รู้จักตัวเอง
โดย คุณสงสัย  14 ส.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9570

1."รู้จักตัวเอง" ในทางธรรมะ แท้จริงแล้วคืออย่างไร

2.เหตุใดการเจริญกุศลขั้นทาน ศีล สมถภาวนา จึงยังไม่ชื่อว่า "รู้จักตัวเอง"

3.เหตุใดจึงกล่าวว่า การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ทำให้ "รู้จักตัวเอง" รู้จักอย่างไร

4.ผู้ใดจึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ "รู้จักตัวเอง" ดีที่สุด เพราะเหตุใด

5.ผู้ที่ไม่รู้จักตัวเองในทางธรรมะ จะก่อให้เกิดโทษอย่างไร



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 14 ส.ค. 2551
๑ ,๒, ๓,คำว่า "รู้จักตัวเอง" ในทางธรรมะน่าจะมีคำนิยามหลายๆ อย่าง เท่าที่พบเป็นคุณธรรมของสัปบุรุษหรือพระอริยบุคคลเลยทีเดียว เช่น ในธัมมัญญูสูตร อังคุตตรนิกายสัตตกนิบาต อธิบายการรู้จักตนบาลีคือ อัตตัญญู มีข้อความโดยย่อว่า ... ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม รู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเพียงเท่านี้.... จากข้อความที่ยกมาการรู้จักตัวเองหมายถึงปัญญาที่รู้ธรรมะในตน ไม่ใช่ขั้นทั่วๆ ไป เป็นระดับภาวนา ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานย่อมเป็นหนทางให้รู้แจ้งธรรมะ เป็นพระอริยะ จึงชื่อว่าทำให้รู้จักตน ๔. ขั้นสูงสุดผู้ที่รู้จักตนเองควรจะเป็นพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ๕. ผู้ที่ไม่รู้จักตนเองชื่อว่าเป็นผู้หลง หลงลืมสติ เป็นอกุศลจิต มีโทษ ให้ผลเป็นทุกข์

ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 14 ส.ค. 2551

1.จิตเป็นกุศลก็รู้ว่าจิตเป็นกุศล จิตเป็นอกุศลก็รู้ว่าจิตเป็นอกุศล สติเกิดก็รู้ว่าสติเกิด ฯลฯ

2.เพราะยังยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราให้ทาน เป็นเรารักษาศีล เป็นเราภาวนาค่ะ

3.ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานเป็นปกติก็รู้ว่าหนทางนี้นำสู่ไปสู่การดับกิเลสค่ะ

4.พระพุทธเจ้า และสาวกของพระองค์ รวมถึงผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐานค่ะ

5.ผู้ที่หลงลืมสติ ทำให้เป็นผู้หลงทำกาละ ตายไปเกิดในอบายภูมิ ฯลฯ


ความคิดเห็น 3    โดย paderm  วันที่ 14 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

1.ถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมก็อาจเข้าใจเองว่าเป็นคนดีแล้ว แต่เมื่อศึกษาพระธรรมปัญญาเจริญขึ้น ก็เริ่มเข้าใจโดยปัญญาขั้นการฟังว่ามีกิเลสมาก อย่างนี้ชื่อว่ารู้จักตัวเองจริงๆ หรือยัง ที่กล่าวว่ามีกิเลสมาก ขณะไหนมีกิเลส ก็ยังไม่รู้ ดังนั้นการรู้จักตัวเอง ตังเองก็คือสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป รู้จักตัวเองหรือยังว่า ไม่มีตัวเอง มีแต่ธรรม เมื่อรู้ว่า เป็นธรรม แทนความเข้าใจว่าเป็นตัวเอง นี่ชื่อว่าการรู้จักตัวเองจริงๆ อันหมายถึง การรู้ความจริงชื่อว่ารู้จักตัวเองด้วยปัญญา

2.กุศลขั้น ทาน ศีล สมถภาวนา ยังไม่รู้จักตัวเองจริงๆ เพราะยังยึดว่าเป็นเรา เพราะตัวเองไม่มี มีแต่ธรรม

3.สติปัฏฐานทำให้รู้จักตัวเอง เพราะสติปัฏฐานเป็นการรู้ความจริงของสภาพธรรมว่า ขณะสภาพธรรมใดเกิดขึ้น เช่นเห็น เคยเข้าใจว่าเป็นเราที่เห็น ขณะนั้นสติปัฏฐานเกิดรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา รู้จักตัวจริงของสภาพธรรม และเมื่อปัญญาละเอียดขึ้น สติปัฏฐานก็รู้ความจริงมากขึ้นว่าโลภะเป็นโลภะ เมื่อโลภะเกิดขึ้นเพราะมีลักษณะให้รู้ ไม่หลอกตัวเองว่า เป็นสภาพธรรมอื่นๆ ครับ


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 14 ส.ค. 2551

4.ผู้ที่มีปัญญารู้ความเป็นจริงของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ไม่ว่าใคร ชื่อว่าเป็นผู้ รู้จักตัวเองเพราะรู้ตามความเป็นจริง แต่ก็ตามระดับปัญญาที่จะทำให้รู้จักตัวเอง

5.ผู้ไม่รู้จักตัวเองคือผู้ไม่รู้ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ก็ย่อมทำอกุศลต่างๆ มากมายและก็ ย่อมวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะหลงยึดถือในสิ่งที่เห็น ได้ยิน ..คิดนึกว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ไม่รู้ตามความเป็นจริง

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 5    โดย pornpaon  วันที่ 15 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย khampan.a  วันที่ 16 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนา ครับ