ไม่สบายใจครับ
โดย ธงไชย  15 มี.ค. 2562
หัวข้อหมายเลข 30555

ท่าติดสังฆาทิเสสข้อที่1 ต้องไป อยู่กรรมมั้ยครับ ท่าศึกออกไปแล้วจะติดตัวมั้ย เห็นเขาบอกว่าจะทำอะไรไม่ขึ้น แล้วท่าไปปริวาส มีที่ไหนแนะนำมั้งครับ ขอบคุณครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 16 มี.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยบัญญัติแต่ละสิกขาบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วยพระองค์เองเพื่อให้พระภิกษุได้สำรวมระวัง ไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทนั้นๆ อันจะเป็นไปเพื่อฝึกหัดกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ให้เข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะล่วงละเมิดสิกขาบท ก็ย่อมจะมีได้มาก รวมถึงต้องอาบัติสังฆาทิเสสด้วย ซึ่งเมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ต้องแก้ไขด้วย การประพฤติวุฏฐานวิธี (อยู่กรรม) ตามพระวินัย จึงจะพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้ ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาบัติหนักหรือเบา ถ้าไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว ย่อมมีโทษแก่ภิกษุรูปนั้น เป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรคผลนิพพาน และถ้ามรณภาพในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็เป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า แต่ถ้าได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เป็นเครื่องกั้น เมื่อลาสิกขาแล้ว ย่อมไม่มีอาบัติอีกต่อไป สามารถเป็นคนดี ในเพศคฤหัสถ์ได้ โดยไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องอาบัติ เพราะเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติ ไม่ใช่เพศบรรพชิตอีกต่อไป ก็ควรที่จะเป็นคนดี ควบคู่ไปกับการฟังพระธรรมให้เข้าใจ แต่ถ้ากลับเข้ามาบวชใหม่ อาบัติที่เคยต้องไว้ยังไม่ได้แก้ไขเมื่อตอนบวชครั้งก่อน กลับมาทั้งหมด ก็จะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ต่อไป ครับ ดังนั้น สึกออกไปแล้ว เป็นเพศคฤหัสถ์ จึงไม่ได้กั้นความเจริญ ตามที่เข้าใจผิดกัน ครับ


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 16 มี.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตามความเป็นจริงแล้ว การบวช เป็นเรื่องที่ยากมาก และการยินดีในการบวชก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดียวกัน ถ้าหากล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ไม่ประพฤติตามพระวินัย เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่รักษาพระวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ขาดความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ย่อมเป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเท่านั้น เมื่อต้องอาบัติแล้วไม่กระทำคืนตามพระวินัย ก็เป็นเครื่องกั้นการบรรลุมรรคผลนิพพาน กั้นการไปสู่สุคติด้วย แทนที่จะได้กระทำกิจที่ควรทำที่จะเป็นที่พึ่งสำหรับตนเอง แต่กลับไปเพิ่มอกุศล เพิ่มความไม่รู้ เพิ่มเหตุที่ไม่ดีให้กับตนเองที่จะทำให้ได้รับผลที่ไม่ดีในอนาคตข้างหน้า เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาเป็นอย่างมากทีเดียว
เมื่อไม่สามารถดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้ ไม่สามารถรักษาพระวินัยบัญญัติได้ การลาสิกขา ออกมาเป็นคฤหัสถ์ จึงเป็นสิ่งที่สมควรที่สุด ที่จะได้ไม่ทำในสิ่งที่ผิดในเพศที่สูงยิ่งอีกต่อไป ไม่ทำให้พระพุทธศาสนามัวหมอง และ ขณะนี้ เมื่อได้ลาสิกขามาเป็นคฤหัสถ์ แล้ว ไม่ใช่ภิกษุแล้ว อาบัติต่างๆ หรือ แม้แต่การที่จะไปปลงอาบัติหรือการแก้ไขตามพระวินัย ก็ไม่มีแล้วในเพศคฤหัสถ์ ครับ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 20 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ