ชวนะจิต

 
Sommaart
วันที่  8 พ.ค. 2550
หมายเลข  3661
อ่าน  12,447

ชวนจิต ในปัญจทวารวิถี จะเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และถ้าเกิดได้จะเกิดขึ้นได้กับบุคคลประเภทใด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 8 พ.ค. 2550

ชวนจิต ในปัญจทวารวิถี จะเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ก็ได้ เป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ก็ได้ หรือมหากุศล มหากิริยาญาณวิปยุตต์ก็ได้ ถ้าเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ย่อมเกิดกับกัลยาณปุถุชนหรือพระเสกขบุคคล ถ้าเป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ย่อมเกิดกับพระอรหันตขีณาสพผู้สำเร็จกิจแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อิสระ
วันที่ 8 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 8 พ.ค. 2550

ถ้าชวนจิตทางปัญจทวารวิถึเป็นกุศล ทางมโนทวารวิถีก็เป็นกุศลด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 8 พ.ค. 2550

ชวนจิต คือ จิตที่แล่นไป แล่นไป ในกุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิต (และวิบากจิต) เป็นต้น ขณะที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นเป็นชวนจิตที่เป็นกุศล ขณะที่จิตเป็นอกุศล ขณะนั้นเป็นชวนจิตที่เป็นอกุศล ซึ่งตามปกติปุถุชนหรือพระเสขะ (พระโสดาบันถึงพระอนาคามี) ชวนจิตที่เกิดโดยทั่วไปก็เป็นกุศลหรืออกุศลประกอบด้วยปัญญาก็ได้ ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ครับ คำว่า มหากุศลญาณสัมปยุต หมายถึง กุศลจิตที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย เช่น ขณะให้ทาน ก็คิดว่า ทานที่ให้แล้วมีผล เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา

ปัญจทวารวิถี คือ ทางที่รู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มี 5 ทาง ขณะที่เห็น เห็นเพียงสีเท่านั้น (ปัญจทวารวิถี) แต่ขณะที่เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นจิตที่คิดต่อทางใจ (มโนทวารวิถี)

ดังนั้น ชวนจิตในปัญจทวารวิถี จะเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตได้ หรือไม่ภาษาง่ายๆ ก็คือ ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส จิตเป็นกุศลประกอบด้วยปัญญาได้ไหม ได้ครับ เช่น ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ระลึกรู้ลักษณะในสิ่งที่เห็น (สี) หรือ เสียง (สิ่งที่ได้ยิน) ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา เป็นต้น

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 8 พ.ค. 2550

ชวนจิต คือ จิตที่แล่นไป แล่นไปในกุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิต และ วิบากจิต เป็นต้น

ชวนะ โดยศัพท์แปลว่า แล่นไป คือไปอย่างเร็วในอารมณ์ด้วยกุศลจิต อกุศลจิต หรือกิริยา

จิตของพระอรหันต์ วิบากจิตจะไม่เกิดในชวนะวิถีนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 พ.ค. 2550

จิตของพระอรหันต์ วิบากจิตจะไม่เกิดในชวนะวิถี?

วิบากจิตของพระอรหันต์ เช่น ขณะที่เห็น ไม่ได้เกิดที่ ชวนะวิถีจิต แต่อรหัตตผล (โลกุตตรวิบาก) สามารถเกิดขึ้นอีกได้สืบต่อกัน สำหรับ ผู้ที่ได้ฌาณคล่องแคล่ว ดังนั้น ขณะที่พระอรหันต์เข้าผลสมาบัติ ขณะนั้น อรหัตตผล (ชาติวิบาก) เกิดที่ ชวนะวิถีจิต ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 9 พ.ค. 2550

ขณะที่เข้าผลสมาบัติ ขณะนั้นจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ ผู้ที่เข้าผลสมาบัติได้ คือ พระอริยบุคคลผู้เป็นเจโตวิมุตติ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นพระอรหันต์ ตามลำดับขั้นของฌานและผล ผลสมาบัติวิถีมีนิพพานเป็นอารมณ์ตลอดเวลาที่กำหนดไว้ โดยไม่มีภวังคจิตเกิดคั่นเลย ผลสมาบัติเป็นการเข้าถึงโลกุตรฌาน

จิตที่ทำชวนะกิจมี ๕๕ ดวง คือ

อกุศลจิต ๑๒ ดวง

อเหตุกจิต (หสิตุปปาทจิต) ๑ ดวง

กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง

กามาวจรกิริยาจิต ๘ ดวง

รูปาวจรกุศลจิต ๕ ดวง

รูปาวจรกิริยาจิต ๕ ดวง

อรูปาวจรกุศลจิต ๔ ดวง

อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ ดวง

โลกุตตรจิต ๘ ดวง

สำหรับมัคควิถีนั้น ชวนจิตมีทั้งชาติกุศลและวิบาก วิบากซึ่งเป็นโลกุตรผล จะเกิดขึ้น ๒ หรือ ๓ ขณะเท่านั้นต่อจากโลกุตรมรรค ซึ่งเป็นความพิเศษของโลกุตตรจิต ที่จะต้องให้ผลทันที เป็นอกาลิโก
ถ้าท่าน แล้วเจอกัน หมายถึง วิบากจิตโดยนัยนี้ก็ต้องกล่าวรวมพระเสขบุคคลด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 9 พ.ค. 2550

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 พ.ค. 2550

อนุโมทนาคุณ แวะเข้ามา มีโอกาสแวะเข้ามาครับ ขอขอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 9 พ.ค. 2550

โลกุตตรวิบากจิต ๔ ดวง เป็นจิตชาติวิบากที่เกิดในชวนะวิถีได้ครับ เป็นความหมายของคำว่าอกาลิโก นั่นคือ เมื่อโลกุตตรกุศลจิต (มัคคจิต) ดับ โลกุตรวิบากจิต (ผลจิต) เกิดขึ้นทำกิจต่อในทันทีไม่มีระหว่างคั่น ในมัคควิถีทางมโนทวาร

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 9 พ.ค. 2550

"แล้วเจอกัน" เมื่อมีเหตุปัจจัยนะคะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทีมงานและสมาชิกทุกๆ ท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
olive
วันที่ 9 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 10 พ.ค. 2550

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
จิต89หรือ121
วันที่ 12 พ.ค. 2550

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
saharat121120
วันที่ 24 ก.ค. 2565

จิตที่ทำชวนะเกิดได้กี่ทวาร

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ส.ค. 2565

ลำดับการเกิดของวิถีจิตทางปัญจทวารมี ๗ วิถี คือ

วิถีจิตที่ ๑ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ขณะ

วิถีจิตที่ ๒ (ทวิ) ปัญจวิญญาณจิต ๑ ขณะ

วิถีจิตที่ ๓ สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ขณะ

วิถีจิตที่ ๔ สันตีรณจิต ๑ ขณะ

วิถีจิตที่ ๕ โวฏฐัพพนจิต ๑ ขณะ

วิถีจิตที่ ๖ ชวนวิถี ๗ ขณะ

วิถีจิตที่ ๗ ตทาลัมพนวิถี ๒ ขณะ


วิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวาร มีเพียง ๓ วิถี คือ

วิถีที่ ๑ อาวัชชนวิถี ๑ ขณะ

วิถีที่ ๒ ชวนวิถี ๗ ขณะ

วิถีที่ ๓ ตทาลัมพนวิถี ๒ ขณะ


ชวนวิถีจิตเกิดทั้ง 6 ทวาร คือ ปัญจทวาร (ตา หู จมูก ลิ้น และกาย) และ มโนทวาร (ใจ)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ