สัจจธรรม คืออะไร?

 
email
วันที่  1 เม.ย. 2549
หมายเลข  999
อ่าน  68,578

ในพระพุทธศาสนา สัจจธรรม คืออะไร?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 3 เม.ย. 2549

สัจจธรรม คือธรรมะที่มีจริง เป็นจริงแท้ ไม่วิปริต

เชิญคลิกอ่านได้ที่.....

สัจจธรรมคือ ธรรมที่มีจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 3 เม.ย. 2549

เชิญคลิกอ่านได้ที่....

ปัญญา ชื่อว่า อภิสมัย [วิภังค์]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 3 เม.ย. 2549

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒- หน้าที่ 174

บทว่า พุทฺธา คือ ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔. บทว่า อิมํ ธมฺมํ คือ สัจจธรรม ๔.บทว่า สจิตฺตํ ปจฺจลทฺธา ได้แก่ กลับได้ความคิดของตนเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑-หน้าที่ 15

ความจริง การตรัสรู้สัจจธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายแม้เป็นไปอยู่ด้วยพระองค์เองทีเดียว โดยเป็นสยัมภูญาณ ชื่อว่า มีผู้ตรัสรู้ตามเพราะเป็นเหตุแห่งการตรัสรู้สัจจธรรม ของสัตว์ทั้งหลาย หาประมาณไม่ได้.ก็การบรรลุสัจจะนั้น ของเหล่าสัตว์ผู้หาประมาณมิได้ เหล่านี้ ย่อมไม่เป็นเหตุแห่งการตรัสรู้สัจจธรรมของสัตว์ แม้คนเดียว. ชื่อว่า สาวก เพราะเกิดในที่สุดแห่งการฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา. การตรัสรู้สัจจธรรมของพระ-สาวกทั้งหลาย ชื่อว่า สาวกสัมโพธิ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 4 เม.ย. 2549

สัจจธรรมของพระอริยะมี ๔ ได้แก่ ทุกขอริยสัจจ์ สมุทัยอริยสัจจ์ นิโรธอริยสัจจ์ มรรคอริยสัจจ์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
neo
วันที่ 18 ก.พ. 2550
นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็น โลกุตตรธรรม เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่ของโลก, สภาวะพ้นโลก มี ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง๑. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระ คือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทิปัจจยตา หรือ ปฎิจจสมุปบาท) ที่แสดงว่า แต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ ๒. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน๓. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตาด้วยเหตุผล ๓ ประการคือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคลตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์๔. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ กำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
webdh
วันที่ 18 ก.พ. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
webdh
วันที่ 18 ก.พ. 2550

ไม่ได้หมายความว่า ว่างแล้วไม่มีอะไรเลย แต่จริงๆ แล้วมีสภาพธัมมะ แต่สภาพ

ธัมมะ นั้นว่างจากตนจากเรา ของเรา เป็นเพียงธัมมะเท่านั้นครับ ซึ่งตรงนี้แหละ

ปัญญาจะต้องรู้ว่า ไม่ใช่ตน เป็นเพียงธัมมะ ด้วยการมีสติระลึกสภาพธ้มมะที่มีขณะ

นี้ครับ

โดยสมาชิก : แล้วเจอกัน

ที่ว่าโลกนี้ว่างเปล่า ว่างจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เห็นมีจริง ได้ยินมีจริง ได้

กลิ่นมีจริง ลิ้มรสมีจริง กระทบสัมผัสมีจริง มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป

หาสาระไม่ได้ แต่ปุถุชนถูกอวิชชาปิดบังไม่รู้ สภาพธรรมะตามความเป็นจริง ก็

ต้องอบรมปัญญาต่อไปค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ

โดยสมาชิก : wannee.s

แม้แต่คำว่า โลกเป็นของว่าง ในยุคนี้ก็มีการตีความกันไปต่างๆ นานา จึง

ต้องอบรมเจริญปัญญาให้มากๆ ฟังพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ

โดยสมาชิก : medulla

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
neo
วันที่ 18 ก.พ. 2550

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น จะไม่มีอะไรเลย

ที่เป็นตัวตน ว่างแล้วมีอะไรเหลืออยู่ มีสภาพธัมมะ นั้นเป็นอย่างไร เมื่อรูปขันธ์ทั้ง ๕

ดับ ไม่เหลือแม้แต่ กลาป ปรมาณู จิตจะคงสภาวะอยู่ได้อย่างไร เมื่อกายดับ จิตดับ

ไม่จุติ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ย่อมดับหมด นิพพาน สุญญตา ไม่มีอะไรเหลืออยู่อีกเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chaichara
วันที่ 19 ก.พ. 2550

สัจจธรรมในพระพุทธศาสนาคืออะไร ความจริงของธรรมชาติ ก็คืออันนั้น เพราะ

สภาวะแห่งความจริงไม่ใช่สิ่งที่แบ่งแยก แบ่งลัทธิ แบ่งศาสนาได้ ศาสนาพุทธ คือ

สมมติสัจจะ แต่ปรมัตถสัจจะ คือ สัจจธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
neo
วันที่ 19 ก.พ. 2550

สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย

ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตาม

สภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น ตรง

กันข้ามกับปรมัตถสัจจะปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณปรมัตถ์ 1. ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน 2. ความหมายสูงสุด, ความ

หมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์

สิ่งที่เป็นจริง โดยความหมายสูงสุด ตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป

นิพพาน

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ