ขันธ์ กับ อุปทานขันธ์
โดย SOAMUSA  6 มิ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 18489

ขอเรียนอธิบาย ขันธ์ กับ อุปทานขันธ์ และการอบรมเจริญสติปัฏฐานอบรมเจริญ

วิปัสสนารู้จักขันธ์ตามความเป็นจริงอย่างไรค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 6 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขันธ์ 5 คือสภาพธรรมที่มีจริง อันเป็นสภพาธรรมที่ว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคลตัวตน

ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ นั่นคือสภาพธรรมที่มีจริง

ทั้งหมดที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม

ส่วนอุปาทานขันธ์ 5 คือ สภาพธรรมที่เป็นขันธ์ 5 เช่นกัน แต่เป็นที่ตั้งที่ยึดถือของ

โลภะ เป็นต้น จึงเป็นอุปาทานขันธ์ 5 ซึ่งก็คือสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด เว้นแต่

โลกุตตรธรรมครับ ซึ่ง โลภะไม่สามารถติดข้องได้ ไม่สามารถยึดถือได้ จึงไม่เป็น

อุปาทานขันธ์ 5

ขันธ์หรือสภาพธรรมที่เป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนาหรือสติปัฏฐาน ก็คือ

สภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังมีกำลังปรากฎในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปขันธ์ แต่รูป มี

28 รูปก็ต้องเป็นรูปที่ปรากฏในชีวิตประจำวันและมีลักษณะของตนเอง ที่ท่องเที่ยว

ไปในชีวิตประจำวัน คือ โคจรรูป คือ สี (สิ่งที่ปรากฎทางตา) เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน

อ่อนแข็ง ตึงไหว เป็น 7 รูป ที่ปรากฎในชีวิตประจำวันที่ปัญญาสามารถพอจะรู้ได้

คือ เป็นอารมณ์ของการเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้นครับ ส่วนรูปที่เหลือเมื่อไม่ปรากฎ

ก็ไม่สามารถรู้ได้ แต่หากผู้มีปัญญามากก็สามารถรู้รูปละเอียดได้ ดังนั้น อารมณ์ของ

วิปัสสนาที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้นก็มีรูปที่พอรู้ได้ในชีวิตประจำวันครับ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 6 มิ.ย. 2554

เวทนา ความรู้สึกก็เป็นสิ่งที่มีจริงเพราะมีลักษณะ ก็เป็นอารมณ์หรือเป็นสิ่งที่ปัญญา

ที่เป็นการเจริญวิปัสสนารู้ได้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา สัญญาเป็นสิ่งที่มีจริง ปัญญาสามารถ

รู้ได้ สังขาร คือสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง มีเจตสิก 50 ดวง ซึ่งก็สามารถรู้ได้เพราะเป็นสิ่ง

ที่มีจริง แต่ก็แล้วแต่ว่าสภาพธรรมใดจะปรากฎให้รู้และสติจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพ

ธรรมอะไร ส่วนวิญญาณก็คือจิตทั้งหมด เป็นสิ่งที่มีจริง แต่โลกุตตรจิต ไม่ใช่อารมณ์

ของสติปัฏฐาน ไม่ใช่อารมณ์ของการเจริญวิปัสสนาครับ เพราะไม่ได้ปรากฎในชีวิต

ประจำวัน เป็นต้น

สรุปคือ สิ่งใดที่มีจริงที่มีลักษณะ เป็นอารมณของสติปัฏฐานหรือวิปัสสนาได้ แต่ก็

ต้องเข้าใจว่าไม่มีตัวตนที่จะไปเลือก จะไปรู้ลักษณะของสภาพธรรมใด ก็แล้วแต่สติว่า

จะเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดครับ และที่สำคัญหากสภาพธรรมใดไม่ปรากฎกับ

สติ ไม่สามารถที่จะรู้ได้ก็จะไปพยายามรู้สิ่งนั้นก็ไม่สามารถรู้ได้ และไม่ใช่สติแต่เป็น

ความต้องการครับ


ความคิดเห็น 3    โดย paderm  วันที่ 6 มิ.ย. 2554

การรู้จักขันธ์ ตามความเป็นจริงจึงไม่ใช่การจำชื่อได้ พูดได้ แต่ขณะนี้กำลังมีขันธ์

เช่น มีจิตเห็น เข้าใจถึงลักษณะของขันธ์ แต่ละขันธ์หรือไม่หรือจิตเห็นหรือไม่ ดังนั้น

หนทางในการอบรมปัญญา คือเข้าใจความจริงของสภาพธรรมทีเป็นขันธ์ที่ว่างเปล่า

จากความเป็นสัตว์ บุคคล เพราะขันธ์คือสภาพธรรมที่มีลักษณะ เมื่อสติและปัญญารู้

ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ที่เป็นขันธ์ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงว่าไม่มีเรา

มีแต่ธรรมเพราะขณะนั้นมีแต่ธรรมที่ปรากฎกับสติและปัญญาเท่านั้น ไม่มีความทรงจำ

ว่ามีสัตว์ บุคคลสิ่งต่างๆ เลยครับ เพราฉะนั้นอาศัยการฟังพระธรรมในหนทางที่ถูก

ย่อมรู้จักขันธ์ตามความเป็นจริงเพื่อไถ่ถอนความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลและถึงการ

ดับกิเลสได้ครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย SOAMUSA  วันที่ 7 มิ.ย. 2554

กราบขอบพระคุณค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านค่ะ

ขอความกรุณาอธิบาย อภิญญากุศลจิต1 และ อภิญญากริยาจิต1

ให้เข้าใจด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย paderm  วันที่ 7 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

อภิญญาจิตเป็นจิตพิเศษของผู้ที่อบรมฌานจิตทั้งรูปฌานและอรูปฌานจน

ชำนาญซึ่งเมื่อไ้ด้อภิญญาก็สามารถแสดงฤทธิ์ มีความสามารถพิเศษได้

อภิญญาจิต มี 2 ประเภทคือ อภิญญากุศลจิต1 และ อภิญญากริยาจิต1

อภิญญากุศลจิต เป็นจิตพิเศษของผู้ที่อบรมฌานจิตทั้งรูปฌานและอรูปฌานจน

ชำนาญ และเข้าอภิญญา เป็นอภิญญาจิตที่เป็นกุศลอันเป็นของปุถุชนจนถึงพระ

อนาคามีครับ

อภิญญากิริยาจิต เป็นจิตพิเศษของผู้ที่อบรมฌานจิตทั้งรูปฌานและอรูปฌานจน

ชำนาญและเข้าอภิญญา เป็นอภิญญาจิตของพระอรหันต์ ดับกิเลสแล้ว อภิญญาจิต

นั้นจึงไม่เป็นกุศล แต่เป็นกิริยาจิต เป็นอภิญญากิริยาจิตครับ เพราะพระอรหันต์มี

ชาติของจิตคือ วิบากและกิริยา จะไม่เป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิตเลยครับ ดังนั้น

อภิญญาของท่าน เวลาเกิด เวลาแสดงฤทธิ์ก็เป็นอภิญญากิริยาจิตครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 6    โดย SOAMUSA  วันที่ 7 มิ.ย. 2554

กราบขอบพระคุณค่ะ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านค่ะ

ขอเรียนถามเรื่อง กิเลส1500 คือ อารมณ์150 คุณ กิเลส10

ในอารมณ์150 นั้น นามเตปัญญาสะ คือ นามธรรม53 (จิต1 เจตสิก52) ซึ่งในเจตสิก 52 นั้น

มีโสภณเจตสิก25 ทำไมไม่เว้นค่ะ นับรวมเป็นกิเลส1500 ได้อย่างไรค่ะ

ขอความกรุณาช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย wannee.s  วันที่ 7 มิ.ย. 2554

เรื่องกิเลส เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ กิเลส 1500


ความคิดเห็น 8    โดย wannee.s  วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ธรรมทุกอย่าง ทั้งนามธรรม รูปธรรม สามารถเป็นอารมณ์ที่จะให้สติระลึกได้

แล้วแต่เหตุปัจจัยหลายอย่าง และอยู่ที่การอบรมสติสัมปชัญญะของแต่ละคนค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย khampan.a  วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเรียน ความคิดเห็นที่ ๖ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับประโยชน์ของการศึกษากิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 10    โดย SOAMUSA  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

ดิฉันอาจจะสงสัยเรื่่องเจตสิกมากไปที่่ว่า เจตสิกที่เป็นโสภณ 25

ทำไมนำมารวมครบหมด ในกิเลส 1500

คือ จิต1 เจตสิก52 ตัวนี้แหละค่ะ มีโสภณเจตสิกอยู่ด้วย25

ดิฉันอาจจะขี้สงสัยไปหน่อย ต้องขออภัยด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย paderm  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

ที่รวมโสภณเจตสิก อีก 25 อีกนัยหนึ่งคือเป็นที่ตั้ง เป็นอารมณ์ของกิเลสได้

แม้ธรรมฝ่ายดีก็เป็นอารมณ์ของกิเลสได้ครับ อันเป็นภายในครับ ท่านกล่าวโดยรวมครับ


ความคิดเห็น 12    โดย SOAMUSA  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์เผดิมค่ะ

กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ หายข้องใจสงสัยแล้วค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย ลุงหมาน  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขอร่วมวงสนทนาและขอเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนด้วยครับ

โสภณสาธารณเจตสิก 25 ประกอบกับจิตที่เป็นฝ่ายกุศลอย่างเดียว

จิตที่เป็นฝ่ายกุศลนั้นยังแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ โลกียะจิต กับ โลกุตตรจิต

ส่วนที่เป็นกุศลโลกียะจิตนั้นยังเป็นอารมณ์ของกิเลสได้ เช่น

อยากทำกุศล หรืออยากทำฌาณให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เป็นต้น

ส่วน โสภณสาธารณเจตสิก 25 ที่ประกอบจิตที่เป็นโลกุตตรจิตนั้น

จะไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสได้เลย (ผิดถูกยังไงช่วยทักท้วงด้วยครับ)

ขออนุโมทนาในกุศลจิต


ความคิดเห็น 14    โดย SOAMUSA  วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียน ลุงหมานค่ะ

ที่หนูพอเข้าใจได้คือ เคยฟังพระอาจารย์สอนว่า ในขณะที่เราอธิษฐาน

ขอถึงซึ่งมรรค ผลนิพพานนั้น เรามีความโลภะเกิดขึ้นด้วย คือความปราถนา

เมื่อเข้าถึงพระนิพพานแล้วนั้น เราก็จะตัดโลภะตัวนี้ได้ในที่สุด

แต่เบื้องต้นเราอาศัยโลภะ คือความปราถนาพระนิพพานเป็นตัวนำไปก่อน

เคยฟังพระอาจารย์สอนมาแบบนี้เหมือนกันค่ะ ทำให้นึกเข้าใจได้ค่ะ

ผิดถูกประการใด ตรงกับที่ อ.เผดิม ชี้แจงหรือไม่ ต้องขอคำแนะนำด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย paderm  วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 14 ครับ

การอธิษฐาน ทีเป็นบารมี ไม่ใช่โลภะครับ ดังนั้น ไม่ใช่โลภะจะทำให้ถึงการบรรลุได้ แต

เพราะอาศัยปัญญาจึงบรรลุได้ครับ ดังนั้นโลภะไม่ใช่เหตุการบรรลุ อธิษฐานบารมีก็ต้อง

เป็นไปในฝ่ายกุศลครับ


ความคิดเห็น 16    โดย SOAMUSA  วันที่ 10 มิ.ย. 2554

เรียน อ.เผดิม ค่ะ

คือดิฉันได้รับคำอธิบาย มาจากบุคคล 2 ท่าน ท่านแรกกล่าวอย่าง คห.15

ท่านที่สองกล่าวแบบ คห.14 ดิฉันก็เลยครึ่งกลางว่า อะไรหว่าคือข้อความที่

ถูกต้อง พอมาฟังอธิบายเรื่อง โสภณเจตสิก25 ทำไมรวมไปคิดเป็นกิเลส1500

เหตุผลนี้จึงถูกนำมาเข้าใจ ในเรื่องคำอธิษฐานในมรรคผลนิพพาน

ทำให้ความเข้าใจดิฉันจึงคิดว่าใช่เกี่ยวกับ โสภณจิต25 ที่กล่าวโดยรวมไว้

ในกิเลส1500

ยังงั้นละก็ ดิฉันก็คงไม่เข้าใจ คห.11 ที่อาจารย์เผดิม กล่าวไว้อย่างแน่นอนค่ะ

และกราบขออภัยลุงหมาน ที่นำความเข้าใจที่รู้มาผิดพลาด มากล่าวอธิบายถึงความ

เข้าใจของตัวดิฉันค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ