นิวรณ์ ๖ คืออะไร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6449
อ่าน  5,322

นิวรณ์ คืออกุศลที่เป็นเครื่องกั้นความดี

นิวรณ์ ๖ คือเครื่องกั้นฌาน และวิปัสสนา โดยนิวรณ์ ๕ เป็นเครื่องกั้นของฌาน เพราะเป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ (ตรงข้าม) กับองค์ฌาน ๕ ในปฐมฌาน ดังนี้

๑. กามฉันทะ กั้น เอกัคคตา

๒. พยาปาทะ กั้น ปีติ

๓. ถีนมิทธะ กั้น วิตักกะ

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ กั้น สุข (คือโสมนัสเวทนา)

๕. วิจิกิจฉา กั้น วิจาระ

นิวรณ์ที่ ๖ คือ อวิชชานิวรณ์ ได้แก่ โมหเจตสิก อวิชชานิวรณ์นี้ เป็นอกุศลที่กั้นการเจริญวิปัสสนา คือการเจริญปัญญาเพื่อรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ธีรวุฒิ
วันที่ 31 มี.ค. 2552

อยากให้ช่วยขยายความ ลักษณะของนิวรณ์ทั้ง ๖ ด้วยครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 31 มี.ค. 2552

ขอเชิญคลิกอ่าน ...

นิวรณธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 15 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 29 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 4 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Kalaya
วันที่ 4 พ.ย. 2564

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 3 พ.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
apichet
วันที่ 9 ม.ค. 2567

กราบอนุโมทนาสาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สิริพรรณ
วันที่ 17 ก.พ. 2567

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕ แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ แม้การไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม แม้การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ ...

จาก อวิชชาสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ยมกวรรคที่ ๒.

อวิชชาสูตร - โพชฌงค์ ๗ เป็นอาหารของวิชชาวิมุตติ - ๑๘ ก.ย. ๒๕๕๓

ท่านอาจารย์ ผู้ที่ทรงตรัสรู้ก็ทรงแสดงความจริงที่ได้ตรัสรู้แล้วให้คนอื่นได้เข้าใจถูกต้องว่าความจริงเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่มีการตรัสรู้สภาพธรรมะ ก็มีแต่ความไม่รู้ ทุกภพทุกชาติก็ยังยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ... ประโยชน์อะไรของการที่เกิดมาเป็นคนนี้ บางคนก็ทำชั่ว ตลอดชีวิต บางคนก็ทำดีบ้าง แต่แม้จะทำดีปานใดก็ตามความดีนั้นไม่บริสุทธิ์เพราะเหตุว่าไม่มีปัญญาที่รู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นเมื่อทำดีก็ยังคงเป็นเราที่ทำดี เพราะฉะนั้น จะบริสุทธิ์จากสิ่งที่มีจริงๆ ได้อย่างไร ในเมื่อหลงเข้าใจว่าเป็นเราทำดี จะบริสุทธิ์จริงๆ ต่อเมื่อรู้ว่าไม่มีเรา ... วันนี้เห็นความเห็นแก่ตัวบ้างไหม ของใคร คนอื่นเห็นแก่ตัว หรือว่าแท้ที่จริงทุกคนที่เข้าใจว่ามีตัวเห็นแก่ตัวโดยไม่รู้เลย ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจึงสามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนี้คนนี้กำลังเห็นแก่ตัว แม้นิดเดียวก็ส่องถึงความเป็นตัวตน และการยึดถือตนว่าเป็นเราจึงเห็นแก่ตัวเพราะรักตัวที่สุด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าตั้งแต่ตื่น รักใครที่สุด ... เพราะฉะนั้นจะต้องฟัง แม้แต่คำที่เราใช้ ด้วยเหตุนี้คงจะไม่ผิดถ้ากล่าวว่าตั้งแต่เกิดจนตายพูดคำที่ไม่รู้จัก ลองพูดมาสักคำ เช่น คำว่า จิต จิตคืออะไร แล้วเดี๋ยวนี้มีจิตไหม เดี๋ยวนี้จิตกำลังทำอะไร แล้วจิตอยู่ที่ไหน ไม่รู้เลย ... ผู้ที่มีปัญญาข้องที่จะรู้ความจริงว่าสิ่งนี้คืออะไรแน่ ทำไมมีแล้วไม่มี แล้วก็มีอีก แล้วก็ไม่มีอีก ไม่รู้จบใช่ไหม และในที่สุดจากเกิดก็ไปตาย และก็ไม่มีอะไรในโลกนี้ แต่เมื่อข้องในปัญญาใช่ไหม ก็รู้ได้ว่าหนทางเดียวที่จะมีปัญญาที่จะรู้ความจริงก็ต่อเมื่อมีความดี ถ้ามีความชั่วทุกวันก็จะมานั่งเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏหรือไตร่ตรองให้เข้าใจถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็เป็นไปไม่ได้เลยใช่ไหม

เพราะฉะนั้น อาศัยจากการที่ได้เป็นพระโพธิสัตว์ ก็รู้ว่าจะไม่สามารถรู้ความจริงได้ถ้าขาดคุณธรรมที่เป็นบารมี ๑๐ ซึ่งบารมีที่ต้องมีอย่างมั่นคง คือสัจจะความจริงใจ ฟังพระธรรมเพื่ออะไร จริงใจก็คือเพื่อเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง

ศึกษาเพิ่มเติมที่

ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1784

กราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์ ด้วยเศียรเกล้า

กราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง

ขอบพระคุณยินดีในกุศลธรรมทานทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ก.พ. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ