ตัณหา

 
pirmsombat
วันที่  10 พ.ย. 2550
หมายเลข  5487
อ่าน  1,892

[เล่มที่ 65] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

มีความว่า ตัณหาเรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัด กล้า ความพอใจ ความชอบใจ ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยสามารถ แห่งความเพลิดเพลิน ความกำหนัดกล้าแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความยินดี ความยินดีทั่วไป ความข้อง ความติดพัน ความ แสวงหา ความลวง ความให้สัตว์เกิด ความให้สัตว์เกี่ยวกับทุกข์ ความเย็บไว้ ความที่จิตเป็นดังข่าย ความที่จิตเป็นดังกระแสน้ำ ความซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความที่จิตเป็นดังเส้นด้าย ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป ความ เป็นเพื่อน ความตั้งไว้ เครื่องนำไปสู่ภพ ความติดอารมณ์ ความตั้งใจอยู่ใน อารมณ์ ความสนิท ความรัก ความเพ่งเล็ง ความผูกพัน ความหวัง ความ จำนง ความประสงค์ ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความปรารถนา ความให้สัตว์ปรารถนา ความที่จิตปรารถนา ความเหนี่ยวรั้ง ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง ความที่จิตเหนี่ยว รั้ง ความหวั่นไหว อาการแห่งความหวั่นไหว ความพรั่งพร้อมด้วยความหวั่นไหว ความกำเริบ ความใคร่ดี ความกำหนัดในที่ผิดธรรม ความโลภไม่เสมอ ความ ใคร่ อาการแห่งความใคร่ ความมุ่งหมาย ความปอง ความปรารถนาดี กาม ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพะตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง ความผูก ความ เข้าไปเศร้าหมอง ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต ความเป็นดังเถาวัลย์ ความ ปรารถนาวัตถุต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วง มาร เบ็ดมาร วิสัยมาร แม่น้ำ ตัณหา ข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล คำว่า เพราะเหตุแห่งความปรารถนา คือ เพราะ เหตุแห่งความปรารถนา เพราะความปรารถนาเป็นเหตุ เพราะความปรารถนาเป็น ปัจจัย เพราะความปรารถนาเป็นตัวการ เพราะความปรารถนาเป็นแดนเกิด ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุแห่งความปรารถนา.

คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ

ความแช่มชื่นในภพอย่างหนึ่ง ได้แก่ สุขเวทนา

ความแช่มชื่นในภพ ๒ อย่าง ได้แก่ สุขเวทนา ๑ วัตถุที่ปรารถนา ๑.

ความแช่มชื่นในภพ ๓ อย่าง ได้แก่ ความเป็นหนุ่มสาว ๑ ความไม่มีโรค ๑ ชีวิต ๑.

ความแช่มชื่นในภพ ๔ อย่าง ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข.

ความแช่มชื่นในภพ ๕ อย่าง ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ.

ความแช่มชื่นในภพ ๖ อย่าง ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสตะ ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อมแห่งใจ

ตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นสมุทัย ตัณหาคือโลภะ โลภะมีหน้าที่ติดข้องติดไปเรื่อยๆ ทุกอย่างนอกจากโลกุตตระธรรม เช่นทางตา เห็นอะไรก็ติดไปหมด ทางหู ได้ยินเสียงอะไรก็ติดไปหมด ทางอื่นก็ทำนองเดียวกัน นี่คือหน้าที่ของโลภะหรือตัณหา นะครับ เข้าใจให้ลึกซึ้งอีกด้วยว่า อวิชชาเกิดร่วมด้วย เพราะอวิชชาเป็น "มูล" ของทุกอย่าง เพราะว่ามี อวิชชา ก็ มีโลภะ จะคู่กัน เพราะฉะนั้น สมุทัย มี 2 อย่างคือ อวิชชา และ โลภะ เพราะไม่รู้จึงติด ดังนั้น ตัณหา หรือ สมุทัย จึงเป็นสี่งที่ต้องละ ครับ


Tag  ตัณหา  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ครูโอ
วันที่ 11 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 11 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนา ถูกใจมากเลยค่ะ คำอธิบายละเอียดลักษณะของตัณหาหรือโลภะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 12 พ.ย. 2550

ตัณหาเป็นเพื่อนสองของคน เพราะปกติเราก็อยู่กับโลภะ โทสะ โมหะ ทุกวัน ถ้าสติไม่เกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 11 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ