อรรถกถาบุคคลผู้ไปตามกระแสเป็นต้น [ปุคคลบัญญัติ]
โดย khampan.a  7 ธ.ค. 2557
หัวข้อหมายเลข 25877

[เล่มที่ 79] พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๒๑

อรรถกถา บุคคลผู้ไปตามกระแส เป็นต้น

วินิจฉัย ในคำว่า "อนุโสตคามี" คือ ผู้ไปตามกระแส เป็นต้น

บทว่า "อนุโสตคามี" พึงทราบได้แก่ ปุถุชนผู้ไปตามกระแส คือ วัฏฏะ ผู้จมลงในกระแสคือ วัฏฏะ

บทว่า "ปฏิโสตคามี" คือ ผู้ไปทวนกระแส คำว่า "ปฏิโสตคามี" นี้เป็นชื่อของท่านผู้ไม่ไปตามกระแส แต่ไปทวนกระแส. ข้อว่า "ปาปญฺจ กมฺมํ น กโรติ" ได้แก่ ผู้ไม่ก้าวล่วงการกระทำบาป. ข้อว่า "สหาปิ ทุกฺเขน สหาปิ โทมนสฺเสน" ความว่า ครั้นเมื่อกิเลสอันเป็นปริยุฏฐานยังมีอยู่ ย่อมกระทำกรรมอันลามก แม้กับด้วยทุกขโทมนัสที่เกิดขึ้น.

บทว่า "ปริปุณฺณํ" ได้แก่ บรรดาสิกขาทั้ง ๓ ไม่บกพร่องแม้สักอย่าง.

บทว่า "ปริสุทฺธํ" ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส.

บทว่า "พฺรหฺมจริยํ" แปลว่า ประพฤติธรรมอันประเสริฐที่สุด พระโสดาบัน และพระสกทาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยวาระนี้ ถามว่า ก็บุคคลเหล่านี้ ร้องไห้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ตอบว่า ถูกแล้ว ท่านเหล่านี้ ชื่อว่าร้องไห้ประพฤติพรหมจรรย์ โดยการร้องไห้ ด้วยอำนาจของกิเลส แม้ภิกษุผู้ปุถุชนสมบูรณ์ด้วยศีล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงสงเคราะห์เข้าในบทว่า "พฺรหฺมจริยํ" นี้เหมือนกัน.

บทว่า "ิตตฺโต" ได้แก่ ผู้มีการดำรงตัวอยู่ได้เป็นสภาพ ก็พระอนาคามี ชื่อว่า ดำรงตัวอยู่ได้เป็นสภาพ เพราะท่านเป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหว ด้วยกามราคะ และพยาบาท และเป็นผู้ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

บทว่า "ติณฺโณ" ได้แก่ ผู้ข้ามกระแสแห่งตัณหา.

บทว่า "ปารคโต" ได้แก่ ผู้ถึงฝั่งคือ พระนิพพาน สองบทว่า "ผเล ติฏฺติ" ได้แก่ ยืนอยู่บนบก คือ อรหัตผลและสมาปัตติผล

บทว่า "เจโตวิมุตฺตึ" ได้แก่ ผลสมาธิ

บทว่า "ปฺาวิมุตฺตึ" ได้แก่ ผลญาณ สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า พระขีณาสพ ผู้ข้ามกระแสตัณหาไปแล้ว ถึงฝั่ง คือ พระนิพพานแล้ว ยืนอยู่บนบก คือ อรหัตผลและสมาปัตติผล ท่านเรียกว่าเป็น "พราหมณ์" ก็พระขีณาสพนี้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะท่านเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว



ความคิดเห็น 1    โดย นายประถาษไวยวิรี  วันที่ 18 ก.ย. 2558

ขออนุโมทนาจ


ความคิดเห็น 2    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 15 เม.ย. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 10 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น