อกุศลมูล (โลภะ โทสะ โมหะ) และ ตัณหา ต่างกันอย่างไรครับ
โดย ธีรวังโส  30 มี.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 3243

ก. ผมอ่านและจดมาจาก Internet ดังนี้ว่า "ทุกขสมุทัย คือ เหตุแห่งการเกิดทุกข์ (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) "

ข. หนังสือ พุทธธรรม (ฉบับเดิม) ของท่านพระธรรมปิฎก หน้า 282 กล่าวว่า"อกุศลมูล 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ"

ผมเกิดข้อสงสัยดังนี้ครับ

1. เมื่ออวิชชาถือเป็นปัจจัยแห่งทุกข์ ตามปฏิจจสมุปบาท ซึ่งตามข้อ ข. "อกุศลมูล 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ" ทำไมจึงต่างไปจากข้อ 1 ที่บอกว่าเหตุแห่งทุกข์คือ (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ทั้ง 2 ข้อเป็นปัจจัยซึ่งกันอย่างไร

ขอกราบ อนุโมทนาบุญครับ



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 30 มี.ค. 2550

พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีหลายนัย คือโดยนัยของอริยสัจ ๔ ทรงยก โลภะ คือ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ โดยนัยปฏิจจสมุปบาท ทรงยก โมหะ คือ อวิชชา เป็นประธานของวัฏฏะ ทั้งหมดต่างโดยเทศนา โดยอรรถแล้วมีนัยเดียวกัน ตัณหาและอวิชชา เป็นปัจจัยแก่ กัน โดยสหชาตปัจจัย เกิดพร้อมกัน ไม่ได้ปราศจากกันและกัน เพราะที่ใดมีตัณหาที่ นั่นย่อมมีอวิชชาด้วย


ความคิดเห็น 2    โดย ธีรวังโส  วันที่ 30 มี.ค. 2550

สาธุครับ ระหว่างรอคำตอบนี้ ผมเองได้ค้นหาโดยระบบ Google ได้รายละเอียดดังนี้ ครับ เรียนถามว่า ไม่ทราบว่าถูกต้องเพียงใด

ในสัจจที่ ๒ นี้แสดงว่า ตัณหา คือ โลภะเป็นตัวสมุทัย เป็นธรรมที่ควรละ ควร ประหาร ส่วนโทสะ โมหะ อันเป็นมูลเหตุให้เกิดอกุสลจิตเหมือนกันนั้น กลับจัดเป็น สัจจที่ ๑ คือ เป็นทุกขอริยสัจจ อันเป็นธรรมที่ควรรู้เท่านั้นเอง ดังนั้นก็ หมายความ ว่า โทสะ นี้ ไม่ต้องละ ไม่ต้องประหารกระนั้นหรือ ข้อนี้มีอธิบายว่า โลภะ คือความชอบใจ ติดใจ อยากได้นี้ เป็นรากฐานแห่งโทสะเป็นบ่อเกิด ของโทสะเช่น เกิดชอบใจอยากได้สิ่งใดก็ตาม เมื่อไม่ได้ดังใจชอบก็เสียใจ น้อยใจ คือเกิดโทสะขึ้น หรือติดใจชอบใจในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นกลับมีอันเป็นให้พลัดพรากจาก สูญไป ก็เสียดาย เสียใจ กลุ้มใจ เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่มีโลภะซึ่งเป็นต้นเหตุ แล้ว โทสะอันเป็นปลายเหตุก็ย่อมไม่มีเป็นธรรมดา

ส่วนโมหะ นั้นย่อมต้องเกิดพร้อม กับโลภะหรือโทสะ โดยมี โลภะ หรือโทสะ เป็นตัวนำโมหะ เป็นตัวสนับสนุน เมื่อไม่มี โลภะตัวนำแล้ว โมหะตัวสนับสนุน ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งที่จะสนับสนุน สำหรับ โมหะที่เกิดพร้อมกับวิจิกิจฉา และโมหะที่เกิดพร้อมกับอุทธัจจะนั้น เมื่อประหารโลภะ ได้ ก็ย่อมแจ้งในอริยสัจจทั้ง ๔ เมื่อแจ้งในอริยสัจจแล้ว ย่อมหมด ความสงสัยหมดความฟุ้งซ่าน เมื่อไม่มีความสงสัย ไม่มีความฟุ้งซ่าน ก็คือ ไม่มีโมหะ ดังนั้น การประหารโลภะอันเป็นตัวสมุทัยได้แล้ว ก็เป็นอันไม่มีโทสะ และโมหะ หมดโทสะหมดโมหะไปด้วยในตัว ไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตาทำการประหารโทสะ โมหะเป็น พิเศษเป็นการใหญ่เหมือนโลภะแต่อย่างใดเลย


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 30 มี.ค. 2550

ผมเกิดข้อสงสัยดังนี้ครับ

1. เมื่ออวิชชาถือเป็นปัจจัยแห่งทุกข์ ตามปฏิจจสมุปบาท ซึ่งตามข้อ ข. "อกุศลมูล 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ" ทำไมจึงต่างไปจากข้อ 1 ที่บอกว่าเหตุแห่งทุกข์คือ (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ทั้ง 2 ข้อเป็นปัจจัยซึ่งกันอย่างไร ขอกราบ อนุโมทนาครับ บางนัย แสดงว่าอวิชชา (โมหะ) เป็นเหตุของตัณหา แต่บางนัยก็แสดงว่า ทั้ง โมหะและตัณหาต่างก็เป็นมูลเป็นเหตุซึ่งกันและกัน

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

ถอนตัณหาอันมีอวิชชาเป็นมูล [จตุจักกสูตร]

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

อรรถกถาเอกมูลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเอกมูลสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า เอกมูล ได้แก่ อวิชชาเป็นราก (มูล) แห่งตัณหา ทั้งตัณหาก็เป็นราก (มูล) แห่งอวิชชา

จากข้อความที่มาจากความเห็นที่ 2

การอบรมปัญญา มิใช่การละ โดยที่ไม่รู้อะไร ดังนั้น สัจจแรกคือ ทุกขสัจ คือ ควรกำหนดรู้ ดังนั้น เราต้องรู้ก่อนจึงละได้ ถามว่า เมื่อเป็นโละเป็นธัมมะที่ควรละ แล้วไม่ควรกำหนดรู้หรือ ถ้าไม่ควรกำหนดรู้ด้วยก็ไม่รู้ว่าเป็นธัมมะ ไม่ใช่เราก็ไม่ สามารถดับกิเลสได้ซึ่งต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญา จึงจะละได้ครับ (สติปัฏฐานหรือ วิปัสสนาญาณ) และเกี่ยวกับเรื่องโทสะ ละด้วยอนาคามีมรรค แต่ก่อนหน้านั้น ก็ ต้องเป็นพระโสดาบัน เมื่อเป็นพระโสดาบันก็ละ โลภะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด แต่ ไมได้ละโลภะดวงอื่นๆ แสดงว่าไม่ได้หมายความว่า ละโลภะได้ (บางดวง) จะดับ โทสะได้ แต่เมื่อปัญญาถึงระดับก็ละโทสะได้ ดังนั้น ที่แสดงว่า โลภะเป็นธัมมะที่ ควรละ เพราะเป็นรากเหง้า เพราะแม้จะดับโทสะหมดแล้วก็ยังมีโลภะ ที่ยังไม่ได้ดับ อีกครับ เมื่อแจ้งในอริยสัจจแล้ว ย่อมหมดความสงสัย หมดความฟุ้งซ่าน เมื่อไม่มี ความสงสัย ไม่มีความฟุ้งซ่าน ก็คือไม่มีโมหะ

จากข้อความนี้ เมื่อไม่มีความสงสัย ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโมหะ ความ สงสัยดับได้เมื่อเป็นพระโสดาบัน แต่โมหะดับได้ด้วยการเป็นพระอรหันต์

ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้


ความคิดเห็น 4    โดย แวะเข้ามา  วันที่ 31 มี.ค. 2550

อกุศลมูล (โลภะ โทสะ โมหะ) เป็นมูลเหตุแห่งอกุศลทั้งหมด ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ ดวงที่กระทำกิจชวน ตัณหา (โลภะ) เป็นทุกขสมุทยสัจจะ เพราะเป็นเหตุให้สัตว์ติด ข้องยินดีพอใจในวัฏฏะ มีใครชอบโทสะ โมหะบ้าง


ความคิดเห็น 5    โดย wannee.s  วันที่ 1 เม.ย. 2550
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา เพราะความไม่รู้ก็สะสมความไม่รู้อีก อวิชชาปรุงแต่งให้เราทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง เราจึงวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ จะละอวิชชาได้ด้วยอรหันต์มรรค

ความคิดเห็น 6    โดย ธีรวังโส  วันที่ 2 เม.ย. 2550
สาธุ

ความคิดเห็น 7    โดย chatchai.k  วันที่ 29 ก.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ