ชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย

 
JANYAPINPARD
วันที่  3 มิ.ย. 2552
หมายเลข  12558
อ่าน  1,961

โปรดอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

[๔๙] คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย มีความว่า ชีวิต ได้แก่อายุ ความตั้งอยู่ ความดำเนินไป ความให้อัตภาพดำเนินไป ความหมุนไป ความเลี้ยง ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์ก็ชีวิตน้อยโดยเหตุ ๒ ประการ คือ ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย ๑ ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย ๑. ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย เป็นอย่างไร? ชีวิตเป็นอยู่แล้วในขณะจิตเป็นอดีต ย่อมไม่เป็นอยู่ จักไม่เป็นอยู่ ชีวิตจักเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นอนาคต ย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็นอยู่แล้ว ชีวิตย่อมเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวลเป็นธรรมประกอบกัน เสมอด้วยจิตดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใด ย่อมตั้งอยู่ตลอดแปดหมื่นสี่พันกัปเทวดา เหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิต ๒ ดวงเป็นอยู่เลย ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ผู้ตาย หรือของสัตว์ที่เป็นอยู่ในโลก นี้ดับแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเที่ยวเป็นเช่นเดียวกันดับไป แล้ว มิได้สืบเนื่องกัน ขันธ์เหล่าใด แตกไปแล้วในอดีต เป็นลำดับ และขันธ์เหล่าใดแตกไปแล้วในอนาคตเป็น ลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้งหลายที่ดับไปในปัจจุบัน กับด้วยขันธ์เหล่านั้น ย่อมมิได้มีในลักษณะสัตว์ไม่เกิดแล้ว ด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์โลกตาย แล้ว เพราะความแตกแห่งจิตนี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายแปรไปโดยฉันทะ ย่อมเป็นไปดุจน้ำไหลไป ตามที่ลุ่มฉะนั้น ย่อมเป็นไปตามวาระอันไม่ขาดสาย เพราะ อายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายแตกแล้วมิได้ถึงความ ตั้งอยู่ กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว ย่อมตั้งอยู่ เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดทั้งอยู่บนปลายเหล็ก แหลมฉะนั้น ก็ความแตกแห่งธรรมขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว นั้นสกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายมีความ ทำลายเป็นปกติ มิได้รวมขันธ์ที่เกิดก่อน ย่อมตั้งอยู่

ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏแตกแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ

ฉะนั้น. ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย อย่างนี้. ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย อย่างไร? ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจเข้าชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิตเนื่องด้วยลมหาย ใจเข้าและลมหายใจออกชีวิตเนื่องด้วยมหาภูตรูป ชีวิตเนื่องด้วยไออุ่น ชีวิตที่เนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเนื่องด้วยวิญญาณ กรัชกายอันเป็นที่ตั้งแห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านี้ก็ดี อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพอันเป็นเหตุเดิมแห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านี้ก็ดี ปัจจัยทั้งหลายก็ดี ตัณหาอันเป็นแดนเกิดก่อนก็ดี รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดร่วมกัน แห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านี้ก็ดี อรูปธรรมที่ประกอบกัน แห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านั้นก็ดี ขันธ์ที่เกิดร่วมกันแห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านี้ก็ดี ตัณหาอันประกอบกันก็ดีก็มีกำลังทราม ธรรมเหล่านั้นมีกำลังทรามเป็นนิตย์ต่อกันและกัน มิได้ตั้งมั่นต่อกันและกัน ย่อมยังกันและกันให้ตกไป เพราะความต้านทานมิได้มีแก่กันและกัน ธรรมเหล่านั้นจึงไม่ดำรงกันและกันไว้ได้ ธรรมแม้ใดให้ธรรมเหล่านี้เกิดแล้ว ธรรมนั้นมิได้มี ก็แต่ธรรมอย่างหนึ่ง มิได้เสื่อมไปเพราะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 3 มิ.ย. 2552

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

ธรรมอย่างหนึ่ง ก็ขันธ์เหล่านี้แตกไปเสื่อมไป โดยอาการทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้อันเหตุปัจจัยมีในก่อนให้เกิดแล้ว แม้เหตุปัจจัยอันเกิดก่อนเหล่าใดเหตุปัจจัยเหล่านั้นก็ตายไปแล้วในก่อน ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดภายหลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหนๆ ฉะนั้น ชีวิตจึงชื่อว่า เป็นของน้อยเพราะมีกิจน้อย อย่างนี้. อนึ่ง เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ชีวิตมนุษย์ก็น้อย คือเล็กน้อยนิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์......เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นยามา.........เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นดุสิต......เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นนิมมานรดี.....เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.......เพราะเทียบชีวิตของเทวดาเนื่องในหมู่พรหม ชีวิตมนุษย์น้อย คือเล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์นี้น้อย จำต้องไปสู่ปรโลก มนุษย์ทั้งหลายจำต้องประสบความตาย ตามที่รู้กันอยู่แล้วควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ ใดย่อมเป็นอยู่นาน ผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือที่ เกินกว่า ๑๐๐ ปี ก็มีน้อย. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :- อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดู หมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ ศีรษะ ฉะนั้น เพราะความตายจะไม่มาถึง มิได้มี วันคืน ย่อมล่วงเลยไปชีวิตก็กระชั้นเข้าไปสู่ความตายอายุของสัตว์ ทั้งหลายย่อมสิ้นไปเหมือนน้ำในแม่น้ำน้อย ย่อมสิ้นไป ฉะนั้น.

IP -

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 3 มิ.ย. 2552

พระสูตรไพเราะ ลึกซึ้ง มากค่ะอ่านแล้วรู้ว่าเวลามีน้อยจริงๆ ที่จะได้ฟังพระธรรม

และยังรู้ว่าทำไมยังประมาทอยู่อีกมากในชีวิตประจำวัน....จึงต้องอดทนที่จะ

ฟังต่อไป...

ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สิริพรรณ
วันที่ 19 ต.ค. 2565

คำของพระพุทธองค์ไพเราะที่สุดเพราะทรงแสดงความจริงของสภาพธรรมะที่เรารู้เองไม่ได้

ชีวิตเป็นของน้อยจริงๆ ความประมาทก็มีมาก

เห็นประโยชน์ของชีวิตจึงสะสมกุศลและอบรมเจริญปัญญาต่อไป ทุกวันที่ยังมีชีวิตจึง ขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลยค่ะ

กราบอนุโมทนาขอบคุณด้วยความเคารพในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ