การเรียนรู้จากสิ่งที่ผิด

 
มด-แดง
วันที่  23 ส.ค. 2560
หมายเลข  29096
อ่าน  891

ขอนอบน้อมแด่ครูอาจารย์ทุกๆ ท่าน ที่ให้คำปรึกษาและชี้นำความรู้

วันนี้ข้าพเจ้ามดแดง มีข้อสงสัยว่าการทำผิดและมีคนบอกว่าคุณทำผิดจะต้องเจอกรรมอย่างนู่นอย่างนั้นเราต้องไปแก้กรรมอย่างงี้อย่างนั้น โดยความเชื่อของคนโบราณ ซึ่งพิธีกรรมบางอย่างก็มีไม่เหตุผลเลย ว่าแก้แล้วจะหาย

มดแดงคิดว่ากรรมคือกระทำที่เราทำลงไปและเราได้รับผลของการกระทำนั้นๆ และเราก็เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดและแก้ไขให้ดีขึ้น

มดแดงอยากทราบว่า" ถ้าเปรียบชีวิตคือ นักวิทยาศาสตร์ การทดลองก็เหมือนชีวิต เราอาจทดลองผิดหรือลองถูก ถ้าผิดเราก็เรียนรู้และแก้ไขจุดบกพร่อง เพื่อหาความถูกต้องและความสำเร็จ เหมือนกันกับชีวิตที่เราลองผิดลองถูก และเราเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดและพยายามไม่ทำซ้ำให้ผิดอีก "

มดแดงอยากทราบสิ่งที่มดแดงคิดนั้นถูกต้องรึป่าว และการเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดโดยไม่ต้องใช้พิธีกรรมทางความเชื่อของคนโบราณมาแก้ไขนั้น มดแดงไม่เห็นด้วย เพราะมดแดงคิดว่าความรู้และประสบการณ์สำคัญกว่าเชื่อ

โปรดให้ท่านครูอาจารย์ทุกท่านให้ความรู้และชี้แนะด้วยเทิดว่ามดแดงคิดถูกหรือป่าว 🙏🏻


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 ส.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งใดก็ตาม ที่จะทำลงไป และ แก้ไขด้วยตนเอง ก็ต้องพิจารณาตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ โดยที่ไม่ใช่เพียงความคิดของตนเองเป็นสำคัญคนเดียว ดังนั้น การประชุมกันทางโลก ก็อาศัยหลายๆ ความคิด ประมวลกัน สนทนา เพื่อจะได้รู้ความจริง ความเข้าใจถูก โดยไม่ใช่เอาความคิดเห็นของคนๆ เดียว เช่นเดียวกัน การอบรมปัญญา การลองผิดลองถูกด้วยตนเองก็ต้องอาศัยความคิดเห็นจากท่านอื่นๆ ที่จะได้ช่วยประมวลว่า สิ่งที่ลองผิด ลองถูก และคิดว่าถูกแล้ว นั้นถูกจริงหรือไม่

พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า กัลยาณมิตรเป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะอาศัยมิตรดี ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ตรวจสอบตามพระธรรมวินัย อันมีพระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตรอันสูงสุด ก็จะทำให้ได้ความเข้าใจถูกเพิ่มขึ้น ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 29 ส.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด ย่อมมีแน่นอนสำหรับบุคคลผู้ที่กระทำความผิด จะมากหรือน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวเราเองก็เช่นเดียวกัน พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเครื่องเตือนที่ดีอยู่เสมอ เพราะพระองค์ไม่เคยสอนให้เกิดอกุศลเลยแม้แต่น้อย,แม้จะทำผิด สามารถเกิดกุศลจิต เห็นโทษ พร้อมที่จะแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด กระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ต่อไป ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งจะแตกต่างไปจากผู้ที่ไม่เห็นโทษ ทั้งๆ ที่ตนเองผิด แสดงถึงกิเลสที่สะสมมาซึ่งน่ากลัวเป็นอย่างมาก, ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลที่ดีในชีวิตประจำวัน ปัญญานี้เองที่จะนำพาชีวิตไปสู่ความดีทั้งปวง ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Mayura
วันที่ 31 ส.ค. 2560

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
p.methanawingmai
วันที่ 1 ก.ย. 2560

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
มด-แดง
วันที่ 4 ก.ย. 2560

สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ประสาน
วันที่ 7 ก.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 11 ก.ย. 2560

พระภิกษุยังมีกิเลสก็ยังทำผิดพระวินัยแต่ท่านก็ปลงอาบัติ การปลงอาบัติคือการสำรวมระวังจะไม่ทำผิดพระวินัยอีก คฤหัสถ์ก็เหมือนกันถ้าเคยทำผิดแก้ไขได้มีความตั้งใจที่จะไม่ทำผิดอีกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
worrasak
วันที่ 20 พ.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 21 พ.ย. 2560

กรรมคือการกระทำ ไม่ว่าจะทำดีหรือทำชั่วสะสมอยู่ในจิตมีเหตุปัจจัยก็เกิดอีก ถ้าเราฟังธรรมะแล้วเข้าใจ ปัญญาก็จะเห็นประโยชน์ของความดีของกุศลที่เกิดแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่มองข้ามไปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 7 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ