ปฐมเอสนาสูตร - ปฐมสุขสูตร - ๑๓-o๖-๒๕๕๘

 
มศพ.
วันที่  7 มิ.ย. 2558
หมายเลข  26608
อ่าน  1,026

นโม ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ


เอสนาสูตร


...จาก...[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้าที่ ๑๖๑

และ

ปฐมสุขสูตร

...จาก...

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๐๗

...นำสนทนาโดย...


ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

[เล่มที่ 42]

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้าที่ ๑๖๑

. ปฐมเอสนาสูตร

(ว่าด้วยการแสวงหา ๓ อย่าง)

[๒๙๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้

๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑

การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๒๙๙] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งการแสวงหา ๓

อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ... ย่อมเจริญสัมมาวาจา... ย่อมเจริญ

สัมมากัมมันตะ... ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ... ย่อมเจริญสัมมาวายามะ...

ย่อมเจริญสัมมาสติ... ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป

เพื่อละซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

จบปฐมเอสนาสูตรที่ ๑

อรรถกถาปฐมเอสนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเอสนาสูตรที่ ๑ แห่งเอสนาวรรค ดังต่อไปนี้ .-

บทว่า กาเมสนา ได้แก่ การแสวงหา ค้นหา เที่ยวหา ปรารถนากามทั้งหลาย.

บทว่า ภเวสนา ได้แก่ การแสวงหาภพทั้งหลาย. บทว่า พฺรหฺมจริเยสนา

ได้แก่ การแสวงหาพรหมจรรย์ กล่าวคือมิจฉาทิฏฐิ.

จบอรรถกถาปฐมเอสนาสูตรที่ ๑.

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๐๗

๕. ปฐมสุขสูตร

(ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์และสุข)

[๖๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล

ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกานิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ

ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร อะไรหนอ

เป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

การไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้

คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ

สัมผัสไฟ สัมผัสท่อนไม้ สัมผัสศัสตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี ย่อมมาประชุม

พร้อมกัน โกรธเคืองเขา ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้,

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขนี้ คือ ความไม่หนาว

ความไม่ร้อน ความไม่หิว ความไม่ระหาย ไม่ต้องอุจจาระ ไม่ต้องปัสสาวะ

ไม่ต้องสัมผัสไฟ ไม่ต้องสัมผัสท่อนไม้ ไม่ต้องสัมผัสศัสตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี

ย่อมไม่มาประชุมพร้อมกัน โกรธเคืองเขา ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด

เป็นอันหวังได้สุขนี้ ดังนี้ .

จบปฐมสุขสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมสุขสูตรที่ ๕

ปฐมสุขสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังนี้ .-

สามัณฑกานิปริพาชก ถามท่านพระสารีบุตร ถึงสุขทุกข์ที่มีวัฏฏะเป็นมูล.

จบอรรถกถาปฐมสุขสูตรที่ ๕.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 7 มิ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ปฐมเอสนาสูตร

(ว่าด้วยการแสวงหา ๓ อย่าง)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการแสวงหา ๓ อย่าง คือ การแสวงหากาม

การแสวงหาภพ การแสวงหาพรหมจรรย์ (ในที่นี้คือ ความเห็นผิด) พร้อมทั้ง

ทรงแสดงว่า ควรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นไปเพื่อรู้

เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งการแสวงหาเหล่านั้น

ข้อความโดยสรุป

ปฐมสุขสูตร

(ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์และสุข)

ปริพาชกชื่อสามัณฑกานิ ได้ถามปัญหากับท่านพระสารีบุตรถึงเหตุของทุกข์

และสุข ว่าเป็นอย่างไร ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

การไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข เพราะมีการเกิด จึงมีทุกข์ประการต่างๆ มากมาย

คือต้องประสบกับความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต้องถ่าย

อุจจาระปัสสาวะ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม การไม่เกิด เป็นเหตุให้เกิดสุข

เพราะไม่มีการเกิด จึงไม่ต้องมีทุกข์ ไม่ต้องประสบกับความหนาว ความร้อน

ความหิว ความกระหาย ไม่ต้องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น จึงเป็นสุข.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ครับ

แสวงหาอะไร? แสวงหาสิ่งต่างๆ จนได้มาเพื่อทิ้ง

ความสุข ชีวิตที่เหลืออยู่ ทุกข์กาย...ทุกข์ใจ? เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 12 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 13 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 13 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ