สังฆาทิเสส

 
9999911111
วันที่  16 ก.ค. 2560
หมายเลข  28996
อ่าน  4,326

ถ้าทำผิดซ้ำ จะต้องทำยังไง

* สังฆาทิเสส


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 18 ก.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อาบัติสังฆาทิเสสเป็นอาบัติหนัก แต่แก้ไขได้โดยสงฆ์ คือ จะปลงอาบัติกับภิกษุเพียงรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ ต้องอาศัยสงฆ์ในการประพฤติ เพื่อการออกจากอาบัตินั้น เช่น การให้ปริวาส ให้มานัตต์ ต้องอาศัยสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูปขึ้นไป ในกรณีที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ไม่ได้อยู่ปริวาสกรรม ลาสิกขาออกไปเป็นคฤหัสถ์ ย่อมไม่มีอาบัติติดตัวแต่อย่างใด แต่เมื่อกลับเข้ามาบวชใหม่ อาบัติทั้งหมดที่ต้องแล้วไม่ได้ทำการแก้ไขเมื่อบวชครั้งก่อน ก็จะมีเหมือนอย่างเดิม ต้องทำการแก้ไขด้วยการออกจากอาบัตินั้นๆ ตามสมควรแก่อาบัติชนิดนั้นๆ ที่ตนได้ล่วง กล่าวคือถ้าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ปกปิดไว้นานเท่าใด ก็ต้องอยู่ปริวาสกรรม เท่ากับจำนวนวันที่ตนเองต้องถึงจะออกจากอาบัตินั้นได้ แต่เมื่อยังเป็นพระภิกษุอยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่ปริวาส แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องไปอยู่ในสถานที่ใด สถานที่หนึ่ง เพื่ออยู่ปริวาสกรรมครับ แม้แต่อยู่ในวัดของตนเอง ก็สามารถประพฤติอยู่ปริวาสกรรมได้ เพื่อแก้อาบัตินั้น ซึ่งสามารถแก้อาบัติสังฆาทิเสสได้ หากทำถูกวิธี และไม่ต้องไปสถานที่อื่นครับ แต่หากไปสถานที่อื่น ไม่รู้การแก้อาบัติ สังฆาทิเสส ก็ไม่สามารถแก้ได้ครับ การอยู่ปริวาสก็คือ การอยู่วัตร ประพฤติให้สมควร อยู่ในวัดตนเอง การอยู่ปริวาสก็เหมือนกับการติดคุก จำกัดบริเวณที่อยู่ ถูกลดฐานะ เช่น เคยมีสารเณรคอยรับใช้ก็ไม่มี เวลาเจอพระภิกษุต้องไหว้ก่อน แล้วก็บอกว่าเราทำผิดพระวินัยอะไรบ้าง เป็นต้นซึ่งสามารถอ่านวัตร ข้อปฏิบัติในการพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้ดังนี้

เชิญคลิก ...ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ .. ข้อวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส

ดังนั้นถ้าทำผิด ก็แก้ไข ตามที่กล่าวมาได้อีก ทุกอย่างแก้ไขได้ หากไม่ถึงการต้องอาบัติปาราชิก การเห็นโทษ และกระทำคืน ย่อมเป็นการประพฤติที่ถูกต้อง เหมาะสมตามพระธรรมวินัย เพราะไม่มีผู้ใดที่ไม่เคยทำผิด แต่ผิดแล้ว สำนึก แก้ไขถูกต้อง ย่อมเป็นบัณฑิตได้ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 18 ก.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การบวช เป็นเรื่องที่ยากมาก และการยินดีในการบวชก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดียวกัน ถ้าหากล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ไม่ประพฤติตามพระวินัย เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่รักษาพระวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ขาดความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ย่อมเป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเท่านั้น เมื่อต้องอาบัติแล้วไม่กระทำคืนตามพระวินัย ก็เป็นเครื่องกั้นการบรรลุมรรคผลนิพพาน กั้นการไปสู่สุคติด้วย แทนที่จะได้กระทำกิจที่ควรทำที่จะเป็นที่พึ่งสำหรับตนเอง แต่กลับไปเพิ่มอกุศล เพิ่มความไม่รู้ เพิ่มเหตุที่ไม่ดีให้กับตนเองที่จะทำให้ได้รับผลที่ไม่ดีในอนาคตข้างหน้า เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาเป็นอย่างมากทีเดียว

แม้แต่ที่กล่าวถึง การล่วงละเมิดสิกขาบท บ่อยๆ ก็คือ ไม่มีความละอาย ไม่เห็นโทษของการกระทำในสิ่งที่บรรพชิตทำไม่ได้ ก็มีแต่โทษเท่านั้น ถ้าสำนึกจริงๆ เห็นโทษจริงๆ ก็ทำการแก้ไขให้ถูกต้องตามพระวินัย ตั้งต้นใหม่ แต่ถ้าไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษจริงๆ ก็ยากต่อการที่จะไม่ทำผิดอีก ก็ผิดไปเรื่อยๆ สะสมโทษไปเรื่อยๆ เป็นโทษกับตนเองเท่านั้น พระภิกษุ ก็ตกนรกได้ ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
p.methanawingmai
วันที่ 19 ก.ค. 2560

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 19 ก.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 21 ก.ค. 2560

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทานา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ