วิเวก ๓ [ปริสาสูตร]
โดย wittawat  9 พ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 19995

อรรถของวิเวก

วิเวก หมายถึง การสงัดจากอกุศลธรรม ได้แก่

กายวิเวก (สงัดกาย) คือ ความสงัดของกาย หมายถึง การไม่คลุกคลีกับหมู่คณะด้วยอกุศล บางนัย ได้แก่ อัธยาศัยในการออกจากกาม

จิตวิเวก (สงัดจิต) คือ ความสงัดของจิต หมายถึง ไม่คลุกคลีติดพันด้วยอกุศลจิต ได้แก่ สมาบัติ ๘ ฌานจิตขั้นต่างๆ หรือแม้ขณะที่รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้น ก็เป็นจิตวิเวก

อุปธิวิเวก (สงัดจากอุปธิ)

อุปธิ นี้ได้แก่ สภาพที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ ทั้ง ๔ คือ กิเลส ขันธ์ กาม และ เจตนา ซึ่งไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เป็นสังขารธรรมทั้งหมด

อุปธิวิเวก หมายถึง พระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่สงัดจากสิ่งที่เป็นไปในทุกข์ สงัดจากสิ่งที่เป็นไปในกิเลส

อุปธิวิเวก เป็นความสงัดจากสังขารธรรม สงัดจากกิเลส แม้ว่าชอบอยู่คนเดียว แต่อกุศลมากมายก็ไม่ใช่กายวิเวก แต่ขณะที่กายกำลังปะปนอยู่กับหมู่ คณะ บริษัท แต่จิตกำลังรู้ลักษณะสภาพธรรม ก็เป็นขณะที่ทั้งกายวิเวก และ จิตวิเวก ได้

อ่านข้อความเตือนสติ ทั้งหมดจากปริสา สูตร.. ข้อความเตือนสติเรื่องปริสาสูตร



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ wittawat ด้วยครับ


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ wittawat ด้วยนะครับ


ความคิดเห็น 3    โดย nong  วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย เซจาน้อย  วันที่ 9 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ wittawat ด้วยครับ


ความคิดเห็น 5    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 9 พ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 6    โดย orawan.c  วันที่ 11 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณ wittawat ด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย ธุลีพุทธบาท  วันที่ 12 พ.ย. 2554

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺสฺส ฯ (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น)

ขอกราบนมัสการอย่างสูงสุด แด่พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา ในกุศลจิตของพี่ป๋องด้วยครับ

.ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.


ความคิดเห็น 8    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 5 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย Selaruck  วันที่ 1 พ.ค. 2563

กราบขอบคุณและอนุโมทนาคุณ wittawat ยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย ก.ไก่  วันที่ 13 ต.ค. 2565

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ