นิมิตที่มากมาย
โดย unnop.h  25 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35863

* ในชีวิตประจำวันเราก็คิดกันว่า เราเห็นรูปร่าง รูปทรง สัณฐาน และรู้ว่าเป็นคนโน้นคนนี้ สิ่งโน้นสิ่งนี้ ทั้งที่เรารู้จักชื่อและไม่รู้จักชื่อ แต่ตามความเป็นจริงแล้วคืออย่างไร

* ตามความเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงก็คือ เพราะมีสภาพธรรมแต่ละอย่างที่เกิดดับสืบต่อกันไปอย่างรวดเร็ว จึงปรากฏเป็น "นิมิตของ สภาพธรรม" เช่น นิมิตของสี นิมิตของเสียง นิมิตของความรู้สึก นิมิตของเห็น นิมิตของได้ยิน (นิมิตคือเครื่องหมายให้รู้ ได้)

* เพราะมีนิมิตของสภาพธรรมแต่ละอย่างปรากฏให้จิตรู้มากมายอย่างรวดเร็ว จึงเป็น "นิมิต อนุพยัญชนะ" คือนิมิตที่เป็นส่วนหยาบ ส่วนละเอียด ซึ่งเป็น "บัญญัติ" ให้รู้ได้ เช่น

* ถ้าเป็นนิมิตของสีที่ปรากฏทางตาและจิตคิดที่มากมาย ก็จะทำให้ปรากฏเป็นรูปร่าง รูปทรง สัณฐาน ต่างๆ ให้รู้ได้ คือเป็น "อรรถบัญญัติ"

* ถ้าเป็นนิมิตของเสียงที่ปรากฏทางหูและจิตคิดที่มากมาย ก็จะทำให้ปรากฏเป็นนิมิตของกลุ่มเสียงสูงๆ ต่ำๆ คือเป็น "สัททบัญญัติ"

* เมื่อมีบัญญัติปรากฏให้รู้ จึงมีการ "สมมติ" ตั้งขื่อ สมมติคำไปตามการตกลง เพื่อสื่อความหมายกันในแต่ละกลุ่มคน ชนชาติต่างๆ ซึ่งก็เปลี่ยนได้ตามแต่จะตกลงสมมติกัน

* ส่วนอรรถบัญญัติ และสัททบัญญัตินั้น ปรากฏให้รู้ได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้สมมติ แม้สัตว์ก็รู้บัญญัติได้ เช่น เพราะรู้อรรถบัญญัติ จึงรู้ว่ารูปร่าง สัณฐานอย่างนี้เป็นอาหารหรือเป็นอันตราย โดยไม่ต้องรู้สมมติชื่อเลย

* ดังนั้น เพราะมีสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็ว จึงมีนิมิต บัญญัติ สมมติ


โดย อ.อรรณพ หอมจันทร์

อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... คติธรรม



ความคิดเห็น 1    โดย petsin.90  วันที่ 25 ส.ค. 2564

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 25 ส.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย ค่อยๆศึกษา  วันที่ 26 ส.ค. 2564

กราบขอบพระคุณครับ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย Nattaya40  วันที่ 3 มิ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย Wisaka  วันที่ 27 ก.พ. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ