สละดวงตา [สิวิราชจริยา]
โดย JANYAPINPARD  3 มี.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 11424

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 128-130

๘. สิวิราชจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าสีวิราช

[๘] ในกาลเมื่อเราเป็นกษัตริย์พระนามว่าสิวิ อยู่

ในพระนครอันมีนามว่าอริฏฐะ เรานั่งอยู่ใน

ปราสาทอันประเสริฐ ได้ดำริอย่างนี้ว่า ทาน

ที่มนุษย์ฟังให้อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เราไม่ได้ให้

แล้วไม่มี แม้ผู้ใดพึงขอจักษุกะเรา เราก็พึงให้

ไม่หวั่นใจเลย ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าทวย-

เทพ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ประทับ-

นั่งในเทพบริษัท ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า พระเจ้า

สิวิผู้มีฤทธิ์มาก ประทับนั่งในปราสาทอันประ-

เสริฐ พระองค์ทรงดำริถึงทานต่างๆ ไม่ทรง

เห็นสิ่งที่ยังมิได้ให้ ข้อนั้นจะเป็นจริงหรือไม่

หนอ ผิฉะนั้น เราจักทดลองพระองค์ดู ท่าน

ทั้งหลายพึงคอยอยู่สักครู่หนึ่ง เพียงเรารู้น้ำใจ

ของพระเจ้าสิวิเท่านั้น ท้าวสักกะจึงทรงแปลง-

เพศเป็นคนตาบอด มีกายสั่น ศีรษะหงอก

หนังหย่อน กระสับกระส่ายเพราะชรา เข้าไป

เฝ้าพระราชาในกาลนั้น อินทพราหมณ์นั้นประ-

คองพระพาหาเบื้องซ้ายขวา ประนมกรอัญชลี

เหนือเศียร ได้กล่าวคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหา-

ราชาผู้ทรงธรรม ทรงปกครองรัฐให้เจริญ ข้า-

พระองค์จงขอกะพระองค์ เกียรติคุณคือความ

ยินดีในทานของพระองค์ ขจรไปในเทวดา

และมนุษย์ หน่วยตาแม้ทั้งสองของข้าพระองค์

บอดเสียแล้ว ขอจงพระราชทานพระเนตรข้าง

หนึ่งแก่ข้าพระองค์เถิด แม้พระองค์จักทรงยัง

อัตภาพให้เป็นไปด้วยพระเนตรข้างหนึ่ง เรา

ได้ฟังคำของพราหมณ์แก่นั้นแล้ว ทั้งดีใจและ

สลดใจประคองอัญชลี มีปีติและปราโมทย์

ได้กล่าวคำนี้ว่า เราคิดแล้วลงจากปราสาทมา

ถึงที่นี้บัดนี้เอง ท่านรู้จิตของเราแล้ว มาขอ

นัยน์ตา โอ ความปรารถนาของเราสำเร็จแล้ว

ความดำริของเราบริบูรณ์แล้ว วันนี้ เราจักให้

ทานอันประเสริฐ ซึ่งเราไม่เคยให้ แก่ยาจก

มานี่แน่ะหมอสิวิกะ จงขมีขมัน อย่าชักช้า

อย่าครั่นคร้าม จงควักนัยน์ตาแม้ทั้งสองข้าง

ออกให้แก่วณิพกนี้ เดี๋ยวนี้ ทมอสิวิกะนั้น

เราเตือนแล้ว เชื่อฟังคำของเรา ได้ควักนัยน์-

ตาทั้งสองออกดุจจาวตาลให้แก่ยาจกทันที เมื่อ

เราจะให้ก็ดี กำลังให้ก็ดี ให้แล้วก็ดี จิตของ

เราไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุแห่งพระโพธิ-

ญาณนั้นเอง จักษุทั้งสองเราจะเกลียดชังก็หา

มิได้ แม้คนเราก็มิได้เกลียดชัง แต่พระสัพ-

พัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น เราจึงได้

ให้จักษุ ฉะนี้แล.

จบ สิวิราชจริยาที่ ๘