ความเพียร

 
Rodngoen
วันที่  12 พ.ค. 2556
หมายเลข  22886
อ่าน  3,083

1.ผมอยากจะรู้ว่า ความเพียรอย่างเดียวเพียงพอไหมครับที่จะบรรลุธรรมขั้นสูง หรือต้องรวมกับบุญกุศลของเราที่สั่งสมบำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่ชาติปางก่อน อย่างที่ว่าเมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม ก็จะได้มรรคได้ผล

2.วิธีทำความเพียร คือผมได้อ่านจากหนังสือเล่มหนึ่งแต่จำชื่อหนังสือไม่ได้ครับ ในหนังสือบอกว่าให้เราเจริญสติ กับเจริญปัญญา สลับกันไป คือผมอยากทราบว่าการเจริญสติ กับเจริญปัญญานั้นต่างกันอย่างไรครับ สมถะสลับกับวิปัสนาหรือเปล่าครับ

วิงวอนผู้รู้จุดแสงสว่างให้ผมนักปฏิบัติมือใหม่ด้วยครับ ขออนุโมทนาครับ

(หากผมใช้คำศัพท์ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Rodngoen
วันที่ 12 พ.ค. 2556

แล้วการเจริญปัญญานี้หมายถึงให้เราคิดพิจารณาถึงเหตุและผลของความทุกข์นั้นๆ

ใช่หรือไม่ครับ คือหมายถึงว่าไม่ต้องนั่งสมาธิ (ในความคิดของผม)

และการเจริญสติ นั้นหมายถึง การทำจิตให้เป็นสมาธิโดยการนั่งภาวนา บริกรรม

พุทโธ แบบนี้หรือเปล่าครับ (ในความคิดของผม)

ผมกำลังสับสนมากเลยครับทั้งคำศัพท์และแนวทางปฏิบัติ ไม่รู้จะเลือกเดินทางไหน

ดีครับ แต่ชีวิตประวันผมกำหนดให้รู้ลมหายใจเข้าออกทุกครั้งที่จะนึกได้ คือ

หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ ในอิริยาบถ ยืน เดิน นอน นั่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 12 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1.ผมอยากจะรู้ว่า ความเพียรอย่างเดียวเพียงพอไหมครับที่จะบรรลุธรรมขั้นสูง หรือ

ต้องรวมกับบุญกุศลของเราที่สั่งสมบำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่ชาติปางก่อน อย่างที่ว่าเมื่อ

เหตุและปัจจัยพร้อม ก็จะได้มรรคได้ผล

- หนทางการดับกิเลสจนหมดสิ้น เปรียบเหมือน การข้ามมหาสมุทรใหญ่ เพื่อไป

ถึงฝั่ง ที่เป็นฝั่ง คือ การดับกิเลส ถึงพระนิพพาน ดังนั้น ก็จะต้องมีผู้พายเรือ คือ

ตัวของผู้ที่จะข้ามไปถึงฝั่ง คือ ตัวผู้ที่จะดับกิเลส และจะต้องมีเรือ ซึ่งก่อนจะมีเรือ

ก็จะต้องสร้างเรือ มีอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ในการสร้างเรือ แม้แต่การสร้างเรือ ก็

จะต้องมีความเพียร แต่ มีความเพียรอย่างเดียวไม่พอ ก็จะต้องมีปัญญา ความฉลาด

ในการสร้างด้วย เป็นต้น และ อุปกรณ์ต่างๆ ในการสร้างเรือก็มีมาก ไม่ใช่มีเพียงอย่าง

เดียว และเมื่อสร้างเรือเสร็จแล้ว ก็จะต้องมีการพายเรือข้ามไป มีความเพียรอย่าง

เดียวไม่พอ ที่คิดว่าจะพายอย่างเต็มที่ แต่หากไม่รู้ทิศทางที่จะไป ความฉลาด ใน

การเดินทางทางทะเล วิธีการพายที่ถูกต้อง และสำคัญที่สุด จะต้องเป็นผู้มีความฉลาด

ในการพาย ในการเดินทาง ในการหลบหลีก อันตราย มี พายุ และ สัตว์ร้ายต่างๆ

ในการเดินทางไกล ข้ามฝั่งมหาสมุทรด้วยเรือที่ตนเองสร้าง ฉันใด การจะถึงการ

ดับกิเลสได้ ไม่ใช่เพียง ความเพียรอย่างเดียว จะต้องอาศัย กุศลธรรมประการ

ต่างๆ มากมาย ที่จะเกื้อหนุน ให้ถึงการดับกิเลสได้ ทั้งสติ ศรัทธา วิริยะ ขันติ

เมตตา อุเบกขา และ สำคัญที่สุด คือ ปัญญา ซึ่งธรรมหลายๆ อย่าง ที่ประกอบกัน

ย่อมจะเกื้อหนุนให้ถึงการดับกิเลสได้ ดังเช่น การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์

และ สาวกทั้งหลาย ก็ไม่ใช่เพียง วิริยะบารมีอย่างเดียเท่านั้น ก็มีทั้ง ทานบารมี

ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ประกอบกัน

เป็น บารมี 10 อันเป็นธรรมที่จะทำให้ถึงฝั่งในการดับกิเลส ครับ

สำคัญที่สุด หากมีความเพียร แต่ ไม่มีปัญญา ก็เป็นความเพียรผิด ที่เพียรไปใน

ทางอกุศลธรรมก็ได้ สำคัญ คือ จะต้องมีปัญญา ความเข้าใจถูก เพราะ อาศัยปัญญา

ก็ทำให้มีความเพียรที่ถูกต้อง ที่เรียกว่า สัมมาวายามะ เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิที่เป็น

ความห็นถูก เป็นสำคัญ ครับ

ดังนั้น กุศลทุกๆ ประการ จะช่วยเป็นเสบียง โดยมีปัญญาเป็นหัวหน้า ที่จะทำให้คิด

ถูก ปฏิบัติถูก และ พร้อมกับ วิริยะ ความเพียรที่ถูกต้อง เพราะมีปัญญาเป็นเครื่องนำ

ทางให้เพียรไปในทางที่ถูก ครับ

-------------------------------

2.วิธีทำความเพียร คือผมได้อ่านจากหนังสือเล่มหนึ่งแต่จำชื่อหนังสือไม่ได้ครับ

ในหนังสือบอกว่าให้เราเจริญสติ กับเจริญปัญญา สลับกันไป คือผมอยากทราบว่า

การเจริญสติ กับเจริญปัญญานั้นต่างกันอย่างไรครับ สมถะสลับกับวิปัสนาหรือเปล่า

ครับ

- การเจริญสติ และ เจริญปัญญา ในความเป็นจริง สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายดีเกิด

พร้อมกัน ร่วมกันอยู่แล้ว ทั้งสติและปัญญาก็เกิดพร้อมกัน ดังนั้น การเจริญสติ -

ปัฏฐาน หรือ ขณะที่ปฏิบัติ ไม่ได้หมายความว่า จะมีสติเท่านั้น ก็ต้องมีปัญญา

ด้วย เพราะ สติ ทำหน้าที่ระลึก ขณะที่ระลึก ปัญญาก็รู้ความจริงในขณะนั้น ซึ่ง

เกิดพร้อมกันในขณะจิตเดียว จึงไม่ได้แยกว่า ต้องเจริญสติก่อน แล้ว จึงค่อย

เจริญปัญญา แต่ เมื่อใด ที่ปัญญาเกิด ก็มีสติเกิดด้วยในขณะนั้น ครับ

ซึ่งสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษา สำคัญ คือ ขอให้ฟังพระธรรมให้เข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อน

เป็นสำคัญ ก็จะทำให้ไม่หลงเข้าใจผิด เพราะปัญญาขั้นการฟัง เป็นพื้นฐานที่จะ

ทำให้ปฏิบัติถูก และ เทียบคียงกับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ซึ่งผู้ถาม

สามารถศึกษา อ่านรายะละเอียด หรือ ฟังพระธรรมเพิ่มเติมได้ในเวปนี้ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 12 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสตามลำดับขั้น นั้น เป็นเรื่องที่ยาวไกลมาก คงยังไม่ต้องกล่าวถึงตรงนั้นก็ได้ แต่ขณะนี้ได้เริ่มสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก จากการฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แล้วหรือยัง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกตามลำดับ และจะเข้าใจว่า ความเพียร ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปเกิดร่วมกับจิตเกือบทุกประเภท เช่น ในขณะที่ฟังพระธรรม ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น ก็มีความเพียรเกิดร่วมด้วย หรือแม้กระทั่งขณะที่กุศลจิตเกิด ไม่พอใจ ขุ่นเคืองใจ โกรธ หรือ ติดข้องยินดีพอใจ เป็นต้น ก็มีความเพียรเกิดร่วมด้วย ดังนั้น ความเพียรจึงมีทั้งเพียรที่เป็นกุศล และเพียรที่เป็นกุศล ด้วย จึงควรพิจารณาว่า ความเพียรใดๆ ก็ตาม ถ้าหากว่าเมื่อเพียรไปแล้วเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศล ทำให้กุศลธรรมเสื่อมไป ความเพียรนั้นไม่ควรเริ่มต้น ไม่ควรประกอบ ในทางตรงกันข้าม ความเพียรใดๆ ถ้าหากว่าเมื่อเพียรไปแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม ทำให้กุศลธรรมเสื่อมไป ความเพียรนั้น ควรเริ่มควรประกอบ

สำหรับในชีวิตประจำวัน ความเพียรที่เป็นไปกับการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมอบรมเจริญปัญญา พร้อมทั้งเจริญกุศลประการต่างๆ เพื่อขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน เป็นความเพียรที่ควรประกอบ ควรอบรมให้มีขึ้นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะคล้อยไปสู่การดับกิเลสพ้นจากทุกข์ได้ในที่สุด

-ถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะมีความเพียรเกิดขึ้นเป็นไปในหนทางที่ผิด ก็ย่อมมีได้ ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้นที่จะป้องกันไม่ให้ตกไปในฝ่ายผิด ไม่ให้ตกไปในหนทางที่ผิด เพราะได้เข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ไม่ได้ไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ด้วยความเข้าใจผิด เพราะเหตุว่า สติ และปัญญา หรือ แม้กระทั่ง สมถะกับ วิปัสสนา ไม่ใช่เป็นการไปมีตัวตนที่เจริญหรือบังคับบัญชาให้เกิดขึ้นเป็นไปได้ ถ้าไม่มีเหตุให้สติเกิดขึ้น สติก็เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีเหตุให้ปัญญาเกิด ปัญญา ก็เกิดขึ้นไม่ได้ และที่สำคัญ การอบรมเจริญสมถะ และ วิปัสสนา นั้น จะขาดปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกไม่ได้ เพราะฉะนั้นแล้ว ก็ขอให้เริ่มที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ครับ

...ขอบพระคุณ อ. ผเดิม และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 12 พ.ค. 2556

ความเพียร อย่างเดียวบรรลุธรรมไม่ได้ ต้องมีธรรมหลายๆ อย่าง ที่ประกอบ

ด้วยปัญญา เช่น ทาน ศีล สติปัฏฐาน เป็นต้น ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Rodngoen
วันที่ 12 พ.ค. 2556

ครับผมขอกราบอนุโมทนาทุกท่านนะครับ

แล้วอีกอย่างคือว่า ผมอ่านในหนังสือมาว่าให้หมั่นพิจารณาร่างกายเรา เริ่มต้นเอาแค่ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ แล้วผมอยากรู้ว่าการพิจารณาสังขารนี่หมายถึงให้เราพิจารณาตอนนั่งภาวนาใช่หรือไม่ครับแบบว่าจินตนาการถึงเส้นผมแล้วพิจารณาดูว่ามันสกปรกอย่างไรถ้าไม่ได้ทำความสะอาด มันเหมือนลักษณะเดียวกับขนสัตว์ไหม เป็นต้น หรือว่าจะพิจารณาตอนไหนก็ได้ในทุกๆ อิริยาบถ หมายถึงว่าอยู่ๆ ก็นั่งคิดนอนคิดถึงเส้นผมอะไรแบบนี้หรือเปล่าครับ แบบไหนที่จะเรียกว่าพิจารณาสังขารครับผม

ขอขอบคุณทุกท่านและกราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 13 พ.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

ธรรม ไม่ใช่การจะไปเลือก หมวดได้ พิจารณาอย่างไร แต่ จะต้องมีความเข้าใจ

ถูกตั้งแต่ต้น เป็นพื้นฐานสำคัญ ว่า พระพุทธศาสนาสอนอะไร โดยศึกษาอย่าง

ละเอียด รอบคอบด้วยความเคารพ ไม่ใช่เพียงจะทำ แต่ เพื่อเข้าใจ เพราะฉะนั้น

แทนที่จะทำ พิจารณาสังขารอย่างไร ก็เข้าใจให้ถูกก่อนว่า ธรรม คือ อะไร แม้แต่

คำเดียว หากไม่มีความเข้าใจเบื้องต้นเช่นนี้แล้ว จะไปปฏิบัติ ก็เป็นการปฏิบัติผิด

เสียแล้ว เพรราะยังไม่มีความเข้าใจพื้นฐานเลย ครับ ขอให้กลับมาสู่การฟัง เป็น

สำคัญ ไม่ใช่การจะทำ จะพยายามพิจารณาสิ่งหนึ่งใด โดยที่ความเข้าใจขั้นการฟัง

ยังไม่เพียงพอค รับ ขออนุโมทนา

เชิญคลิกฟังที่นี่ ครับ

เริ่มจากความเห็นถูกตั้งแต่ขั้นการฟัง

ฟังเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นธรรมะ

ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีจริง

หาฟังได้ในหมวดฟังธรรม ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
j.jim
วันที่ 13 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Rodngoen
วันที่ 13 พ.ค. 2556

ขอขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
jaturong
วันที่ 14 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Rodngoen
วันที่ 16 พ.ค. 2556

ท่านอาจารย์ครับแล้ววิธีอ่านเพื่อเริ่มความเห็นถูกเป็นอีกวิธีหนึ่งได้ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 17 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ ๑๐ ครับ

สำคัญที่ความเข้าใจ แม้กระทั่งอ่าน ก็ต้องถามว่า อ่านอะไร? อ่านข้อความธรรม

ที่เป็นพระพุทธพจน์ เป็นวาจาสัจจะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหรือไม่ เพื่ออะไร?

ถ้าได้อ่านสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เช่นเดียวกันกับการฟัง

เ้ป็นการศึกษาเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น ดังนั้น ทั้งการฟัง การอ่าน การสนทนา

การสอบถามจากท่านผู้รู้ การพิจารณาไตร่ตรองในพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ทั้งหมดนั้น

ล้วนเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกทั้งสิ้น ความเพียรที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ก็เป็น

ความเพียรที่ถูกต้อง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Rodngoen
วันที่ 17 พ.ค. 2556

ขอบพระคุณอย่างสูงครับอาจารย์

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Sea
วันที่ 1 มี.ค. 2565

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
nui_sudto55
วันที่ 22 ก.ย. 2566

อนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ