ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริงเป็นอย่างไร

 
JANYAPINPARD
วันที่  23 ก.พ. 2553
หมายเลข  15586
อ่าน  1,822

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง

เป็นอย่างไร

ตอบว่า ก็คำใดที่สงเคราะห์เป็นนวังคสัตถุศาสตร์มีสุตตะเป็นต้น อัน

พระตถาคตภาษิตดำรัสไว้ตลอดกาลประมาณ ๔๕ พรรษา ระหว่างตรัสรู้และ

ปรินิพพาน คำนั้นทั้งหมดเป็นคำแท้ ไม่เท็จเลย ดุจชั่งได้ด้วยตาชั่งอันเดียว.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนจุนทะ ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ-

ญาณ ณ ราตรีใด ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน-

ธาตุ ณ ราตรีใด ในระหว่างนี้ตถาคตภาษิตกล่าว ชี้แจง

คำใดไว้ คำนั้นทั้งหมด เป็นคำแท้จริงอย่างเดียว ไม่

เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกกันว่า ตถาคต.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 ก.พ. 2553

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 221ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีวาทะถ่องแท้ เป็นอย่างไร

คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้ยิ่งซึ่งอนุตตสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และ

ทรงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ระหว่างนี้มีเวลาประมาณ

ได้ ๔๕ พรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสุตตะและเคยยะเป็นต้นใดทั้งหมดนั้น

บริสุทธิ์บริบูรณ์ กำจัดความเมาเพราะราคะเป็นต้นได้ เป็นอันเดียวกันถ่องแท้ไม่

มีผิด. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า จุนทะ ก็ตถาคต ตรัสรู้ยิ่งซึ่งอนุตตรสัมมา

สัมโพธิญาณในราตรีใด และปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด

ระหว่างนี้ ภาษิต กล่าว แสดงธรรมใด ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน

หาได้เป็นอย่างอื่นไม่ เพราะฉะนั้นเขาจึงเฉลิมพระนามว่า ตถาคต. คต ศัพท์ ใน

บทว่าตถาคโต นี้ มีอรรถว่า คทะ แปลว่า ตรัส. ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีวาทะอัน

ถ่องแท้ ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง อาคทนะ คือ อาคทะ,อธิบายว่า ตรัส.

ในบทนี้ พึงทราบบทสำเร็จรูปอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ตถาคตเพราะแปลง ที่อักษรให้

เป็น ต อักษร เพราะอรรถว่าพระองค์มีพระ-ดำรัสอย่างถ่องแท้ คือไม่แปรผัน.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ