ธรรมะไม่สาธารณะแก่คนทั่วไป [รัตนสูตร]
โดย orawan.c  16 ส.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 13214

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖- หน้าที่ 33

ข้อความบางตอน จาก

รัตนสูตร

ธรรมไม่สาธารณะแก่คนอื่นทั่วไป

...อีกประการหนึ่งก็ถ้าหากว่า ทีชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทราม บริโภคแล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ ด้วยว่าพระตถาคตเจ้าชื่อว่า ไม่ควรแก่การบริโภค (ไม่ควรแก่การนับถือ) ของสัตว์ทั้งหลายผู้ต่ำทราม ซึ่งไม่มีอุปนิสัย ของครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น ซึ่งมีความเห็นวิปริตและของคนเหล่าอื่นเห็นปานนี้ โดยที่สุดแม้ด้วยความฝัน (คือไม่เคยแม้แต่ฝันถึง) เเต่ว่าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้ควรแก่การบริโภคของชนทั้งหลาย ผู้มีอุปนิสสัยถึงพร้อม ผู้สามารถเพื่อจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในที่สุดแเห่งคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ ผู้มีนิพเพธิกญาณทัสสนะมีพระพาหิยทารุจีริกะ เป็นต้น และแห่งพระมหาสาวกผู้เกิดในสกุลใหญ่เหล่าอื่น ด้วยว่าอริยสาวกเหล่านั้น ยังการบริโภคนั้นให้สำเร็จอยู่ด้วยอนุตตริยะทั้งหลายมีทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ. ปาริจริยานุตตริยะ เป็นต้น ชื่อว่าได้บริโภคซึ่งพระตถาคตเจ้า รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า แม้เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภค ดังนี้ ย่อมไม่มี

---บริโภคคือได้มีส่วนแห่งการบรรลุธรรม



ความคิดเห็น 1    โดย suwit02  วันที่ 20 ส.ค. 2552

สาธุ


ความคิดเห็น 2    โดย papon  วันที่ 22 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย Nataya  วันที่ 6 ธ.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย talaykwang  วันที่ 12 พ.ย. 2562

สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย chatchai.k  วันที่ 8 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 


ความคิดเห็น 6    โดย chatchai.k  วันที่ 11 มิ.ย. 2564

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม...

รัตนสูตร ว่าด้วยรัตนอันประณีต และอรรถกถา

ขอเชิญรับฟังจากซีดี...

รัตนสูตร

เนื้อหาโดยย่อ มีดังนี้ - อรรถ ความหมาย รัตนะ - คุณของพระรัตนตรัย - เครื่องใช้สอยของผู้ไม่ต่ำทราม - เปรียบพระรัตนตรัยโดยนัยต่างๆ

รัตนสูตร ๑

รัตนสูตร ๒

รัตนสูตร ๓