆ บุรุษนั้นก็ยังคงเห็นว่าเป็นโค ไม่ได้เห็นว่าเป็นเพียงอวัยวะน้อยใหญ่" ตราบเท่าที่รูปยังถูกเห็นว่ารวมกันอยู่ทั้งหมด ผู้นั้นรู้รูปโดยความเป็น "กลุ่มก้อน (ฆนะ) " หรือเป็นท่าทางทั้งหมด (อิริยาบถ) เช่น "รูปนั่ง" บุคคลก็ต้องคิดว่าธรรม คือสิ่งหนึ่งสิ่งใด คือเรา คือบุคคลตรงนั้น เพียงถ้าเขารู้นามธรรม และรูปธรรมตามความเป็นจริง เขาก็จะไม่สำคัญว่าธรรมเป็นตัวตน หรือบุคคลอีกต่อไป ก็เหมือนกับการลอกผิวต้นกล้วย ก็ไม่เจอกระพี้ และก็ไม่เจอแก่นไม้ ตามที่เราท่าน ท่านพระอานนท์ กล่าวว่า "ภิกษุจะพิจารณาหาตัวตนหรือสิ่งที่เป็นตัวตนในผัสสายตนะ ๖ ไม่พบ. ฉันนั้น เหมือนกัน"

ในผัสสายตนะทั้ง 6 ไม่มีท่าทาง นั่ง นอน ยืน เดิน จักขุปสาทรูปเป็นอายตนะภายใน [2] วัณรูป (สิ่งที่ปรากฏทางตา) เป็นรูปายตนะ เป็นอายตนะภายนอก เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา อาจจะเห็นคนที่กำลังนั่งอยู่ และคิดว่าเป็นเรา หรือเป็นบุคคล แม้ว่าจะกล่าวว่า ไม่ใช่เรา ถ้าเข้าใจเพียงปริยัติ ก็ยังไม่ได้เข้าใจชัดเจนว่าความจริงของอนัตตาจะสามารถเข้าใจได้โดยสติที่เกิดขึ้นระลึกรู้เห็น หรือสติที่เกิดขึ้นระลึกรู้ความจริงอื่นๆ ที่กำลังปรากฏ ปัญญาสามารถที่จะรู้ว่าเห็น เป็นเพียงเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา หลังจากเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วก็มีคิดนึก และจดจำรูปร่างสันฐานของสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นอะไร และในขณะที่มีนามธรรมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นรู้ และจำสิ่งหนึ่งสิ่งใด นั่นก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ที่ทำอย่างนั้น (ไม่ใช่ว่าเรารู้ แต่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของธรรมนั้นๆ ทีละหนึ่งๆ ) เมื่อได้ยินเกิดขึ้นรู้เสียงผ่านทางหู ไม่มีความจำหลงเหลืออยู่เลยในสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่มีความจำที่รู้ว่าเป็นคนกำลังนั่งและคุยกัน เมื่อได้ยินเกิดขึ้นปรากฏ (เพราะเห็นและการคิดนึกเรื่องราวของสิ่งที่เห็น ต้องดับไปก่อน ได้ยินจึงเกิดขึ้นมีได้ตามที่ทรงแสดงเรื่องวาระจิต) สติสามารถที่จะระลึกความจริงของได้ยินได้ ว่าเป็นธาตุซึ่งรู้เพียงเสียง จากนั้นจิตก็คิดคำ หรือชื่อ ตามเสียงสูงต่ำ เสียงที่ต่างกัน ตามที่เคยได้ยิน เมื่อมีการเข้าใจความหมายของคำ ปัญญาสามารถที่จะรู้ว่าเป็นเพียงชนิดหนึ่งของนามธรรมที่เข้าใจความหมายของคำ

ถ้าปัญญาเกิดขึ้นรู้ชัดในความจริงที่แตกต่าง แต่ละลักษณะแต่ละขณะ ว่าเป็นนามธรรม และรูปธรรม ก็เป็นการละคลายความเห็นผิดที่ยึดถือว่าธรรมเป็นเรา ก็เป็นการละคลายความคิดที่ว่าความจริงเป็น "กลุ่มก้อน (รูปหรือนามที่ประชุม) " หรือเป็นอิริยาบถ จึงจะสามารถเข้าใจความหมายของความสงบภายใน เพราะจิตไม่ข้องเกี่ยวกับสิ่งภายนอก ว่าเป็นเรา บุคคล หรือตัวตน (แต่เป็นธรรม) ก็จะไม่มีโลกที่บุคคลยึดถือ โลกภายนอกที่เต็มไปด้วยบุคคล และสิ่งต่างๆ มากมาย ก็จะไม่มีอะไรให้บุคคลเคยเข้าใจผิดว่าเป็นบุคคลนั้น สิ่งนั้น เป็นเรา ทั้งหมดยั่งยืน และถาวร เมื่อไรก็ตามที่สติเกิดปัญญาสามารถเข้าใจความจริงชัดเจนขณะนั้น และจากนั้น ก็มีความสงบภายใน เพราะไม่มีคน ตัวตน สิ่งหนึ่งสิ่งใด ในทางกลับกัน เมื่อมีคนมากมาย มีการคิดนึกเรื่องราวมากมายในผู้นั้น ก็ไม่มีความสงบ ถ้าใครได้พบเจอกับบุคคลที่คุ้นเคย หรือมีความสัมพันธ์ข้องเกี่ยว ทันทีที่เขาเจอคนนั้นก็จะคิดเรื่องยาวเกี่ยวกับคนนั้น ถ้าเขาเห็นคนไม่รู้จักเรื่องก็สั้น เขาก็คิดเพียงชั่วครู่เกี่ยวกับคนนั้น และเรื่องก็จบ เขาก็จะไม่คิดต่อเรื่องของคนนั้น

ข้อความนี้ถูกแปลจาก...The Meaning of Anatta - We take it for a whole

คลิกเพื่ออ่านตอนอื่นๆ ... (หรือสามารถกดที่ tag ได้)

ตอนที่ 1 - ประตูทั้ง 4

ตอนที่ 2 - วิปัสสนาญาน

ตอนที่ 3 - เป็นรูปหรือที่เดิน

ตอนที่ 4 - เป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน)

ตอนที่ 5 - พิจารณาสภาพธรรมที่มีจริงขณะนี้

ตอนที่ 6 - ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย

ตอนที่ 7 - ลำดับขั้นของวิปัสสนาญาน

ตอนที่ 8 - การดับวิจิกิจฉาและทิฏฐิ

ตอนที่ 9 - เข้าใจผิดว่าเป็น กลุ่มก้อน

ตอนที่ 10 - แต่ละคนก็อยู่ในโลกของความคิดตนเอง

ตอนท่ี่ 11 - เป็นเพียงเรื่องราวของความคิดนึก

-------------------------------------------------------------
[1] ภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยว่า "ย่อมรู้ชัดว่า การเกิดใหม่ได้ถูกทำลายแล้ว มีชีวิตอยู่อย่างชอบธรรมแล้ว กิจได้กระทำแล้ว จะไม่มีชีวิตเป็นเช่นนี้อีกต่อจากนี้"

[2] อายตนะ หมายถึง ที่ต่อ ที่ประชุม บ่อเกิด ขณะที่จักขุวิญญานเกิดมีสิ่งที่ประชุมกัน คือ สี เป็นอายตนะภายนอก มีเจตสิก 7 ประเภทเป็นอายตนะภายนอก มีจักขุปสาทรูปเป็นอายตนะภายใน มีจักขุวิญญานเป็นอายตนะภายใน อ่านรายละเอียด...อายตนะ12

- คัมภีร์อรรถกถา แสดงว่า อายตนะภายใน 6 (ปสาทรูป 5 และ ใจ) และอายตนะภายนอก6 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) ท่านกล่าวว่าแสดงว่า จำแนกเป็น ภายใน และภายนอก โดยอำนาจแห่งฉันทราคะ เช่นเดียวกับ ของที่อยู่ภายในเรือน (ไม่ยอมให้ใครเข้าไปแตะต้อง) และของที่อยู่ภายนอกเรือน [เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ หน้า 16



ความคิดเห็น 1    โดย มกร  วันที่ 29 เม.ย. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ