อริยอุโบสถ
โดย JYS  21 ก.ค. 2559
หัวข้อหมายเลข 28003

อย่างไรจึงจะชื่อว่า "อริยอุโบสถ"?

ที่รักษาอุโบสถกันในสมัยนี้เหมือนกับอริยอุโบสถหรือไม่อย่างไรครับ?

อยากทราบความละเอียดเรื่องศีลโดยละเอียดด้วยครับ

อย่างไรจึงจะชื่อว่า "รักษาศีลจริงๆ " คือรักษาศีลที่ถูกต้องตามพระธรรม เป็นศีลในพระพุทธศาสนาที่แท้จริงอะครับ

รักษาศีลอย่างถูกต้องเป็นเช่นไรกัน?

ขอความกรุณาด้วยครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 21 ก.ค. 2559

อุโบสถศีลหรือศีล ๘ เป็นศีลของคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในกุศล มีอัธยาศัยในการออกจากกิเลส จึงมีข้อความในพระสูตรว่า พระอริยสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ใคร่จะมีชีวิตอยู่อย่างพระอรหันต์วันหนึ่งคืนหนึ่ง จึงสมาทานสิกขาบท ๘ ข้อ (อุโบสถศีล) คือ ในวันนั้น ท่านละเว้นจากการงานที่เคยทำประจำ มามีชีวิตอยู่อย่างผู้ประเสริฐ จึงรักษาศีล ๘ ดังนั้น ผู้ที่มีศรัทธาจะรักษาอุโบสถศีล ควรกระทำตามแบบอย่างพระอริยสาวกในสมัยครั้งพุทธกาล คือ งดเว้นกิจการงานธุระกิจทั้งหลายในวันนั้น ถ้าไม่สะดวกควรรักษาศีล ๕ ก็พอ เพราะถ้าสมาทานศีล ๘ แต่ขณะจิตเต็มไปด้วยอกุศล หรือมีความกังวลศีลที่รักษาย่อมศร้าหมองไม่ผ่องใส อุโบสถไม่ใช่อริยอุโบสถ อริยอุโบสถ จึงต้องมีปัญญาเห็นโทษของกิเลสจริงๆ จึงสมาทาน ครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย JYS  วันที่ 21 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณครับ ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 22 ก.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่น่าพิจารณา คือ สำคัญที่จุดประสงค์จริงๆ ว่า เพื่ออะไร เป็นเรื่องของการขัดเกลากิเลสจริงๆ สำหรับการรักษาอุโบสถศีล ไม่ได้จำกัดที่รูปแบบหรือวิธีการ แต่อยู่ที่สภาพจิตใจของผู้ที่รักษา และสิ่งที่ควรทำในวันดังกล่าว ก็สำคัญอยู่ที่การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก พร้อมกับความตั้งใจที่จะสมาทานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติในสิ่งที่ไม่ประเสริฐ จากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล จากการฟ้อนรำประโคมดนตรี และ การประดับตกแต่งร่างกาย และ จากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ เพราะผู้ที่ยังมีกิเลสนั้น จะต้องอาศัยการขัดเกลามากมาย ถ้าเป็นวัตถุพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอุปมาว่าจะต้องใช้ขี้ตะกรัน ดินเหนียว หรืออาศัยเกลือ น้ำด่าง น้ำ อาศัยน้ำมัน อาศัยขี้เถ้า เป็นต้น ในการขัด แต่ในการขัดเกลากิเลสนั้นต้องอาศัยการเจริญกุศลทีละเล็กละน้อย ผู้ที่ยังไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน (ระลึกรู้สภาพธรรม) มากพอที่จะบรรลุเป็นพระอริยบุคคลในวันนี้ พรุ่งนี้ นั้น โอกาสใดที่จะเจริญกุศลขัดเกลากิเลส ก็ไม่ควรละเว้นโอกาสนั้น
จะเห็นได้ว่า การขัดเกลากิเลส และความดีนั้น ไม่จำกัด ยิ่งเจริญมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นประโยชน์ ศีล ๘ ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรจะจำกัดเวลาว่าเฉพาะวันอุโบสถเท่านั้น แต่การกุศลทุกประเภทนั้นควรเจริญโดยไม่จำกัดเวลา ถ้าไม่สามารถรักษาศีล ๘ ได้ เพียงศีล ๕ ก็เป็นประโยชน์เช่นเดียวกันถ้ามีความจริงใจ มีความตั้งใจที่จะงดเว้นจากความประพฤติที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ในขณะที่งดเว้นนั้น ก็เป็นความดีสำหรับตนเอง เป็นการขัดเกลากิเลสของตนเอง และไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย ํํญาณินทร์  วันที่ 23 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย intra  วันที่ 23 ก.ค. 2559

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย nopwong  วันที่ 25 ก.ค. 2559

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย ปาริชาตะ  วันที่ 25 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 29 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย chatchai.k  วันที่ 8 ก.ย. 2565

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม ...

พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงอุโบสถ มี ๓ อย่าง