เรื่องราวของการถือศีล8และการถือศีลอุโบสถ?

 
เจริญในธรรม
วันที่  22 ม.ค. 2551
หมายเลข  7084
อ่าน  15,532

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยและเป็นที่พึ่งอันสูงสุด

๑. ที่ผมเคยได้ยินมา บุญแห่งการถือศีล ๘ ทำไมถึงน้อยกว่าถือศีลอุโบสถ ทั้งๆ ที่ก็ถือข้อวัตรเหมือนกัน ๘ ข้อ แต่ต่างกันที่เป็นวันธรรมดากับวันพระ?

๒. มีอานิสงค์ของการถือศีลอุโบสถแสดงในพระไตรปิฏกไว้อย่างไรบ้างครับ รักษาครึ่งวันอานิสงค์เท่ากับทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ ๑ ชาติ จริงดังเช่นนั้นหรือครับ

๓. เคยได้ยินมาว่าในทุกวันพระ จะมีการแสดงธรรมที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และพระอินทร์จะให้ลูกของท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ มาจดรายชื่อคนที่รักษาศีลอุโบสถบนโลก

๓.๑ มีแสดงอยู่ที่เล่มใหนของพระไตรปิฏกครับ พอดีอยากอ่านครับ

๓.๒ และทำไมต้องมาจดชื่อครับ มีผลต่อเทวดาชั้นดาวดึงส์อย่างไรถึงต้องมาจดชื่อ ใช้เครื่องมืออะไรจดครับ เพราะมนุษย์ที่รักษามีมากมายครับ

๔. การรักษาหากเป็นวันที่เราต้องทำงานที่บริษัทเราสามารถจะสมาทานศีลมารักษาได้หรือไม่เพราะเห็นเขาบอกว่ารักษาที่วัดดีกว่า ศีลจะไม่ด่างพร้อย

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 22 ม.ค. 2551

๑. ยังไม่พบคำอธิบายความต่างกันอานิสงส์ของศีล ๘ กับอุโปสถศีล ๒. ขอเชิญอ่านข้อความจากวิตถตสูตรที่ยกมา (ความเห็นที่ ๒) ๓. ขอเชิญอ่านข้อความในปฐมราชสูตรที่ยกมา (ความเห็นที่ ๓) ๔. ในวันรักษาอุโบสถ ควรเว้นจากกิจการงานอันเป็นธุรกิจ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 22 ม.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 22 ม.ค. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 22 ม.ค. 2551

เคยได้ยินเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน แต่เพิ่งได้อ่านเองวันนี้ขอบพระคุณ คุณ study ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมด่พระรัตนตรัย
ข้อ ๑. ที่ผมเคยได้ยินมา บุญแห่งการถือศีล ๘ ทำไมถึงน้อยกว่าถือศีอุโบสถ ทั้งๆ ที่ก็ถือข้อวัตรเหมือนกัน ๘ ข้อ แต่ต่างกันที่เป็นวันธรรมดากับวันพระ?

คำว่า อุโบสถ มีความหมายหลายประการ เช่น หมายถึงวัน คือ วัน ๑๕ ค่ำเป็นวันอุโบสถ เป็นต้น อุโบสถหมายถึง ศีล เช่น อยู่รักษาอุโบสถ คือ ศีล ๘ ดังนั้น ในเรื่องของกุศลจึงอยู่ที่จิต ไม่ใชอยู่ที่วันครับ ไม่ใช่ว่าถ้าเป็นวันนี้บุญจะมากกว่าวันนี้ ถ้ารักษาวันนั้น แต่อยู่ที่จิตเป็นสำคัญไม่ว่าวันไหน หากแต่ว่า อุโบสถมีหลายความหมายตามที่ได้อธิบาย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 ม.ค. 2551

ข้อ ๒ . มีอานิสงค์ของการถือศีลอุโบสถแสดงในพระไตรปิฏกไว้อย่างไรบ้างครับรักษาครึ่งวันอานิสงค์เท่ากับทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ ๑ ชาติ จริงดังเช่นนั้นหรือครับ

เชิญคลิกอ่าน...อานิสงส์ของอุโบสถศีลอุโบสถศีลกึ่งหนึ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 ม.ค. 2551

๓.๒ และทำไมต้องมาจดชื่อครับ มีผลต่อเทวดาชั้นดาวดึงส์อย่างไรถึงต้องมาจดชื่อ ใช้เครื่องมืออะไรจดครับ เพราะมนุษย์ที่รักษามีมากมายครับ เพื่อจะได้ทราบว่ามนุษย์เดี๋ยวนี้เป็นผู้ทำกุศลหรืออกุศลมากจึงมาจดชื่อโดยใช้แผ่น

ทองคำ ถ้ามนุษย์ปัจจุบันทำกุศลมาก แผ่นทองคำก็มาก ถ้ามนุษย์ทำกุศลน้อย แผ่นทองคำก็น้อย และเทวดาเมื่อทราบว่ามนุษย์ทำกุศลน้อย ก็จะมีเทวดาอุบัติน้อยด้วยก็จะไม่ได้เล่นกันมากเหมือนแต่ก่อนครับ ขออนุโมทนา [เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๑๖๕

ข้อความบางตอนจาก.....

อรรถกถาปฐมราชสูตร

ต่อมาในวัน ๑๔ ค่ำ แม้บุตรของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ถือเอาแผ่นทองนั้นแล้วท่องเที่ยวไป จดชื่อและโคตรตามนัยนั้นนั่นแล. ในวัน ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็จดชื่อและโคตรลงไปในแผ่นทองนั้น นั่นแล้วตามนัยนั้น. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้นทราบว่า เวลานี้มีมนุษย์น้อย เวลานี้มีมนุษย์มาก ตามจำนวนแผ่นทอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สเจ ภิกฺขเว อปฺปกา โหนฺติ มนุสฺสา ดังนี้.

บทว่า ปริปูริสฺสนฺติ อสุรกายา ความว่า อบาย ๔ จักเต็มแน่น. ด้วยเหตุนี้ เทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงเสียใจว่า พวกเราจักไม่ได้เล่นนักษัตร ท่ามกลางหมู่เทวดาในเทวนครที่เคยเต็มแน่น. แม้ในสุกปักษ์ก็พึงทราบความหมายโดยอุบาย นี้แล.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 23 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
อิสระ
วันที่ 23 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 30 ม.ค. 2551

ก็ยังเกิดข้อสงสัยอยู่ดีว่า ศีล ๘ และศีลอุโบสถ ทำไมอานิสงส์ถึงต่างกันทั้งๆ ที่ก็มีข้อวัตรเหมือนกัน ๘ ข้อ แต่ต่างกันที่วันพระกับวันธรรมดา

ขอข้อแสดงความคิดเห็นหน่อยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
study
วันที่ 3 ก.พ. 2551

อานิสงส์มากหรือน้อยอยู่ที่สภาพจิตเป็นสำคัญ คือกุศลขั้นทานหรือขั้นศีลก็ตาม ทานและศีลของผู้ไม่มีปัญญามีอานิสงส์น้อยกว่าผู้มีปัญญาให้ทาน รักษาศีล

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
หมอ
วันที่ 30 มิ.ย. 2554

ไม่ทราบว่าคุณ "เจริญในธรรม" ได้รับคำตอบหรือยัง เพราะไม่เห็นมาโพสต์อีก ก็คงต้องถือโอกาสนี้สนทนาธรรมกับท่านทั้งหลายเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในการถือศีลอุโบสถ ศีล ๘ และศีล ๕ ดังนี้นะครับ

ทราบมาโดยการศึกษาจากโปรแกรมพระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน ในพระอภิธรรมปิฎก กล่าวว่า ศีล ๕ และศีล ๘ สามารถถือปฏิบัติได้ทุกวันเท่าที่จะมีความสามารถปฏิบัติได้ แต่ศีลอุโบสถนั้น จะสามารถถือปฏิบัติได้เพียงเฉพาะวันพระเท่านั้น ได้แก่วันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ (ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม)

มูลเหตุที่การถือศีล ๘ กับศีลอุโบสถมีอานิสงส์ไม่เท่ากัน ก็เนื่องมาจากเหตุดังข้างต้นประการหนึ่ง คือศีล ๘ นั้นสามารถรักษาได้ทุกวัน (แม้แต่วันพระและแม้จะมีข้อปฏิบัติ ๘ ข้อเหมือนกันก็ตาม) ประการที่ ๒ มีพระพุทธบัญญัติให้อุบาสกอุบาสิกามีการถือศีลอุโบสถ เนื่องเพราะศีลอุโบสถมีอานิสงส์มากยิ่งด้วยเจตนาที่งดเว้นข้อปฏิบัติอย่างผู้ครองเรือนให้ประณีตยิ่งขึ้น ทำให้ใกล้หรือง่ายต่อการปฏิบัติสมาธิและภาวนามากขึ้น เพราะสมาธิและภาวนา จะบริสุทธิ์ได้ ก็ด้วยการถือศีลที่บริสุทธิ์มากกว่าศีลปกติ ทำให้ใกล้ฝั่งพระนิพพานมากยิ่งขึ้น ศีลอุโบสถนี้มีความพิเศษคือ หากเป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามี (ไม่ว่าโดยการสดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์โดยตรง หรือมาน้อมนำไปปฏิบัติจนบรรลุธรรมชั้นนี้ด้วยตนเอง) ก็จะมีศีลอุโบสถนี้ตลอดชีวิตโดยอัตโนมัติ และท่านจะไม่ยอมผิดศีลแม้นิดเดียวทั้งกาย วาจา และใจ

ประการที่ ๓ พระโพธิสัตว์ที่กำลังบำเพ็ญบารมีเพื่อจะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทุกพระองค์ จะถือปฏิบัติศีลอุโบสถมาทุกพระองค์ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันที่พวกเรานับถือกันอยู่นี้ ก็ได้ทรงตรัสเล่าชาดกคือพระชาติที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์กำลังสร้างบารมีอยู่ชาติหนึ่งที่รู้จักกันดี คือพระมหาชนก เมื่อพระองค์ยังทรงแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทร เมื่อทรงเห็นพระจันทร์วันเพ็ญและกำหนดรู้โดยพระปัญญาแล้ว จึงทรงบ้วนพระโอษฐ์ด้วยน้ำทะเลและสมาทานศีลอโบสถกลางทะเลนั้นเอง

ประการที่ ๔ วันอุโบสถ ซึ่งมีความหมายดังที่คุณ "แล้วเจอะกัน" อธิบายนั้น เป็นความหมายตามคำเรียกชื่อวัน แต่สิ่งที่พิเศษกว่านั้นคือ วันอุโบสถเป็นวันพระ เมื่อเป็นวันพระ ก็จัดเป็นวันที่มีการส่งเสริมให้ปฏิบัติธรรม ทำบุญ ทำทาน รักษาศีล และภาวนากันมากกว่าวันปกติทั่วไป และนับเป็นวันแห่งอภัยทาน ย่อมละเว้นการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดลูกผิดเมียและเสพเมถุน พูดปด ดื่มน้ำเมา กินอาหารหลังเที่ยง ตกแต่งร่างกายดูการละเล่นและขับร้องประโคมดนตรี การนั่งนอนบนที่นอนสูงใหญ่ ให้ยิ่งกว่าปกติ

เมื่อวันอุโบสถ มีเหตุคือ ความพิเศษดังกล่าวทั้ง ๔ ประการเป็นอย่างน้อย แต่ด้วยอานิสงส์มากมายยิ่งกว่าสมบัติพระจักรพรรดิ์และสวรรค์ชั้นใดๆ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติให้มีการถือศีลอุโบสถด้วยเหตุนี้

ประการที่ ๕ ที่ขอแถมให้นะครับ คือการกล่าวสมาทานในการถือศีลต่างกันครับ สำหรับศีล ๘ และศีล ๕ ใช้คำกล่าวคล้ายกัน (ศีล ๕ กล่าวว่า "มะยัง ภันเต วิสุงวิสุงรักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะปัญจะศีลานิยาจามะ" ศีล ๘ กล่าวว่า มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะศีลานิยาจามะ" แต่ศีลอุโบสถมีคำกล่าวมากกว่านั้น มีขั้นตอนมากกว่านั้นครับ ซึ่งหมอไม่สะดวกที่จะนำคำกล่าวและขั้นตอนการถือศีลอูโบสถมาให้อ่านได้ทั้งหมด คงต้องไปศึกษาเองนะครับ

การถือศีล ๘ และศีลอุโบสถนั้น มีข้อต่างที่สำคัญคือ เนื่องจากศีล ๘ นั้นสามารถรักษาได้ทุกวัน การผิดศีลด้วยความไม่ตั้งใจย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย ดังนั้น การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง ยังถือว่าไม่เป็นไร แต่อุโบสถศีลเป็นศีลพวง หมายถึงศีลทุกข้อนั้นเปรียบดังพวงกุญแจที่มีสายร้อยกุญแจ ๘ ดอก (ศีล ๘ ข้อ) ไว้เพียง ๑ เส้น สายที่ร้อยกุญแจคือความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกันของศีลทุกข้อ การที่ศีลขาดก็คือสายกุญแจที่ร้อยนั้นขาดแล้ว ก็ย่อมทำให้ลูกกุญแจทั้ง ๘ หลุดออกจนหมดนั่นเอง ซึ่งก็หมายความว่า ศีลอุโบสถนี้ขาดทะลุไปเพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ได้ จึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา ใจ ตลอดเวลา ใช้สติระลึกถึงศีลไปตลอดตั้งแต่เช้าวันที่กล่าวสมาทานไปจนถึงรุ่งเช้าของอีกวัน จึงจะเรียกว่าครบถ้วนสมบูรณ์มีอานิสงส์ผลบุญมาก

ขอจบการสนทนาธรรมไว้แต่เพียงนี้ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ