อธรรม หมายถึงอะไรครับ
โดย Titi  13 ม.ค. 2563
หัวข้อหมายเลข 31446

ธรรมะ คือ สิ่งที่มีจริง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เกิด ดับ มีทั้งที่เป็น กุศล อกุศล ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล มีความหมายเหมือน กับ ธาตุ แล้วคำว่า อธรรม ควรเท่ากับ อธาตุ ด้วยหรือเปล่าครับ หมายถึงอะไรครับ



ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 13 ม.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า ธาตุ มีความหมายว่า สภาพที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน เป็นธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ตามข้อความจากสารัตถปกาสินี อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ธาตุสูตร ว่า ความที่ธรรมมีสภาพต่างกัน ได้ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ (มีจริงๆ ) กล่าวคือ มีอรรถว่า มิใช่สัตว์ และ มีอรรถว่า เป็นของสูญ (ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน) ดังนี้ ชื่อว่า ความต่างแห่งธาตุ


พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ตลอด ๔๕ พรรษา เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อปัญญาโดยตลอด เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ซึ่งมีแล้ว แต่ไม่รู้ ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครสามารถทำอะไรให้เกิดขึ้นได้เลย ทุกขณะเป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น เวลาที่กล่าวถึงธาตุ ก็คือ สิ่งที่มีจริงๆ และเป็นธรรม ด้วย เพราะธาตุกับธรรมมีความหมายอย่างเดียวกัน สิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ก็คือ แต่ละหนึ่งไม่ได้ปะปนกันเลย มีจริง แต่หลากหลายต่างกัน เช่น ความโกรธ เป็นอย่างหนึ่ง ความติดข้องยินดีพอใจ เป็นอย่างหนึ่ง ศรัทธา เป็นอย่างหนึ่ง ความละอาย เป็นอย่างหนึ่ง ความเข้าใจถูกเห็นถูกเป็นอย่างหนึ่ง รูปแต่ละรูป เป็นแต่ละหนึ่ง เป็นต้น


คำว่า อธมฺม มาจากคำว่า (ไม่ใช่) กับคำว่า ธมฺม (ธรรม ซึ่งคำว่า ธรรม ในที่นี้ หมายถึง กุศลธรรม ความดี) รวมกันเป็น อธมฺม หมายถึง อกุศลธรรม ซึ่งไม่ใช่ธรรมที่ดีงาม ไม่ใช่กุศลธรรม แปลทับศัพท์เป็น อธรรม มุ่งหมายถึง สภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรม เท่านั้น ซึ่งเป็นธรรมที่มีโทษ เป็นอันตราย ทำให้เกิดในอบายภูมิได้ ตามข้อความจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา ธัมมิกเถรคาถา ว่า
สภาพทั้งสอง คือ ธรรมและธรรม ย่อมมีวิบากไม่เสมอกัน ธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมทำให้ถึงสุคติ เพราะฉะนั้นแหละ บุคคลเมื่อชื่นชมยินดีด้วยโอวาทที่พระตถาคตผู้คงที่ตรัสไว้อย่างนี้ ควรทำความพอใจในธรรมทั้งหลาย เพราะพระสาวกทั้งหลายของพระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ ตั้งอยู่แล้วในธรรม นับถือธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด ย่อมยังตนให้พ้นจากทุกข์ได้


การที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริง ตามความเป็นจริง นั้น จะต้องเริ่มจากการฟัง การศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ว่า ธรรม คือ อะไร? สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนๆ ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น เช่น ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็น ความเข้าใจถูกเห็นถูก จะเปลี่ยนแปลงปัญญาให้เป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ เพราะความจริงเป็นอย่างนั้น สี เป็น สี เห็นเป็นเห็น ได้ยิน เป็นได้ยิน เป็นต้น เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้ว ธรรม มี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ นามธรรม (จิต สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เจตสิก สภาพธรรมที่เกิดประกอบพร้อมกับจิต พระนิพพาน สภาพธรรมที่ดับทุกข์ดับกิเลส ไม่เกิดไม่ดับ) และ รูปธรรม (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร) สิ่งที่มีจริงเหล่านี้ ทรงตรัสรู้โดยบุคคลผู้เลิศผู้ประเสริฐที่สุดในโลก คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ก็ทรงแสดงพระธรรมซึ่งเป็นคำสอนแก่สัตว์โลกเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องมีการใช้คำเพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าพระองค์ตรัสถึงสิ่งใด เพื่อความเข้าใจของผู้ฟังอย่างถูกต้อง เมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องแล้วว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงๆ ไม่ว่าจะอ่านพบข้อความใดในพระไตรปิฎก ก็ไม่พ้นไปจากเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง เช่น ในบางแห่งจะพบคำว่า ธรรม กับ ธรรม มาคู่กัน จากพื้นฐานความเข้าใจตั้งแต่เบื้องต้น ก็จะเข้าใจว่าธรรมในประโยคที่กล่าวถึงนี้ มุ่งหมายถึง ธรรมฝ่ายดี ซึ่งเป็นกุศลธรรม ธรรมที่ดีงามทุกระดับขั้น และแน่นอน กุศลธรรม ก็มีจริงๆ เป็นธรรม ส่วน ธรรม เป็นธรรมที่ตรงกันข้ามกับกุศลธรรม คือ เป็นกุศลธรรม ไม่ใช่ธรรมฝ่ายดี ก็เป็นธรรมอีกเหมือนกัน แต่เป็นธรรมที่เป็นกุศล เป็นธรรมฝ่ายดำ ให้ผลเป็นทุกข์ มีโทษ เป็นอันตราย ไม่นำมาซึ่งคุณประโยชน์ใดๆ เลย ซึ่งจะต้องไม่ลืมว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงๆ ไม่ว่าจะกล่าวถึงอะไร ก็ไม่พ้นจากสิ่งที่มีจริงๆ
สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจ เพราะในบางแห่งอย่างเช่นในอัฏฐสาลินี อรรถกถา ธัมมสังคณีปกรณ์ จะมีคำว่า ธาตุ คู่กับ คำว่า อธาตุ (ไม่ใช่ธาตุ นั้นๆ ) ด้วย ก็ต้องพิจารณาว่า ในที่นั้น กำลังอธิบายถึงอะไร เช่น รูป ที่เป็นจักขุธาตุ ก็มี [กล่าวคือ เฉพาะจักขุปสาทรูป เท่านั้น ที่เป็นจักขุธาตุ ส่วนรูปอื่นๆ ก็ไม่ใช่จักขุธาตุ] แต่รูปอื่นๆ ที่ไม่ใช่จักขุธาตุ ก็มี เป็นต้น ครับ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย Titi  วันที่ 14 ม.ค. 2563

_/\_ ขอบพระคุณครับ _/\_


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย teep704  วันที่ 9 ต.ค. 2565

กราบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาในกุสลธรรมครับ