การสมาคมกับสัตบุรุษ
โดย wannee.s  25 ก.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 4358

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 365
๑. สิวสูตร

ว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ

สิวเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของ พวกสัตบุรุษแล้ว ก็เป็นคนดี ไม่เป็น คนชั่ว บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของ พวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมได้ปัญญา ไม่ได้ อย่างอื่น บุคคลควรสมาคมกับพวกสัต- บุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับ พวกสัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรม ของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ท่ามกลางความเศร้าโศก บุคคลควร สมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำ ความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้ ทั่ว ถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ท่ามกลางหมู่ญาติ บุคคลควร สมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำ ความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ เหล่าสัตว์ รู้ทั่ว ถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมถึงสุคติ บุคคลควรสมาคมกับพวก สัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับ พวกสัตบุรุษ เหล่าสัตว์รู้ทั่วถึงพระสัทธรรม ของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมดำรงอยู่ได้ ยั่งยืน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ตอบสิวเทวบุตร ด้วยพระคาถาว่า บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงสัทธรรมของพวก สัตบุรุษแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง



ความคิดเห็น 2    โดย natnicha  วันที่ 25 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย aditap  วันที่ 25 ก.ค. 2550
สัตบุรุษต้องมีคุณธรรมเช่นไรคับ?

ความคิดเห็น 4    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 25 ก.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สัตบุรุษ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยคุณธรรมฝ่ายดี สัตบุรุษ ก็หมายถึง บัณฑิตก็ได้ครับ ซึ่งมีคุณธรรมดังนี้

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

ข้อความบางตอนจาก

มูลปริยายสูตร

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวกก็ดี เป็นทั้งพระอริยะ และสัตบุรุษ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลใดแล เป็นนักปราชญ์ ผู้กตัญญูกตเวที เป็น กัลยาณมิตร มีความภักดีมั่น กระทำการช่วยเหลือ ผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยความเต็มใจ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้เช่นนั้นว่า สัตบุรุษ ดังนี้


ความคิดเห็น 5    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 25 ก.ค. 2550

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ข้อความบางตอนจาก

พาลบัณฑิตสูตร

[๔๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ เครื่องหมาย เครื่องอ้างว่า เป็นบัณฑิตของบัณฑิตนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตในโลกนี้มักคิดความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี มักทำการทำที่ดี ถ้า บัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ดี พูดคำพูดที่ดี และทำการทำที่ดี บัณฑิต พวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่าผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัตบุรุษ เพราะบัณฑิตมักคิด ความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี และมักทำการทำที่ดี ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ ด้วยว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัตบุรุษ


ความคิดเห็น 6    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 25 ก.ค. 2550

[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 282

ข้อความบางตอนจาก

อกิตติชาดก

[๑๘๑๘] ข้าแต่ท่านกัสสปะ นักปราชญ์ได้ กระทำอะไรให้แก่ท่านหรือ ท่านจงบอกเหตุนั้นแก่โยม เพราะเหตุไร ท่านจึงปรารถนาเห็นนักปราชญ์

[๑๘๑๙] นักปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ย่อมไม่ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำดีเป็น ความดีของนักปราชญ์นั้น นักปราชญ์นั้น ผู้อื่นกล่าว ชอบก็ไม่โกรธ ย่อมรู้จักวินัย การสมาคมคบหากัน กับนักปราชญ์นั้นเป็นความดี


ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 7    โดย wannee.s  วันที่ 26 ก.ค. 2550

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 387

ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน ความอยู่ร่วมกับ พวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือนความอยู่ร่วม ด้วยศัตรู ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือน สมาคมแห่งญาติ เพราะฉะนั้น แล ท่านทั้งหลาย จงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมี ปัญญาทั้งเป็นพหูสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็น อริยบุคคล เป็นสัตบุรุษมีปัญญาดี เช่นนั้น เหมือน พระจันทร์ ซ่องเสพคลองแห่งนักขัตฤกษ์ ฉะนั้น


ความคิดเห็น 8    โดย olive  วันที่ 27 ก.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 9    โดย อิสระ  วันที่ 27 ก.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 10    โดย chatchai.k  วันที่ 8 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ