ปฏิปทามี ๓ อย่าง
โดย เจตสิก  17 ธ.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 5989

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 594 ว่าด้วยปฏิปทา ๓ [๕๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน?คือ อาคาฬหปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างหยาบช้า ๑ นิชฌามปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างเหี้ยมเกรียม ๑ มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างกลาง ๑ .....บทว่า อาคาฬฺหา ปฏิปทา ได้แก่ปฏิปทาที่ย่อหย่อน คือหละหลวมได้แก่ ยึดถือไว้อย่างมั่นคง ด้วยอำนาจโลภะ บทว่า นิชฺฌามา ได้แก่ปฏิปทาที่ตึงมากไป คือแผดเผาตน ทำตนให้ร้อนรน ด้วยสามารถแห่งอัตตกิลมถานุโยค. บทว่า มชฺฌิมา ได้แก่ ปฏิปทาที่ไม่หย่อน ไม่ตึง อยู่ตรงกลาง.



ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 17 ธ.ค. 2550

ทางสายกลางดีที่สุด ไม่ตึงไม่หย่อน เจริญกุศลทุกอย่างเพื่อออกจากวัฏฏะจึงจะเป็น

มัชฌิมาปฏิปทาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 17 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 4    โดย pornpaon  วันที่ 18 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ เคยปฏิบัติผิด เพราะเข้าใจผิดมาทั้ง 2 ข้อแรก แบบปุถุชนผู้แสวงหาแต่ว่ายังไม่มีกัลยาณมิตรในสมัยนั้น ปัจจุบันมีกัลยาณมิตรที่ไม่เคยพบหน้าและไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวมากมายจากการฟังธรรมบรรยาย และการสนทนาธรรมของมศพ.โดย อ.สุจินต์และคณะตลอดถึงผู้ร่วมสนทนาธรรมทั้งหลายทางวิทยุ และในเว็บไซท์บ้านธัมมะนี้ด้วย ปัจจุบันจะเรียกได้ว่ารอฟังและเลือกฟังอาจารย์และคณะมากเท่าที่จะทำได้ บางครั้งคลื่นวิทยุก็ไม่อำนวยเลยแต่ก็ฟังทั้งๆ ที่มีคลื่นแทรกอย่างมาก สามารถจัดเวลาที่จะได้อ่านปรมัตถธรรมสังเขปได้เพียงวันละ 1 หน้า อ่านแล้วไม่เข้าใจ ไม่ชัดเจนก็ต้องอ่านหน้าเดิมซ้ำใหม่อยู่อย่างนั้น นานๆ ถึงจะได้มาอ่านความรู้หลากหลายต่างๆ และคำอธิบายเพิ่มเติมจากผู้รู้ทั้งหลายในกระดานสนทนาสักทีหนึ่ง การเคยเข้าใจผิดและปฏิบัติผิด มีประโยชน์อยู่บ้างเหมือนกัน เพราะเมื่อได้เข้าใจถูกปฏิบัติถูก จึงมองเห็นเหตุผลที่เคยเข้าใจผิดได้ชัดเจนขึ้น