ความหมายของจิต
โดย small  26 มิ.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 12765

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่าจิตมีในสมัยนั้น. ในนิทเทสแห่งจิต ที่ชื่อว่า จิต เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติวิจิตรชื่อว่า มโน เพราะกำหนดรู้อารมณ์. มโนนั่นแหละชื่อว่า มานัส จริงอยู่ในคาถาว่า อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวายํ จรติ มานโส เตน ตํ พาธยิสฺสามิ น เม สมณ มโนรมา (บ่วงใดมีใจไปได้ในอากาศ กำลังเที่ยวไป ข้าพระองค์จักคล้องพระองค์ไว้ด้วยบ่วงนั้น สมณะท่านไม่พ้นเรา) นี้ตรัสเรียกธรรมคือราคะที่สัมปยุตด้วยใจว่า มานัส. พระอรหัต ก็ตรัสว่า มานัส แต่ในนิทเทสนี้ มโนนั่นเองชื่อว่า มานัส เพราะท่านทำบทให้เจริญด้วยพยัญชนะ. คำว่า หทัยอธิบายว่า อก ท่านเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่าเราจักขว้างจิตของท่านไป หรือจักผ่าหทัยของท่านเสีย. จิตเรียกว่า หทัย ในประโยคนี้ว่า หทยา หทยํ มญฺเญอญฺญาย ตจฺฉติ (บุตรช่างทำรถย่อมถากไม้เหมือนจะรู้ใจด้วยใจ) หทัยวัตถุเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่า วกฺกํ หทยํ (ม้าม หัวใจ) แต่ในนิทเทสนี้ จิตเท่านั้นเรียกว่า หทัย เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน. จิตนั้นแหละชื่อว่า ปัณฑระ เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์. คำว่า ปัณฑระ นี้ หมายเอาภวังคจิต เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ดังนี้ อนึ่ง แม้กุศลก็ตรัสเรียกว่า ปัณฑระเหมือนกัน เพราะออกจากจิตนั้น เหมือนแม่น้ำคงคาไหลมาจากแม่น้ำคงคา และแม่น้ำโคธาวรีไหลมาจากแม่น้ำโคธวรี ฉะนั้น.



ความคิดเห็น 1    โดย small  วันที่ 26 มิ.ย. 2552
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

ส่วนศัพท์มโน ในที่นี้ว่า มโน มนายตนํ ดังนี้ เพื่อแสดงมโนนั่นเองว่า เป็นอายตนะ. ด้วยคำว่า มโน มนายตนํ นั้น จึงแสดงบทว่ามโนนั้น. มโนนี้ชื่อว่า มนายตนะ เพราะเป็นอายตนะแห่งใจนั่นแหละ เหมือนคำว่า เทวายตนํ นี้หามิได้ โดยที่แท้อายตนะ คือ มโนนั่นแหละ ชื่อว่ามนายตนะ ในคำว่า มนายตนะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อายตนะเพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิด เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่าเป็นการณะ. ธรรมชาติที่ชื่อว่า วิญญาณ เพราะย่อมรู้แจ้ง ขันธ์คือวิญญาณนั่นแหละเรียกว่า วิญญาณขันธ์ พึงทราบเนื้อความแห่งวิญญาณขันธ์นั้น ด้วยอำนาจความเป็นกองเป็นต้น.คำว่า ตชฺชมโนวิญฺญาณธาตุ ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่ธรรม มีผัสสะเป็นต้น เหล่านั้น. จริงอยู่ ในบทนี้จิตดวงเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวชื่อไว้๓ อย่าง คือ ชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่ากำหนดอารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง ชื่อว่าธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ หรือเพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์.

ความคิดเห็น 2    โดย suwit02  วันที่ 29 มิ.ย. 2552

สาธุ