มานะ และ การเปรียบเทียบ...ต่างกันอย่างไร?
โดย พุทธรักษา  16 เม.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 11967

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรมที่เขาเต่า๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านอาจารย์ เราไม่เก่งเท่าเขา เป็นการเปรียบเทียบ
ท่านผู้ฟัง ไม่ใช่การชูธง มันจะเป็นอะไร
ท่านอาจารย์ ธงเล็กๆ ของเรา อยู่ข้างใน ตัวธงอยู่นี่ มันต้องมี "ความสำคัญตน"
ท่านผู้ฟัง (เช่น) นึกว่า ลำใย ที่มาจากเชียงใหม่ สีคล้ำสู้อันนี้ไม่ได้
ท่านอาจารย์ อันนี้ ไม่ใช่ "มานะ" เป็นการเปรียบเทียบ เท่านั้น "มานะ" ต้องเรา หรือ ตัวเรา
ท่านผู้ฟัง พี่บอกว่า ชายทะเลที่เขาเต่า สวยกว่าชายทะเลที่สเปญ
ท่านอาจารย์ พี่ ... มี "ความสำคัญตน" ใน "เขาเต่าของพี่" ... หรือเปล่า ถ้าพี่พูด โดยการวินิจฉัยตามธรรมดา ที่เป็นการเปรียบเทียบว่า ทะเลตรงนี้ เป็นอย่างไร ทะเลตรงนั้น เป็นอย่างไร นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนที่แฝงมา "ด้วยความเป็นเรา" นั้นจริงๆ แล้ว โดยสากล ก็คือว่า ทุกคน มีตา มีหู ฯ เหมือนกันหมดมีรัก มีทุกข์ มีสุข ฯ เหมือนกันหมดเพราะฉะนั้น ที่จะมาส่งเสริมกัน ว่า "เป็นของเรา"ก็เป็นการส่งเสริม ที่ไม่ถูกต้อง สิ่งไหนดี ก็รับสิ่งนั้น อันนี้ถูกแต่ "นี่ดี (เพราะว่า) นี่ "ของเรา"กลายเป็นว่า "ของคนอื่น" ไม่ดี
จากข้อความข้างต้น ... ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะขอเรียนถามว่า เพราะเหตุใด ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า "เราไม่เก่งเท่าเขา คือ การเปรียบเทียบ" ไม่ใช่ ความสำคัญตน ละคะ.?

... ขออนุโมทนาค่ะ ...



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 16 เม.ย. 2552

ก่อนอื่นต้องแยกประโยคที่ว่า เราไม่เก่งเท่าเขา เป็นการเปรียบเทียบ กับ ประโยคที่ว่า นึกว่า ลำใย ที่มาจากเชียงใหม่ สีคล้ำสู้อันนี้ไม่ได้ ทั้งสองประโยคนี้ต่างกัน ประโยคแรก เป็นการเปรียบเทียบ และเป็นมานะด้วย ประโยค ที่สอง เป็นการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่า ไม่ใช่มานะ


ความคิดเห็น 2    โดย suwit02  วันที่ 18 เม.ย. 2552

สาธุ


ความคิดเห็น 3    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 20 เม.ย. 2552

อนุโมทนาคะ


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ