อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ


    แล้วแต่ปัญญา ถ้าเป็นการรู้ลักษณะของนามรูป ก็เป็นสติปัฏฐาน เป็นปัญญา ถ้าเป็นการที่จิตสงบเป็นสมาธิ ก็เป็นสมถภาวนา

    ขอกล่าวถึงอีกสูตรหนึ่ง คือ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค กิมิลสูตร ข้อ ๑๓๕๕ มีข้อความว่า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระกิมิละว่า

    ดูกร กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตต์ด้วยอานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามท่านพระกิมิละว่า

    ดูกร กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตต์ด้วยอานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    ท่านพระกิมิละก็นิ่งอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตต์ด้วยอานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตต์ด้วยอานาปานสติ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกร อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

    ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    ดูกร อานนท์ สมาธิอันสัมปยุตต์ด้วยอานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงอานาปานสติ คือ

    นั่งคู้บัลลังก์ มีสติ หายใจออก หายใจเข้า

    ต่อไปก็เหมือนกับในอานาปานบรรพ

    สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

    เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออก และลมหายใจเข้า

    เพราะฉะนั้นนั่นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

    ที่จะมีผลมากมีอานิสงส์มากนั้น คือ จะต้องเห็นกายในกาย และมีความเพียร มีการระลึกรู้ลักษณะของนามและรูปที่ปรากฏในขณะนั้น

    พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า

    ดูกร อานนท์ สมัยใดภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก จักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า

    จะเพียงให้รู้อยู่เฉพาะที่เดียวอย่างเดียวไม่ได้ ปัญญาไม่เจริญ ไม่สามารถที่จะละการยึดถือนามรูปว่าเป็นตัวตนได้ ถึงแม้ว่าในขณะที่หายใจออก หายใจเข้า มีปีติเกิดขึ้น ก็จะต้องเป็นผู้ที่กำหนดรู้ปีติ หรือแม้สุข

    ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก หายใจเข้า

    ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก หายใจเข้า

    สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวว่า เวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้นภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

    แม้ในขณะที่หายใจออกมีสติ หายใจเข้ามีสติ เวทนาความรู้สึกเกิดขึ้น สติก็จะต้องระลึกรู้ เพื่อละ


    หมายเลข 3087
    24 ก.ย. 2566