ท่านั่งขัดสมาธิใต้ต้นโพธิ์ของพระพุทธองค์
โดย medulla  22 ธ.ค. 2549
หัวข้อหมายเลข 2512

ท่านั่งขัดสมาธิที่พระพุทธองค์ทรงนั่งใต้ต้นโพธิ์ จนตรัสรู้ พอดีเพื่อนถามว่า ไม่ให้นั่งสมาธิได้อย่างไร เพราะพระพุทธองค์ท่านก็ทรงนั่งสมาธิจนบรรลุ ขอเรียนถามว่าท่านั่งขัดสมาธินี้ พระพุทธองค์ท่านทรงเข้าฌานอยู่ในขณะบรรลุ หรือว่าพิจารณาสภาพธรรมจนบรรลุในขณะขณิกสมาธิปกติ (โดยท่านั่งไม่ได้เกี่ยวเลย)



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 22 ธ.ค. 2549

สำหรับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นบุคคลพิเศษคือ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงสมบูรณ์ทุกอย่าง ก่อนจะตรัสรู้พระองค์บรรลุฌานอภิญญาเมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงธรรมสอนหมู่สัตว์ให้ได้ตรัสรู้ตาม พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น ทรงแสดงตามอัธยาศัยของผู้ฟังในยุคนั้นมีบุคคลจำนวนมากบรรลุธรรมขณะนั่งฟังพระธรรม และไม่มีข้อความใดที่สอนให้อุบาสกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ไปนั่งสมาธิ เพราะฉะนั้น ในฐานะเราเป็นพุทธบริษัทมีพระรัตน์ไตรเป็นสรณะที่พึ่ง เราควรศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจอย่างละเอียดเพื่อเป็นเครื่องเทียบเคียงว่า คำสอนใด ตรงกับหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะถ้าเพียงนั่งสมาธิ ย่อมไม่ทำให้เกิดปัญญา และย่อมทำให้ไม่เข้าใจหลักธรรมคำสอนที่แท้จริง และอาจหลงผิดเข้าใจผิดในข้อปฏิบัติได้ เมื่อเข้าใจผิดและปฏิบัติผิด ย่อมไม่อาจบรรลุธรรมได้เลย อีกอย่างหนึ่งการบรรลุธรรม ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ท่านั่ง แต่ขึ้นอยู่ที่ปัญญาที่รู้ความจริงต่างหาก


ความคิดเห็น 2    โดย medulla  วันที่ 22 ธ.ค. 2549
กราบขอบพระคุณค่ะ ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 3    โดย pornpaon  วันที่ 23 ธ.ค. 2549

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 24 ธ.ค. 2549

ปัญญาไม่เลือกอิริยาบถ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม สติและปัญญาก็สามมารถเกิดได้ เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เหมือนอย่างตอนโทสะเกิด โทสะเลือกอิริยาบถไหมครับ ก็เกิดได้หมดฉันใด ปัญญาก็เป็นสภาพธัมมะอย่างหนึ่งที่มีจริงเหมือนกับโทสะ ที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็สามารถเกิดได้ทุกอิริยาบถครับ ดังตัวอย่างที่จะยกในพระไตรปิฎก ของการบรรลุธัมมะว่าท่านอยู่ในอิริยาบถไหน เพื่อนๆ ลองอ่านดู นะ

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑- หน้าที่ 361

ข้อความบางตอนจาก ....

อาตุมเถรคาถา

บทว่า ปพฺพชิโตมฺห ทานิ ความว่า พระเถระประกาศความยินดี ในการออกบวชของตนว่า ก็บัดนี้ ข้าพเจ้าบวชแล้ว คือการที่ข้าพเจ้าบวชแล้ว นั้น เป็นการดีคือดีแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง พระเถระบอกแก่มารดาว่า ข้าพเจ้าไม่ยินดี จึงออกบวชในบัดนี้. ก็ในบาทคาถานี้ มีอธิบายดังนี้ แม้ถ้าโยมมารดาไม่ยินยอมในตอนต้น แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าก็ได้บวชแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจงยินยอมอนุญาต เพื่อให้ข้าพเจ้าดำรงอยู่ในสมณภาพนั่นแล. ก็เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้ ทั้งๆ ที่ยืนอยู่นั่นแหละ เจริญวิปัสสนา ยังกิเลสให้สิ้นไปตามลำดับแห่งมรรค ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว.


ความคิดเห็น 5    โดย wannee.s  วันที่ 30 ธ.ค. 2549

ขออนุโมทนาทุกท่านที่มีจิตเป็นกุศลให้ธรรมทาน


ความคิดเห็น 6    โดย chatchai.k  วันที่ 1 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 31 ม.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ