ฟังพระอภิธรรมพื้นฐานมาถึงตอนที่ 525 ไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับอุปาทาน

 
papon
วันที่  20 ก.ย. 2556
หมายเลข  23651
อ่าน  1,065

ฟังพระอภิธรรมพื้นฐานมาถึงตอนที่ 525 ไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับ"อุปาทาน"

เรียนอาจารย์ทั้งสองขอความอนุเคราะห์เกี่ยวกับรายละเอียดด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อุปาทาน โดยศัพท์ หมายถึง การยึดมั่น ถือมั่น ซึ่ง อุปาทาน มี 4 อย่าง

1.กามุปาทาน (ความติดข้อง)

2.ทิฏฐุปาทาน (ความเห็นผิด)

3.สีลัพพตุปาทาน (ข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิด)

4.อัตตวาทุปาทาน (ความยึดถือว่าเป็นตัวตน)

กามุปาทาน (ความติดข้อง) คือ โลภะที่ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระ

ทบสัมผัส เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ยินดีพอใจ ในรูปที่สวยมากๆ ขณะนั้นก็เป็น

การยึดมั่นด้วยโลภะ คือ กามุปาทานแล้วครับ หรือ ขณะที่ชอบอาหารประเภทนี้มากๆ

ก็มีความยึดมั่นด้วยโลภะ ที่พอใจในรสอาหารประเภทนั้น แต่ไม่ได้มีความเห็นผิด

ทิฏฐุปาทาน (ความเห็นผิด) คือ ขณะที่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นประการต่างๆ เช่น มี

ความเห็นผิดว่า กรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี หรือ ตายแล้วไม่เกิดอีก หรือ ตายแล้วก็

เที่ยงแน่นอน ไปอยู่ในสถานที่เที่ยงแน่นอน เป็นต้น ขณะนั้นก็เป็น การยึดถือด้วย

ความเห็นผิด ที่เป็น ทิฏฐุปาทาน

สีลัพพตุปาทาน คือ ข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิด อันเกิดจากความเห็นผิด อันสำคัญว่า

การกระทำเช่นนี้จะทำให้บรรลุ ยกตัวอย่างเช่น การเดินกระโหย่งดังเช่นฤาษี คิดว่าเป็น

หนทางบรรลุ การนอนบนตะปู ทรมานตน สำคัญว่าเป็นหนทางบรรลุ การอาบน้ำ ล้าง

บาป เป็นต้น ครับ

อัตตวาทุปาทาน คือ ความเห็นผิดที่สำคัญว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตนจริงๆ ยกตัวอย่าง

เช่น เมื่อเกิดความคิดขึ้นมาว่า มีเราจริงๆ ในขณะนี้ ขณะนั้นก็ยึดถือด้วยความเป็นเรา

ด้วยความเห็นผิด ครับ ที่เป็น การยึดมั่นด้วยความเป็นเรา คือ อัตตวาทุปาทาน ครับ

ดังนั้น อุปาทาน 4 จึงเป็นสภาพธรรมที่เป็นโลภะ ความยินดีติดข้อง และทิฏฐิ

ที่เป็นความเห็นผิด 2 อย่างนี้ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก คือ โลภเจตสิก และ

ทิฏฐิเจตสิก

---------------------------------

อุปาทาน 5 หรือ อุปาทานขันธ์ 5 ก็เป็นอีกนัยหนึ่่ง

อุปาทานขันธ์ 5 คือ สภาพธรรมที่เป็นขันธ์ 5 เช่นกัน แต่เป็นที่ตั้งที่ยึดถือของ

โลภะ เป็นต้น จึงเป็นอุปาทานขันธ์ 5 ซึ่งก็คือสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด เว้นแต่

โลกุตตรธรรมครับ ซึ่งโลภะไม่สามารถติดข้องได้ ไม่สามารถยึดถือได้ จึงไม่เป็น

อุปาทานขันธ์ 5

ดังนั้น อุปทานขันธ์ 5 จึงหมายถึง ที่ตั้งที่เป็นยึดถือ ของโลภะ ก็หมายถึง สภาพ

ธรรมที่มีจริงทั้งหมด ยกเว้น โลกุตตรธรรม 9 ที่เป็นมรรคจิต 4 ผลจิต 4 และนิพพาน

ส่วนสภาพธรรมที่เหลือ ที่เป็นอุปทานขันธ์ 5 คือ จิตและเจตสิกที่เหลือ และรูป

ทั้งหมด คือ สภาพธรรมที่เป็นขันธ์ 5 นั่นเอง ที่ยกเว้น โลกุตตรธรรม 9

เพราะฉะนั้น อุปทานขันธ์ 5 จึงกว้างกว่า อุปาทาน 4 เพราะ อุปทาน 4 คือ โลภเจตสิก

และทิฏฐิเจตสิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ อุปาทานขันธ์ 5 คือ เป็นส่วนของสังขารขันธ์ ครับ

จึงกล่าวโดนสรุปได้ว่า อุปทานขันธ์ 5 เป็นสภาพธรรมที่เป็นที่ตั้งของการยึดถือ ส่วน

อุปทาน 4 เป็นสภาพธรรมที่เป็นตัวยึดถือ ยึดมั่นด้วยกิเลสคือ โลภะ และทิฏฐิ ครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ ครับ

อุปาทาน หรือขันธ์ เป็นตัวทุกข์?

โลภะ และ อุปาทาน และ ทิฏฐิ

ตัณหา คือ อุปาทาน ใช่หรือไม่

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ พิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ความเข้าใจ

ถูกเห็นถูกก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น การฟัง การสนทนาสอบถามในเรื่องของธรรม เป็นเหตุ

ที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้น เป็นมงคลอย่างแท้จริง สิ่งที่จะศึกษาให้เข้าใจ ไม่พ้นไป

จากชีวิตประจำวันเลย พระธรรมทีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เกื้อกูลให้เข้าใจ

ถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง ว่า เป็นธรรม แม้แต่ในเรื่องของอุปาทาน ก็เช่นเดียวกัน

ไม่ใช่เพียงคำ แต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับได้ ก็ย่อม

เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ความติดข้องยึดมั่นในกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มีจริงๆ ในชีวิต

ประำจำวัน ไม่ได้ห่างไกลจากชีวิตประจำวันเลย ก็เป็น กามุปาทาน

ความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งความเห็นผิด เช่น เห็นว่า ทานให้แล้ว ไม่มีผล มารดา

บิดา ไม่มีคุณ เป็นต้น ตลอดจนถึงการยึดถือในเรื่องของมงคลตื่นข่าวต่างๆ อย่างนี้

เป็นทิฏฐุปาทาน

ความยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัิติที่ผิด แต่สำคัญว่าเป็นความถูกต้อง เช่น มีการไป

ทำอะไรด้วยความจดจ้องต้องการ เพื่อที่จะให้กิเลสหมด ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้

เลย การยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิดที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา

ก็เป็นสีลัพพตุปาทาน

ส่วนความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนเป็นสัตว์บุคคล ก็เป็นอัตวา-

ทุปาทาน

เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว ก็ไม่พ้นไปจาก โลภะ กับ ความเห็นผิด นั่นเอง เป็น

อกุศลธรรมทั้งหมด ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เลยแม้แต่น้อย แต่ก็ยังมี ตราบใด

ที่ยังไม่สามารถดับได้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 21 ก.ย. 2556

อุปาทาน คือ ความยึดมั่น ถือมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Dhammarak
วันที่ 21 ก.ย. 2556

อุปาทาน องค์ธรรม คือ โลภเจตสิก

ขณะที่ อยากได้ อารมณ์ที่ยังมาไม่ถึง เรียกโลภะนั้นว่า ตัณหา

เมื่อได้อารมณ์นั้นมาแล้ว มีการยึดมั่น อย่างเหนียวแน่น ไม่ยอมสละ เรียกโลภะนั้นว่าอุปาทาน

ตัณหา เป็นทุกข์ เพราะ ต้องแสวงหา อุปาทาน เป็นทุกข์ เพราะ ต้องรักษา

พระอรรถกถาจารย์ อุปมาไว้ว่า เหมือนงูที่ออกจากรู เที่ยวแสวงหาเขียด ขณะนั้น ชื่อว่า ตัณหา ขณะที่จับได้เขียดแล้ว กัดไว้อย่างมั่น ไม่ยอมปล่อยง่ายๆ ขณะนั้นเรียกว่าอุปาทาน

อุปาทาน มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

คหณ ลกฺขณํ มีการยึดไว้ เป็นลักษณะ

อมุญฺจน รสํ มีการไม่ปล่อย เป็นกิจ

ตณฺหาทพฺหตฺตทิฏฺฐิ ปจฺจุปฏฺฐานํ มีตัณหาที่มีกำลังอย่างมั่นคง และมีความเห็นผิด เป็นผล

ตณฺหา ปทฏฺฐานํ มีตัณหา เป็นเหตุใกล้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
papon
วันที่ 21 ก.ย. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

การคิดว่าขับรถชนสุนัขตายและคิดว่าในชาติใดชาติหนึ่งต้องเกิดเป็นสุนัขแล้วจะมีคนมาขับรถชนเหมือนกัน เป็น ทิฏฐุปาทานหรือไม่ อย่างไรครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 21 ก.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

ถ้ามีการยึดถือว่า มีสัตว์ บุคคลจริงๆ ที่จะขับรถมาทับ อย่างนี้เป็น การยึดถือด้วย

ความเห็นผิด ครับ ที่เป็น ทิฏฐุปาทาน แต่ ถ้าคิดว่ามีคนจะมาทับ แต่ ไม่ได้เกิด

ความคิดในขณะนั้นว่ามีสัตว์ บุคคลจริงๆ คิดว่า จะมีคนมาขับรถมาทับ อย่างนี้

ไม่ได้ยึดถือด้วยความเห็นผิด ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
papon
วันที่ 21 ก.ย. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

ถ้าเป็นเช่นนั้นการขับรถชนสุนัขตาย วิบากที่ได้รับก็น่าจะเป็นทางทวารทั้ง 5 แต่ไม่รู้ว่าชาติไหนถูกต้องหรือไม่ครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
j.jim
วันที่ 24 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ