ลักษณะของทุกข์ - การยึดถือในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ตอนที่ 7-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
โดย wittawat  1 พ.ค. 2562
หัวข้อหมายเลข 30820

ถาม: ได้ศึกษาจากบทสวดของพระภิกษุตอนเช้าเกี่ยวกับ การยึดถือขันธ์ (อุปาทานขันธ์) มีการยึดถือในขันธ์ 5 ว่าคือ ทุกข์ หมายความว่าอย่างไร

อ.สุจินต์: การยึดถือในขันธ์ 5 เป็นทุกข์แน่นอน ตราบเท่าที่มีความไม่รู้ในสภาพธรรมตามความเป็นจริงที่ปรากฏ ก็มีความสุขและความทุกข์แน่นอน "การเกิดขึ้นของความสุขและความทุกข์เป็นประเภทหนึ่งของทุกข์" เพราะในขณะนั้น ไม่สงบ และไม่เป็นอิสระจากกิเลส บุคคลจะไม่รู้ความต่างระหว่างกุศลจิต และอกุศลจิตเลย เมื่อปัญญาไม่เกิดขึ้น ก็สนุกเพลิดเพลินไปเพราะมีโลภะ จะไม่มีการหยุดจากความสนุกเพลิดเพลินด้วยโลภะเลย ถ้าปัญญาไม่รู้ชัดแยกขาดความต่างกันระหว่างขณะของกุศล เมื่อมี ความไม่ติดข้อง และขณะที่มีโลภะเมื่อมีความพอใจ ความสนุกสนาน ความปรารถนา ความเพลิดเพลิน หรือความติดข้อง ยึดถือ

"เมื่อปัญญาไม่เกิด เราก็เพลิดเพลินไปกับกิเลส อยากที่จะมีโลภะ ไม่เคยพอ ไม่ว่าเรารู้สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจ คนทั่วไปไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นทุกข์ ซึ่งให้โทษ และเป็นอันตราย เพราะฉะนั้นอุปาทานขันธ์ 5 จึงเป็นทุกข์"

ถาม: ถ้าเราใส่ใจอารมณ์ที่กระทบ เช่น เมื่อสิ่งทีปรากฏทางตากระทบตา หรือเสียงกระทบหู จะไม่มีความสุขหรือความทุกข์หรือ

อ.สุจินต์: ไม่มี ใคร หรือ เรา ที่จะสามารถใส่ใจหรือบังคับให้สติเกิดขึ้น เมื่อสติเกิดขึ้นก็จะสามารถรู้ความต่างของ ขณะที่มีสติเกิด และขณะที่ไม่มีสติ

ถาม: ขันธ์ทั้ง 5 ของปุถุชนต้องเหมือนกันกับของพระอรหันต์ แต่ขันธ์ของปุถุชนยังเป็นอารมณ์ให้ยึดมั่น และด้วยเหตุนี้จึงมีทุกข์เกิดขึ้น เมื่อเราค่อยๆ เรียนที่จะใส่ใจเมื่อ อารมณ์ที่กระทบกับปสาท เช่น สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือเสียง กำลังกระทบกับทวารที่เกี่ยวข้อง นั่นจะเป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐานที่ถูกวิธีหรือไม่

อ.สุจินต์: ควรที่จะจำว่าธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่มีเรา เพื่อที่ว่าสติจะสามารถอบรมได้อย่างถูกทาง ควรที่จะรู้เมื่อมีสติ และเมื่อไม่มีสติ เมื่อบุคคลนั้นมีความคิดว่า เราใส่ใจ (ในอารมณ์) สติปัฏฐานก็ไม่ได้เจริญขึ้น

แปลจาก...The Characteristic of Dukkha - The five khandhas of clinging are dukkha

คลิกเพื่ออ่านตอนอื่นๆ ...

ตอนที่ 1 - พ้นจากทุกข์ได้อย่างไร

ตอนที่ 2 - การอบรมเจริญวิปัสสนาเริ่มต้นได้อย่างไร

ตอนที่ 3 - นั่งทำสมาธิด้วยโยนิโสมนสิการได้อย่างไร

ตอนที่ 4 - ความต่างกันของรูป

ตอนที่ 5 - ความหมายของการศึกษาลักษณะ

ตอนที่ 6 - ปัญญาเจริญขึ้นได้ตามลำดับขั้น

ตอนที่ 7 - การยึดถือในขันธ์ 5 เป็นทุกข์

ตอนที่ 8 - เราติดกับความคิดที่เป็นตัวตน

ตอนที่ 9 - ความหมายของอิริยาบถปิดบังทุกข์

ตอนที่ 10 - ไปสู่ป่า และ สำนักปฏิบัติ

ตอนที่ 11 - ความเข้าใจเจริญขึ้นตามปรกติ