ลักษณะของทุกข์ - นั่งทำสมาธิด้วยโยนิโสมนสิการได้อย่างไร ตอนที่ 3-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
โดย wittawat  1 พ.ค. 2562
หัวข้อหมายเลข 30815

ถาม: ผู้ที่เคารพสักการะพระพุทธเจ้าโดยการสวดมต์ จากนั้นก็อาจจะอยากนั่งทำสมาธิจดจ่อกับอารมณ์หนึ่ง บุคคลนั้นจะทำอย่างนั้นได้อย่างไรด้วยโยนิโสมนสิการ (กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย) ซึ่งจะไม่มีความติดข้องหรือความไม่พอให้เนื่องด้วยอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น

อ.สุจินต์: เมื่อมีสติชอบ หรือสัมมาสติ ในมรรคมีองค์ 8 ก็จะมีโยนิโสมนสิการ (การกระทำไว้ในใจโดยชอบ) และก็ไม่จำเป็นต้องนั่งทำสมาธิจดจ่อกับอารมณ์หนึ่ง เมื่อใครที่คิดว่านั่งทำสมาธิเพื่อที่จะมีสติ เขาก็มีความเข้าใจผิดว่ามีเราที่สามารถทำให้สติเกิดขึ้นได้ในเวลานั้นๆ

แต่ว่าสัมมาสติไม่ต้องคอยจนกระทั่งต้องบูชาด้วยการสวดมนต์ก่อน ใครบูชาพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลนั้นไม่รู้ว่า แท้จริงเป็นนามและรูป ที่เค้าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเราที่กำลังสวดมนต์ ถ้ามีความคิดว่า "ฉันกำลังบูชา" ก็เป็นเขาที่ติดอยู่กับความคิดว่ามีตัวเองที่สวดมนต์

สัมมาสติสามารถที่จะเกิดขึ้น และระลึกความจริงใดก็ได้ที่ปรากฏเมื่อขณะที่เรากำลัง กราบไหว้ หรือ กำลังสวดมนต์ หรือขณะอื่นๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดๆ

ข้อความนี้แปลจาก...The Characteristic of Dukkha - How can one meditate with wise attention?

คลิกเพื่ออ่านตอนอื่นๆ ...

ตอนที่ 1 - พ้นจากทุกข์ได้อย่างไร

ตอนที่ 2 - การอบรมเจริญวิปัสสนาเริ่มต้นได้อย่างไร

ตอนที่ 3 - นั่งทำสมาธิด้วยโยนิโสมนสิการได้อย่างไร

ตอนที่ 4 - ความต่างกันของรูป

ตอนที่ 5 - ความหมายของการศึกษาลักษณะ

ตอนที่ 6 - ปัญญาเจริญขึ้นได้ตามลำดับขั้น

ตอนที่ 7 - การยึดถือในขันธ์ 5 เป็นทุกข์

ตอนที่ 8 - เราติดกับความคิดที่เป็นตัวตน

ตอนที่ 9 - ความหมายของอิริยาบถปิดบังทุกข์

ตอนที่ 10 - ไปสู่ป่า และ สำนักปฏิบัติ

ตอนที่ 11 - ความเข้าใจเจริญขึ้นตามปรกติ



ความคิดเห็น 3    โดย lokiya  วันที่ 28 มี.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ