อาจหาญร่าเริงในธรรมกถา
โดย เมตตา  28 ม.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 11003

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

ทรงให้เขาอาจหาญในธรรมที่เป็นกุศลนั้น คือ กระทำเขาให้มีความอุตสาหะ ทำให้เขาร่าเริง ด้วยความเป็นผู้มีอุตสาหะนั้น และคุณที่มีอยู่อย่างอื่น ทรงให้ฝน คือ พระธรรมรัตนะตกลง แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไป

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

บทว่า ให้อาจหาญ ทำให้จิตใจของพระราชานั้นผ่องใส ด้วยการบรรเทาความวิปฏิสาร.

บทว่า ให้ร่าเริง คือ กล่าวสรรเสริญว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์เมื่อถวายทานอยู่ทรงกระทำดีแล้ว ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 660

บทว่า สมุตฺเตชกา ความว่า ทำจิตของบุคคลทั้งหลาย ผู้ดำรงอยู่ในกุศลธรรมอย่างนี้ ให้อาจหาญด้วยดี ด้วยการแนะนำในการบำเพ็ญอธิจิตขั้นสูงขึ้นไป คือ ทำจิตของเขาให้ผ่องใสด้วยการพิจารณา โดยประการที่เขาจะบรรลุคุณวิเศษได้

บทว่า สมฺปหํสกา ความว่า ทำจิตของบุคคลเหล่าอื่นนั้นให้ร่าเริงด้วยดี ด้วยคุณวิเศษตามที่ได้แล้ว และที่จะพึงได้ในขั้นสูงคือ ทำจิตของเขาให้ยินดีด้วยดี ด้วยอำนาจความพอใจที่ได้แล้ว.

อีกประการหนึ่ง บทว่า สมุตฺเตชกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ผ่องใสหรือรุ่งเรื่องด้วยดีทีเดียว ด้วยการให้เกิดอุตสาหะในการรับเอาเนื้อความนั้น.

บทว่า สมฺปหํสกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ร่าเริง คือ ให้ยินดีด้วยดีทีเดียวซึ่งเนื้อความนั้นด้วยการแสดงอานิสงส์ในการปฏิบัติ



ความคิดเห็น 1    โดย suwit02  วันที่ 29 ม.ค. 2552

ขอพระสัทธรรมอันงดงาม บังเกิดแต่ดอกบัว

คือพระโอษฐ์ของพระสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์

ทำให้ใจของท่านทั้งหลายเบิกบาน

สาธุ


ความคิดเห็น 2    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 10 ก.ย. 2558

สาธุ อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 16 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น