หนทางปรกติของการอบรมเจริญปัญญา - เช่นเดียวกับการจับด้ามมีด ตอนที่ 9-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
โดย wittawat  15 พ.ค. 2562
หัวข้อหมายเลข 30862

ถาม: ผม (ดิฉัน) ยังไม่รู้ลักษณะของสติปัฏฐาน เมื่อฟังที่ท่านสอนอย่างตั้งใจ เข้าใจแต่เรื่องราวปริยัติ ก็มีสติขณะที่เข้าใจปริยัติ แต่ไม่ได้พิจารณานาม และรูปในขณะนั้น ไม่แน่ใจว่านั่นเป็นสติปัฏฐานหรือไม่

อ.สุจินต์: ถ้าเราไม่ได้เข้าใจว่า "ชีวิตเป็นเพียงนามธรรม และรูปธรรม" แน่นอนว่าต้องสำคัญสิ่งที่มีจริงว่าเป็นเรา เต็มไปด้วยเรื่องของเรา ของตัวตน และความสำคัญว่าเป็นเราเป็นตัวตนนี้สามารถที่จะดับเป็นสมุจเฉทได้ด้วยสติปัฏฐานเท่านั้น

สติสามารถที่จะระลึกและเริ่มสังเกตลักษณะของนามและรูปที่ปรากฏ ในช่วงเริ่มต้น เมื่อสติระลึก ไม่สามารถที่จะมีความเข้าใจชัดในความจริงที่ปรากฏว่าเป็นนามและเป็นรูป ความเข้าใจอาจจะอ่อนมากซึ่งยากที่จะสังเกตได้ ความเข้าใจจะเจริญขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งจะสามารถละคลายความไม่รู้ได้ตามลำดับขั้น ความไม่รู้ไม่สามารถถอนออกได้โดยทันที เช่นเดียวกับกรณีของด้ามมีดที่เมื่อบุคคลถือแต่ละวันซึ่งสึกออกเพียงนิดเดียวแต่ละครั้ง

เราได้อ่านใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม 3 หน้า 348 นาวาสูตร ว่า พระพุทธเจ้าระหว่างที่ประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ทรงแสดงกับพระภิกษุว่าความสิ้นไปของอาสวะจะมีได้ เมื่อรู้ขันธ์ การเกิดขึ้นของขันธ์ และการดับไปของขันธ์ ซึ่งไม่สามารถที่จะถึงได้ "ด้วยการไม่รู้ (ความจริง) ไม่เห็น (ความจริง ตามความเป็นจริง) " ถ้าใครเพียงหวังเพื่อจะดับอาสวะ และเขาก็ไม่ได้อบรมเจริญความเข้าใจ อาสวะก็ไม่สามารถที่จะดับไปได้ การอบรมเจริญปัญญาเท่านั้น ที่สามารถทำให้อาสวะค่อยๆ ละคลายลงไปได้ เราได้อ่านต่อว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยนิ้วมือ หรือรอยหัวแม่มือ ของช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ ย่อมปรากฏ ด้ามมีดให้เห็น แด่ว่าช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้นั้นหารู้ไม่ว่า วันนี้ ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้วานนี้สึกไปเท่านี้วานซืนนี้สึกไปเท่านี้มีความรู้แต่เพียงว่า ด้ามมีดนั้นสึกๆ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่มีความรู้อย่างนี้ว่าวันนี้ อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วานซืนนี้สิ้นไปเท่านี้ ก็จริง แต่เธอก็รู้ว่าสิ้นไปแล้วๆ "

ความเข้าใจต้องเจริญขึ้นเป็นเวลาที่ยาวนานไม่สิ้นสุด บางคนไม่ชอบที่สติและปัญญาเจริญขึ้นอย่างช้าๆ แต่ไม่มีหนทางอื่น

ถ้าไม่มีความอดทน และพยายามที่จะรวมหนทางปฏิบัติเพื่อที่จะเริ่มให้ปัญญาเกิด ผู้นั้นก็ทำชีวิตตนให้ยาก

ข้อความนี้แปลจาก...The Natural Way of Development - Just as in the case of the knifehandle

คลิกเพื่ออ่านตอนอื่นๆ ...

ตอนที่ 1 - สมถและวิปัสนา

ตอนที่ 2 - อัตตสัญญาคืออะไร (1)

ตอนที่ 3 - อัตตสัญญาคืออะไร (2)

ตอนที่ 4 - ควรทำอะไรให้เข้าใจมากขึ้น

ตอนที่ 5 - ช่วยอธิบายหน่อยว่าระลึกอย่างไร

ตอนที่ 6 - การรวมกลุ่มวิธีปฏิบัติก็คือการหวังผล

ตอนที่ 7 - ความรู้ตามตำราและความรู้ระดับวิปัสสนาญาน

ตอนที่ 8 - ควรระลึกอย่างไร

ตอนที่ 9 - เช่นเดียวกับการจับด้ามมีด

ตอนที่ 10 - ข้อประพฤติปฏิบัติที่เป็นปรกติและไม่เป็นปรกติ

ตอนที่ 11 - ธรรมนั้นปฏิบัติกิจของตนเองตามปรกติ