ภิกษุนักพัฒนา บทบาทของพระภิกษุในหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ชั้น ม.6

 
thilda
วันที่  24 ก.ย. 2559
หมายเลข  28222
อ่าน  14,459

ในหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ชั้น ม.6 กล่าวถึงบทบาทของพระภิกษุว่ามีหลายบทบาท บทบาทหนึ่งคือพระนักพัฒนา และบอกด้วยว่า "พระสงฆ์เหล่านี้ได้ทำให้สังคมไทยได้ตระหนักว่า พระนั้นไม่ได้มีบทบาทเฉพาะพิธีกรรมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ท่านยังมีบทบาทที่สำคัญในพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีอีกด้วย"

ดังนั้น นักเรียนไทยได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็กว่า พระภิกษุไม่ได้เป็นแต่เพียงผู้ที่ศึกษาและเผยแพร่พระธรรมเท่านั้น ยังสามารถเป็นพระนักพัฒนาและได้รับการยกย่องจากสังคมอีกด้วย ซึ่งถ้าจะเป็นนักพัฒนาแล้ว ก็หนีไม่พ้นต้องติดตามข่าวสารบ้านเมือง ต้องดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ ฯลฯ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และต้องมีการพัฒนาความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือสังคมในด้านที่ตนต้องการช่วยเหลือปรับปรุง เคยอ่านเจอที่คนหนึ่งเขียนไว้ในเว็บว่า ตั้งใจไว้ตั้งแต่ก่อนบวชว่า บวชแล้วจะเป็นนักพัฒนา ควรจะทำความเข้าใจอย่างไรในเรื่องนี้คะ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในความพยายามของทางมูลนิธิฯ ที่จะช่วยให้สังคมมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนี้ค่ะ

วิชาพระพุทธศาสนา ม.6


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 24 ก.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญก็คือ ให้ความรู้กับประชาชนในสิ่งที่ถูกต้องว่า ที่ถูกนั้น พระภิกษุ คือ ใคร อย่างไร ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งก็นำสิ่งที่ถูกเผยแพร่ออกไป เท่าที่จะทำได้ ครับ

พระอริยสาวกผู้มีปัญญาในอดีต มีท่านพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นต้น ออกมาช่วยสังคมแบบคฤหัสถ์หรือไม่ หรือ รับเงินและทอง ช่วยสังคม หรือไม่ ไม่เลย เพราะท่านเคารพพระวินัย เคารพในพระพุทธเจ้า และ รู้ตัวเองว่า เป็นเพศใด ดังนั้นท่านช่วยสังคมที่ถูกต้อง ตามเพศบรรพชิต คือ ท่านแสดงธรรมอันเป็นการช่วยสังคมอย่างสูงสุดและเคารพพระวินัยที่จะไม่ทำอย่างคฤหัสถ์ ครับ ขออนุโมทนา

ขอเชิญฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ เรื่อง การช่วยเหลือสังคมที่ถูกต้องของพระภิกษุ

เชิญคลิกที่ลิงก์ข้างล่างนี้

ช่วยสังคมอย่างประเสริฐ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 24 ก.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การพัฒนาชุมชน การพัฒนาบริหารบ้านเมืองให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เป็นภาระหน้าที่ของคฤหัสถ์ ไม่ใช่ของพระภิกษุ, กิจหน้าที่สำคัญของพระภิกษุ คือ ศึกษาพระธรรมวินัย น้อมประพฤติตามพระธรรมวินัย ทำกิจที่ควรทำ ตามควรแก่เพศของตน แล้วแสดงความจริง ประกาศคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามความเป็นจริง ให้แพร่หลาย ซึ่งเป็นการช่วยสังคมที่ดีอย่างยิ่ง เกื้อกูลผู้อื่นให้เข้าใจพระธรรม แล้วความเข้าใจพระธรรม นี้เอง จะนำพาชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร ไม่ทำในสิ่งที่ผิด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 24 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
thilda
วันที่ 24 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 25 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
kukeart
วันที่ 25 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
j.jim
วันที่ 26 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 27 ก.ย. 2559

ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ ภิกษุทุศีลมีมากบวชแล้วไม่ประพฤติธรรมไม่รักษาพระวินัยอาบัติแล้วไม่ได้ปลงอาบัติตายไปเกิดในอบายภูมิค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 28 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ