วิญญาณขันธ์ [วิสุทธิมรรค]

 
orawan.c
วันที่  13 ส.ค. 2552
หมายเลข  13167
อ่าน  2,425

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 46

วิญญาณขันธ์

ก็คำว่า "วิญญาณขันธ์ พึงทราบว่า (เรียกอย่างนั้น) เพราะรวมธรรมชาติที่มีความรู้แจ้งเป็นลักษณะ สิ้นทุกอย่างเข้าด้วยกัน" ดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ถามว่า "ธรรมชาติอันมีความรู้แจ้งเป็นลักษณะชื่อว่าวิญญาณเป็นไฉน" ตอบว่า ธรรมชาติอันมีความรู้แจ้งเป็นลักษณะ ชื่อว่า วิญญาณ ดังพระสารีบุตรเถระกล่าว (แก่พระมหาโกฏฐิกะ) ว่า "ดูกรอาวุโส เพราะเหตุที่ธรรมชาตินั้นย่อมรู้แจ้งย่อมรู้ต่างๆ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวิญญาณ" ดังนี้ คำว่า วิญญาณ จิต มโน โดยเนื้อความก็อันเดียวกัน วิญญาณ นี้นั้น แม้เป็นอย่างเดียวตามสภาพ โดยลักษณะคือความรู้แจ้ง (แต่) ว่าโดยชาติเป็น ๓ อย่าง คือ เป็น กุศล อกุศล และอัพยากฤต (ท่านใช้คำว่า วิญญาณบ้าง จิตบ้าง ปนๆ กัน)

กุศลวิญญาณ

ในวิญญาณ ๓ อย่างนั้น กุศลวิญญาณเป็น ๔ โดยต่างแห่งภูมิ ถือกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตระ ใน ๔ ภูมินั้น กามาวจรมี ๘ โดยประเภทแห่งโสมนัส อุเบกขาญาณ และสังขาร กามาวจรวิญญาณ ๘ นี้ คืออะไรบ้าง คือ วิญญาณโสมนัสสหรคต ญาณสัมปยุตเป็นอสังขาร ๑ สสังขาร ๑ ที่เป็นญาณวิปยุต ก็อย่างนั้น คือ เป็นอสังขาร ๑ สสังขาร ๑ (รวมเป็นฝ่ายโสมนัสสหรคต ๔) วิญญาณอุเบกขาสหรคต ญาณสัมปยุต เป็นอสังขาร ๑ สสังขาร ๑ ที่เป็นญาณวิปยุต ก็อย่างนั้น คือ เป็นอสังขาร ๑ สสังขาร ๑ * (รวมเป็นฝ่ายอุเบกขาสหรคต ๔ รวมเข้าด้วยกันทั้งสองฝ่ายจึงเป็น ๘)

ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wkedkaew
วันที่ 15 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ