ผมเป็นพระบวชใหม่ ทำผิด สังฆาทิเสส จะแก้ยังไงครับ

 
monk10
วันที่  2 พ.ค. 2556
หมายเลข  22846
อ่าน  167,807

ตอนนี้ยังบวชอยู่ครับ พึ่งทำผิดวันนี้อยากทราบว่าต้องทำยังไงบ้างครับ ไม่อยากมีกรรมติดตัว สำนึกผิดแล้วจริงๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 2 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ ครับ

อาบัติสังฆาทิเสส แม้จะเป็นอาบัติหนัก แต่ก็เป็นอาบัติที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามพระวินัย ซึ่งการประพฤติที่จะทำให้พ้นจากอาบัติดังกล่าวได้ เรียกตามพระวินัยว่า "ประพฤติวุฏฐานวิธี" หรือ การอยู่กรรม (หรือ ที่คุ้นกันในคำว่า อยู่ปริวาสกรรม) ซึ่งจะต้องอาศัยสงฆ์เป็นหลัก เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ไม่ควรปกปิดไว้ ต้องบอกแก่พระภิกษุด้วยกันว่า ตนเองต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพราะถ้าปกปิดไว้กี่วัน หรือเป็นเดือน เป็นปี ก็ต้องอยู่ปริวาสตามวันที่ตนเองได้ปกปิดอาบัติไว้ อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังปฏิญาณตนว่าเป็นพระภิกษุเมื่อต้องอาบัติแล้วก็จะต้องกระทำคืนแก้ไขให้ถูกต้องตามพระวินัย เห็นโทษ พร้อมทั้งมีความจริงใจที่จะไม่ล่วงละเมิดอีก เพื่อให้ตนเองพ้นจากอาบัตินั้นๆ เพราะถ้าไม่แก้ไข ยังเป็นผู้มีอาบัติอยู่ ย่อมเป็นเครื่องกั้นสวรรค์ กั้นการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ถ้ามรณภาพลงในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็เป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า [แต่ถ้าได้ลาสิกขา (คือ สึกไป) เป็นคฤหัสถ์ โดยที่ยังไม่ได้อยู่ปริวาสกรรม ก็ไม่มีอาบัติติดตัวอีกต่อไป เพราะไม่ได้เป็นพระภิกษุแล้ว] ก็ขอให้พระคุณเจ้าได้สอบถามกับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ว่า มีการอยู่ปริวาสกรรมที่ไหนบ้างเพื่อจะได้ไปอยู่ปริวาสกรรม ซึ่งจะทำให้พ้นจากอาบัติดังกล่าวได้ ครับ

เมื่อบวชแล้วการมีโอกาสได้ศึกษาในส่วนของพระวินัยบัญญัติพร้อมทั้งมีการสอบถามข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ได้เข้าใจถึงสิ่งที่ถูกกับสิ่งที่ผิด ซึ่งจะทำให้เราได้น้อมประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องและงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่ผิด และที่สำคัญจะต้องรู้ถึงจุดประสงค์ของการบวชด้วยว่าเพื่อศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเอง ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 2 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

นมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ ครับ

ชีวิตของเพศบรรพชิตเป็นชีวิตที่รักษายาก เพราะยากด้วยการสละความยินดีพอใจและความประพฤติในชีวิตคฤหัสถ์ซึ่งยังมีความผูกพันเกี่ยวข้องด้วยกามโดยสิ้นเชิง จึงควรสำรวมระวังรักษาข้อประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยด้วยสติและปัญญาที่เกิดจากความเข้าใจพระธรรม ซึ่งสำหรับการต้องอาบัติสังฆาทิเสสก็สามารถรักษาให้พ้นไปได้โดยทำตามพระวินัยบัญญัติที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ โดยการอยู่กรรม แสดงโทษกับผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเมื่อได้แก้ไขแล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ ไม่ใช่เพียงแก้ไขในเหตุการณ์เฉพาะหน้า แต่ควรศึกษาพระวินัยให้กระจ่างเพื่อประพฤติตาม และศึกษาพระธรรมให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อประโยชน์ คือ จะได้รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร และจะได้น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมได้ดียิ่งขึ้นซึ่งก็จะเป็นประโยชน์กับตนเอง ต้องอาบัติน้อยลง และกุศลธรรมเจริญขึ้น และที่สำคัญที่สุด การรักษาพระวินัยก็จะทำให้ละอาสวะกิเลสที่มีอยู่ได้ และก็ยังเป็นประโยชน์กับผู้อื่นด้วย คือ ทำให้ผู้ที่ทำกุศลกับพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้กุศลผลบุญของผู้ทำมีมาก และเอื้อต่อองค์รวม คือ เป็นการรักษาพระธรรมวินัยให้ถูกต้อง ธำรงพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบต่อไป เพราะพุทธบริษัทที่เป็นประธาน คือ พระภิกษุ ประพฤติถูกต้องเหมาะสม ครับ

ดังนั้น ไม่ควรประมาทในการศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะกิจของพระภิกษุ คือ ศึกษาพระธรรมและอบรมปัญญา ส่วนอาบัติที่เกิดขึ้นก็สามารถแก้ได้หากไม่ใช่ปาราชิก ซึ่งก็ต้องเห็นโทษตามความเป็นจริง และสำคัญที่สุด คือ สำรวมระวังต่อไปด้วยการศึกษาและเข้าใจในพระธรรม ครับ

ขออนุโมทนา ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
monk10
วันที่ 3 พ.ค. 2556

ได้บอกกับพระอาจารย์แล้วครับ แต่พระอาจารย์บอกว่า ที่วัดไม่สามารถทำพิธีปริวาสกรรมได้เพราะไม่มีผู้รู้ แล้วจะทำยังไงดีครับ เหลือเวลาอีก สัก 7 วัน พ้นจากนี้ก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสมาบวชอีกเมื่อไหร่ รู้สึกไม่สบายใจ และกลัวว่า จะเป็นบาปติดตัวทำอะไรจะไม่เจริญ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 3 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้า ที่เคารพ ครับ

สืบเนืองจากความคิดเห็นที่ 3 ครับ

ถ้าหากพระคุณเจ้าได้ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว อาบัติที่ต้องไว้ก็ไม่มีอีกต่อไป เพราะเป็นคฤหัสถ์แล้ว ก็ขอให้เป็นคฤหัสถ์ที่ดี ทำกิจที่ควรทำ ทำดีและฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ แต่ถ้ากลับมาบวชอีกเมื่อใด อาบัติที่ต้องไว้เมื่อบวชครั้งก่อนก็กลับมาทั้งหมด ก็จะต้องมีการกระทำคืนแก้ไขตามพระธรรมวินัยเพื่อให้พ้นจากอาบัตินั้นๆ จึงสรุปได้ว่า ถ้าสึกไปแล้วไม่มีอาบัติ ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ....

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
monk10
วันที่ 3 พ.ค. 2556

แล้วอาบัตินี้จะมีผลต่อการดำเนินชีวิตหรือเปล่าครับ เห็นบางคนเขาบอกว่า ถ้าสึกออกไปแล้วชีวิตจะไม่มีความเจริญทำอะไรก็ติดๆ ขัดๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 3 พ.ค. 2556

นมัสการเรียน ความเห็นที่ 6 ครับ

สำหรับอาบัติที่เคยมีตอนบวช เมื่อสึกมาเป็นคฤหัสถ์อาบัตินั้นย่อมไม่ติดตัวมาอีก และอาบัติที่เคยล่วงก็ไม่เข้ามาทำอะไรให้ติดขัดด้วย เพราะเป็นอาบัติที่เป็นโทษสำหรับเพศบรรพชิตเท่านั้น ครับ

แต่ก็ต้องพิจารณาอาบัติที่ล่วงในขณะที่เป็นเพศบรรพชิตด้วยว่า อาบัตินั้นถึงขนาดล่วงอกุศลกรรมบถหรือไม่ เช่น อาบัติประเภท ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ที่เป็นกรรมหนัก และ ทำอกุศลกรรมนั้นบ่อยๆ มากๆ ในเพศบรรพชิต กรรมหนักที่ล่วงอกุศลกรรมบถที่ทำบ่อยๆ ในเพศบรรพชิตเป็นปโยควิบัติที่มีกำลัง ย่อมทำให้อกุศสลกรรมในอดีตมาให้ผลได้ง่ายขึ้น ทำให้พบเจอในสิ่งที่ไม่ดีได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศบรรพชิตอยู่หรือสึกออกมาแล้วเป็นเพศคฤหัสถ์ หากแต่ว่าอาบัติที่ล่วงไม่ได้เป็นอกุศลกรรมบถ เช่น ไม่ถึงขนาดฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ที่ทำบ่อยเพียงแต่อาบัติไม่มาก เช่น ทานอาหารหลังเที่ยง อาบัติเล็กน้อยต่างๆ อาบัติเหล่านั้นย่อมไม่มีผลเลยต่อการเป็นเพศคฤหัสถ์ ครับ

ขออนุโมทนา ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
monk10
วันที่ 3 พ.ค. 2556

ทำผิดสังฆาทิเสส แต่ไม่ถึงขั้นปาราชิก จะมีผลหรือไม่ครับ ไม่ได้ไปฆ่าสัตว์และลักขโมย

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 3 พ.ค. 2556

นมัสการเรียน ความเห็นที่ 11 ครับ

อาบัติสังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อดังนี้

๑. แกล้งปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน

๒. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ

๓. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี

๔. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถ้อยคำพาดพิงเมถุน

๕. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยาหรือแม้แต่หญิงขายบริการ

๖. ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อนสร้างกุฏิด้วยการขอ และสร้างใหญ่เกินประมาณ

๗. สร้างวิหารใหญ่โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น

๘. แกล้งใส่ความภิกษุอื่นว่าต้องอาบัติปาราชิกโดยไม่มีมูล

๙. แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าภิกษุอื่นต้องอาบัติปาราชิกโดยไม่มีมูล

๑๐. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน

๑๑. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน

๑๒. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง ๓ ครั้ง

๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์

ก็ต้องพิจารณาละเอียดครับว่าผิดข้อไหน และ จะต้องดูการกระทำผิดว่าร้ายแรงและบ่อยๆ หรือไม่ หากว่า ผิดถึงขนาดถึงอกุศลกรรมบถ และ ผิดบ่อยๆ ก็เป็นไปได้ ที่จะเป็นปโยควิบัติ เอื้อต่อการที่จะทำให้อกุศลกรรมในอดีตมาให้ผลในชาติปัจจุบันได้

ซึ่งใน ๑๓ ข้อ ... ข้อที่ ๙ ๑๐ และ ๑๑ ที่จะทำให้ถึงอกุศลกรรมบถ ล่วงศีลที่เป็นเหตุ เป็นปโยควิบัติได้ และเป็นเหตุให้ไปอบายภูมิได้ ส่วนข้ออื่นๆ แม้ต้องอาบัติแล้ว แม้มีอาบัติติดตัว เพราะยังไม่ได้ปลง เมื่อสึกมาเป็นคฤหหัสถ์ ย่อมไม่มีผลกับกรรมในอดีตที่เป็นอกุศลกรรมมาให้ผล เพราะไม่ใช่การทำอกุศลกรรม เพียงแต่เป็นการล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติ ที่ไม่มีผลเมื่อเป็นเพศคฤหัสถ์ ครับ

ขออนุโมทนา ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
monk10
วันที่ 3 พ.ค. 2556

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ ผมเมื่อทำผิดแล้วก็รีบแจ้งพระอาจารย์ทันที ไม่ถึงวันเลย แต่ใจก็ไม่อยากมีอาบัติติดตัวเหมือนกัน พระอาจารย์ก็บอกให้หมั่นสวดมนต์ แผ่เมตตาไว้เยอะๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
jaturong
วันที่ 3 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 3 พ.ค. 2556

นมัสการเรียน ความเห็นที่ 13 ครับ

ขออนุญาตอธิบายสนทนาเพิ่มเติมครับ ในส่วนของคำแนะนำที่จะต้องให้สวดมนต์แผ่เมตตาว่า จริงๆ แล้วสิ่งที่ควรทำ คือ การศึกษาอบรมปัญญาด้วยการศึกษาพระธรรมเป็นสำคัญ จะเป็นประโยชน์ เพราะจะทำให้เจริญปัญญา รู้ว่าอะไรควรไม่ควร เพื่อที่จะได้ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้อง และ แม้สึกออกมาแล้ว ก็ควรศึกษาพระธรรมเป็นสำคัญ ครับ

ขออนุโมทนา ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
แมวทไวไลท์
วันที่ 5 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
orawan.c
วันที่ 6 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Chanatip
วันที่ 19 ธ.ค. 2556

ขออนุญาตนะครับ คือผมทำผิดอาบัติสังฆาทิเสส ข้อที่ 1 ครับ แล้วศึกมาแล้ว แต่ไม่ได้บอกใคร จะเป็นบาปไหม คือเครียดมาก กลัว ผมเป็นพระที่บวชใหม่น่ะครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
Tanamax
วันที่ 19 พ.ค. 2557

แล้วอาบัติสังฆาทิเสสข้อ 1 ทำผิดแล้วจะได้รับผลยังไงถ้าไม่แก้ ทั้งตอนเป็นพระและถ้าสึกมาแล้วจนตายไป มีผลตอนไหน เป็นกรรมหรือเปล่า มีผลอะไรบ้างถ้ายังเป็นพระอยู่แล้วตาย กับสึกออกมาแล้วไม่ได้แก้แล้วตาย และมีผลต่อการดำเนินชีวิตหรือเปล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
wannee.s
วันที่ 29 พ.ค. 2557

ภิกษุเวลาทำผิดพระวินัยก็ปลงอาบัติ การปลงอาบัติก็คือการพูดหรือแสดงความผิดของตัวเองให้พระภิกษุสหายธรรมได้รับรู้ และตั้งใจสำรวมระวังไม่ทำอีก ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
nutkung
วันที่ 2 มิ.ย. 2557

แล้วพระที่ทำผิดปราชิกตามที่ออกข่าวอ่ะคับสึกแล้วจะไม่มีบาปหรือกรรมติดตัวหรอคับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
wannee.s
วันที่ 4 มิ.ย. 2557

พระที่ปราชิก ถ้าสึกแล้วไม่มีอาบัติ แต่โทษของอกุศลกรรมที่ทำไว้ต้องได้รับผลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
Dekdek.eg
วันที่ 12 มิ.ย. 2557

ผมทำอาบัติสังฆาทิเสสข้อ 1 สำนึกผิดแล้ว ต่อไปจะตั้งใจหมั่นสวดมนต์ แผ่เมตตาอยู่ในศีลและจะไม่ทำอีกเป็นอันขาดตลอดการเป็นพระครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
saha
วันที่ 8 ก.ค. 2557

ผมทำอาบัติสังฆาทิเสสข้อ ๑ ๓ ๔ ๕ โดยที่ตั้งใจ ก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ทุกท่านรับฟังไว้ด้วย และจะไม่ทำอีกแล้ว ตลอดการเป็นพระ แล้วเข้าพรรณษานี้จะเคร่งกับการเรียนบทสวดมนต์ ให้มากๆ ๆ ครับ

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

พระอนุรักษ์ อาภาธโร ....

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
krid
วันที่ 3 ก.ย. 2557

ผมก็เคยทำผิด สังฆาทิเสสข้อ ๑. ว่าจะไปอยู่กับ แต่ไม่มีเวลา กลัวสึกไปจะมีกรรมติดตัว. มันจะมีผลตอนสึกไปแล้วหรือเปล่าครับ กลัวมาก

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
khampan.a
วันที่ 28 ก.ย. 2557

เรียน ความคิดเห็นที่ 26 ครับ

ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติติดตัวแต่ประการใด เพราะไม่ใช่พระภิกษุแล้ว ก็ขอให้ตั้งใจเป็นคฤหัสถ์ที่ดี ด้วยการฟังพระธรรมและไม่ประมาทในการเจริญกุศล ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 75  
 
Kittiphong
วันที่ 2 ต.ค. 2559

ผมเองก็เคยทำอาบัติประพฤติผิดพระวินัย แต่นี้ต่อไปจะหมั่นทำดี สร้างกรรมดี สำนึกความผิดที่ทำไป

ขออนุโมทนากับความดี กุศลบุญ

 
  ความคิดเห็นที่ 107  
 
Ployprom
วันที่ 13 ส.ค. 2561

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 108  
 
Guide
วันที่ 30 ก.ย. 2561

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 109  
 
Khamsone
วันที่ 13 เม.ย. 2562

ผมก็ผิดข้อ ๑ สังฆาทิเสส วิธีการเข้ากรรมทำไงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 110  
 
chatchai.k
วันที่ 13 เม.ย. 2562

ขอเชิญคลิกอ่าน..

ปริวาสกรรมทำกันถูกต้องหรือไม่ และ ที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต้องเป็นอย่างไร

ข้อคิดเกี่ยวกับการบวช โดย อ.คำปั่น

@ เมื่อบวชแล้วการมีโอกาสได้ศึกษาในส่วนของพระวินัยบัญญัติพร้อมทั้งมีการสอบถามข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ได้เข้าใจถึงสิ่งที่ถูกกับสิ่งที่ผิด ซึ่งจะทำให้เราได้น้อมประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องและงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่ผิด และที่สำคัญจะต้องรู้ถึงจุดประสงค์ของการบวชด้วยว่า เพื่อศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเอง ครับ

@ ถ้าหากพระคุณเจ้าได้ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว อาบัติที่ต้องไว้ก็ไม่มีอีกต่อไปเพราะเป็นคฤหัสถ์แล้ว ก็ขอให้เป็นคฤหัสถ์ที่ดี ทำกิจที่ควรทำ ทำดีและฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ แต่ถ้ากลับมาบวชอีกเมื่อใด อาบัติที่ต้องไว้เมื่อบวชครั้งก่อนก็กลับมาทั้งหมด ก็จะต้องมีการกระทำคืนแก้ไขตามพระธรรมวินัยเพื่อให้พ้นจากอาบัตินั้นๆ จึงสรุปได้ว่า ถ้าสึกไปแล้ว ไม่มีอาบัติ ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติม ..

การบวช เรื่องที่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องตรงตามพระพุทธประสงค์

ข้อความบางตอนจากกระทู้ข้างต้นนี้ ...

๑๔. การบวชดีสำหรับผู้ที่เข้าใจถูกต้องและมีอัธยาศัยที่จะขัดเกลากิเลสอย่างแท้จริงในเพศบรรพชิต ไม่ใช่การบวชชั่วคราว บวชตามประเพณีนิยม หรือบวชด้วยความหวังประโยชน์แก่ตน แต่จะเป็นผลเสียอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะจะนำไปสู่การละเมิดพระวินัยอันก่อให้เกิดผลร้ายแก่ตนและทำให้พระศาสนาเสื่อมสูญต่อไปในภายภาคหน้า

 
  ความคิดเห็นที่ 112  
 
sumek
วันที่ 17 พ.ค. 2562

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 117  
 
rsstc47
วันที่ 29 ก.ค. 2563

ผมทำอาบัติสังฆาทิเสสข้อ ๑ ๓ ๔ โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เป็นพระบวชใหม่ไม่ได้ศึกษาอย่างดีพอ พอมาทราบก็กลัว จะมีผลกรรมติดตัวไป จึงขอมาแสดงอาบัติ บอกทุกท่านครับ ว่าผมจะไม่ทำอีก จะตั้งใจศึกษา ธรรมเล่าเรียนต่อ พอมารู้ข้ออาบัติจริงๆ แล้วกลัวมากครับ ตอนนี้รู้แล้วครับ

พระสิทธิชัย ธมฺมวโร

 
  ความคิดเห็นที่ 118  
 
Supen
วันที่ 4 ก.ย. 2563

กระผม ผิดข้อ 1 สังฆาทิเสส สึกมาแล้ว แล้วกระผมมีบุตรชาย ได้บวชเรียน จะมีผลอะไร ไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 119  
 
guideksr
วันที่ 26 ธ.ค. 2563

ถ้าเราติดอาบัติสังฆาทิเสส แล้วสึกไปแล้วติดอาบัติสังฆาทิเสสไป แต่กลับมาบวชใหม่แล้วมาอยู่ปาริวาสกรรม แต่ฉายาที่บวชใหม่ไม่ใช่ฉายาเก่า กรรมที่ติดสังฆาทิเสสครั้งแรกจะแก้หลุดไหมคับ ใครที่รู้ช่วยตอบผมด้วยนะคับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 120  
 
khampan.a
วันที่ 26 ธ.ค. 2563

เรียน ความคิดเห็นที่ 119 ครับ

เข้าใจว่า แม้ว่าจะฉายาไม่ตรงกับครั้งแรก แต่ความเป็นบุคคลนี้ ก็ไม่ได้เปลี่ยนไป เพราะชื่อ ก็เพียงสำหรับเรียกกันเท่านั้น ดังนั้น เมื่อได้กระทำการอุปสมบทอย่างถูกต้องตามพระวินัย ก็เป็นภิกษุ และ อาบัติทั้งหมดที่ล่วงละเมิดเมื่อบวชคราวที่แล้ว ก็กลับมาทั้งหมด ซึ่งจะต้องทำการแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะถ้าไม่แก้ไข ก็คือ เป็นผู้มีอาบัติติดตัวเหมือนเดิม เป็นโทษกับตนเองเหมือนเดิม ถ้ามรณภาพไปในขณะที่มีอาบัติติดตัวอยู่ ก็ไปเกิดในอบายภูมิเท่านั้น เพราะมีอาบัติเป็นเครื่องกั้นการเกิดในสุคติภูมิ ดังนั้น เมื่อได้เข้ามาเป็นภิกษุอีกครั้ง อาบัติสังฆาทิเสสที่เคยต้องก็ต้องทำการแก้ไข ด้วยการประพฤติวุฏฐานวิธีตามพระวินัย ตั้งแต่ขอปริวาส เป็นต้น จึงจะพ้นจากอาบัติดังกล่าวได้ ดังนั้น จากประเด็นคำถาม เมื่อทำอย่างถูกต้องตามพระวินัย ก็สามารถจากอาบัติสังฆาทิเสสได้

แต่ข้อที่น่าพิจารณา คือ การบวชเป็นเรื่องยาก และ อันตรายมาก ถ้าไม่ได้มีความจริงใจที่จะมีความประพฤติขัดเกลากิเลสของตนเอง มีแต่โทษเท่านั้น ผู้ที่ไม่สามารถดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้ ก็ลาสิกขา (สึก) ไปเป็นคฤหัสถ์ ก็เป็นผู้ไม่มีอาบัติอีกต่อไป เพราะไม่ใช่พระภิกษุแล้ว กิจที่จะต้องมาตามแก้ไขอาบัติ จึงไม่มี ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ....

 
  ความคิดเห็นที่ 121  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 122  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ธ.ค. 2563

ข้อความบางตอนจากหนังสือ...

ทำไมบวช

คนที่ไม่เข้าใจพระธรรม ไม่เห็นกิเลสของตัวเองและไม่ได้สะสมอุปนิสัยในการสละเพศคฤหัสถ์ แล้วบวชนั้น ไม่ใช่ผู้ที่จริงใจและไม่ใช่ผู้ตรง เพราะถามว่าบวชทำไม ถ้าตอบว่าเพราะเหตุนั้นๆ แต่ไม่ใช่เพราะได้เข้าใจพระธรรม และรู้อัธยาศัยของตนเองว่าเพื่อศึกษาพระธรรมและขัดเกลากิเลสในเพศภิกษุตามพระธรรมวินัยแล้ว สมควรบวชไหม การบวชเป็นภิกษุไม่ใช่เป็นอยู่อย่างสบายให้ผู้คนกราบไหว้ แต่เพราะเป็นผู้ที่เห็นกิเลสและเห็นโทษของกิเลส และรู้ว่าหนทางเดียวที่จะขัดเกลากิเลสก็ด้วยความเข้าใจพระธรรม จึงบวชเพื่อศึกษาธรรมและขัดเกลากิเลสยิ่งกว่าคฤหัสถ์ ฉะนั้น การดำรงชีวิตของคฤหัสถ์และบรรพชิตจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 
  ความคิดเห็นที่ 123  
 
guideksr
วันที่ 27 ธ.ค. 2563
อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 120 โดย khampan.a

เรียน ความคิดเห็นที่ 119 ครับ

เข้าใจว่า แม้ว่าจะฉายาไม่ตรงกับครั้งแรก แต่ความเป็นบุคคลนี้ ก็ไม่ได้เปลี่ยนไป เพราะชื่อ ก็เพียงสำหรับเรียกกันเท่านั้น ดังนั้น เมื่อได้กระทำการอุปสมบทอย่างถูกต้องตาม พระวินัย ก็เป็นภิกษุ และ อาบัติทั้งหมดที่ล่วงละเมิดเมื่อบวชคราวที่แล้ว ก็กลับมาทั้งหมด ซึ่งจะต้องทำการแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะถ้าไม่แก้ไข ก็คือ เป็นผู้มีอาบัติติดตัวเหมือนเดิม เป็นโทษกับตนเองเหมือนเดิม ถ้ามรณภาพไปในขณะที่มีอาบัติติดตัวอยู่ ก็ไปเกิดในอบายภูมิเท่านั้น เพราะมีอาบัติเป็นเครื่องกั้นการเกิดในสุคติภูมิ ดังนั้น เมื่อได้เข้ามาเป็นภิกษุ อีกครั้ง อาบัติสังฆาทิเสส ที่เคยต้อง ก็ต้องทำการแก้ไข ด้วยการประพฤติวุฏฐานวิธี ตามพระวินัย ตั้งแต่ขอปริวาส เป็นต้น จึงจะพ้นจากอาบัติดังกล่าวได้ ดังนั้น จากประเด็นคำถาม เมื่อทำอย่างถูกต้องตามพระวินัย ก็สามารถจากอาบัติสังฆาทิเสสได้

แต่ข้อที่น่าพิจารณา คือ การบวช เป็นเรื่องยาก และ อันตรายมาก ถ้าไม่ได้มีความจริงใจที่จะมีความประพฤติขัดเกลากิเลสของตนเอง มีแต่โทษเท่านั้น ผู้ที่ไม่สามารถดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้ ก็ลาสิกขา (สึก) ไปเป็นคฤหัสถ์ ก็เป็นผู้ไม่มีอาบัติอีกต่อไป เพราะไม่ใช่พระภิกษุแล้ว กิจที่จะต้องมาตามแก้ไขอาบัติ จึงไม่มี ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ....

ขอบคุณคับ ตอนนี้ผมก็กลับมาแก้ไขอยู่ปาริวาสคับ ขอบคุณที่แนะนำให้ผมด้วยคับ

 
  ความคิดเห็นที่ 124  
 
Patipan
วันที่ 4 ม.ค. 2564

สวัสดีผมมีเรื่องอยากสอบถามนิดหน่อยครับ

พอดีผมเนี้ย บวชมาได้สักพักแล้ว น่าจะราวๆ 5-6 เดือนแล้วตอนนี้ พอดีผมอยากสึก แต่ว่าเนื่องด้วยจากผมยังติดอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งผมเป็นกังวลมาก หากสึกไปแล้ว จะมีผลกรรมตามรึเปล่า เนื่องจากช่วงนี้โควิดกำลังระบาด เลยไม่ได้ไปปริวาสกรรม การจัดปริวาสกรรมทั้งหมดจึงถูกระงับ ไม่สามารถจัดได้ ถ้าหากผมสึกไปทั้งอย่างนี้ผมจะเป็นอะไรไหม รึ จะมีผลอะไรตามไหม แล้วก็ถ้าหากผมสึกไปแล้ว ผมไปปริวาสกรรมทีหลังตอนที่สึกแล้วได้ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 125  
 
khampan.a
วันที่ 5 ม.ค. 2564

เรียน ความคิดเห็นที่ 124 ครับ

ถ้าลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติสังฆาทิเสสและไม่มีอาบัติอื่นๆ ด้วย เพราะไม่ใช่พระภิกษุแล้ว เป็นการดีอย่างยิ่งที่เมื่อไม่สามารถประพฤติตามพระวินัยได้ก็ลาสิกขา เพราะถ้ายังอยู่ต่อไป อันตรายอย่างยิ่ง เพราะมีอาบัติติดตัว หากมรณภาพไปขณะที่ยังเป็นพระภิกษุอยู่ ชาติหน้าต่อจากชาตินี้เลย ไปเกิดใน อบายภูมิ เท่านั้น และที่สำคัญเมื่อลาสิกขาแล้ว ก็ขอให้เป็นคฤหัสถ์ที่ดี ทำแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่ควรคิดในเรื่องการกลับมาใหม่เพื่อมาแก้อาบัติ เพราะเหตุว่า เป็นคฤหัสถ์ไม่มีอาบัติแล้วนั่นเอง แต่ถ้ากลับมาบวชใหม่ อาบัติที่เคยล่วงละเมิดครั้งก่อน กลับมาทั้งหมดเป็นโทษต่อไปอีก ครับ

...ยินดีในความดีของทุกท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 126  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 127  
 
Student01
วันที่ 9 ม.ค. 2564

แล้วแบบนี้พระที่ผิดสังฆาทิเสสอยู่แต่ยังไม่ได้ไปปริวาสกรรม ในระหว่างช่วงที่รองานปริวาสอยู่นั้นก็ไม่ต้องบำเพ็ญความดีหรือสมาธิเลยใช่ไหมครับ เพราะทำไปเท่าไรก็ไม่ได้อะไรเลย ไม่ได้มรรคได้ผล ถึงทำความดีเท่าไหนก็จะไม่ช่วยเลยใช่ไหมครับ คือต้องรอปริวาสก่อนอย่างเดียวหรอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 128  
 
khampan.a
วันที่ 12 ม.ค. 2564

เรียน ความคิดเห็นที่ 127 ครับ

เมื่อเป็นพระภิกษุที่เคารพในพระธรรมวินัย ถ้าท่านล่วงละเมิดสิกขาบทแล้ว จะพยายามทุกอย่าง ขวนขวาย เพื่อทำให้ตนเองบริสุทธิ์ ด้วยความจริงใจ เพราะท่านเข้าใจดีว่า ถ้าท่านยังมีอาบัติติดตัวอยู่ ไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ และ ถ้ามรณภาพไปในขณะที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ ก็ไปสู่อบายภูมิเท่านั้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 129  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 130  
 
soloyahaa
วันที่ 27 ก.พ. 2564

ขออนุญาตสอบถามหน่อย ครับ

เท่าที่หามาบางที่ก็บอกสึกไปแล้วอาบัติก็ติดตัว​ ต้องบวชใหม่ปาริวาสกรรมอย่างเดียวอะคับ เลยเกิดความสงสัยอะครับ สรุปอันไหนคือข้อเท็จจริงหรอครับ

ขอบพระคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 131  
 
paderm
วันที่ 27 ก.พ. 2564

เรียน ความเห็น 130 ครับ

ตามคำพระพุทธเจ้าสึกแล้วอาบัติไม่ติดตัวครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 132  
 
soloyahaa
วันที่ 27 ก.พ. 2564

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 131 โดย paderm

เรียน ความเห็น 130 ครับ

ตามคำพระพุทธเจ้าสึกแล้วอาบัติไม่ติดตัวครับ

ขออนุโมทนา

ขออนุญาตสอบถามอีกซัก 3 ข้อครับ

1. คือ ท่าตอนบวชพระอาบัติสังฆาฑิเสสไม่ว่าข้อใดก็ตามทั้ง 13 ข้อ?

2. หลังจากที่สึกออกมาแล้วอาบัตินั้นจะไม่ติดตัวใช่ไหมครับ​ จะไม่ส่งผลให้ชีวิตไม่เจริญรุ่งเรืองใช่ไหมครับ?

3. อาบัติสังฆาฑิเสสข้อที่​ 1​ เจตนาปล่อยสุกกะ​ครับ​ กรรมอยู่ที่ตัวเราคนเดียว​ สึกไปแล้วอาบัติยังตามติดไหมครับ

ขอบคุณที่ให้ความรู้เป็นวิทยาทานครับ​ สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 133  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.พ. 2564

มีคำตอบในความเห็นที่ 125 โดย อ.คำปั่น ครับ

ถ้าลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติสังฆาทิเสสและไม่มีอาบัติอื่นๆ ด้วย เพราะไม่ใช่พระภิกษุแล้ว เป็นการดีอย่างยิ่งที่เมื่อไม่สามารถประพฤติตามพระวินัยได้ก็ลาสิกขา เพราะถ้ายังอยู่ต่อไป อันตรายอย่างยิ่งเพราะมีอาบัติติดตัว หากมรณภาพไปขณะที่ยังเป็นพระภิกษุอยู่ ชาติหน้าต่อจากชาตินี้เลย ไปเกิดใน อบายภูมิ เท่านั้น และที่สำคัญเมื่อลาสิกขาแล้ว ก็ขอให้เป็นคฤหัสถ์ที่ดี ทำแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่ควรคิดในเรื่องการกลับมาใหม่เพื่อมาแก้อาบัติ เพราะเหตุว่า เป็นคฤหัสถ์ไม่มีอาบัติแล้วนั่นเอง แต่ถ้ากลับมาบวชใหม่ อาบัติที่เคยล่วงละเมิดครั้งก่อน กลับมาทั้งหมดเป็นโทษต่อไปอีก ครับ

สรุป ....

1. คือ ท่าตอนบวชพระอาบัติสังฆาฑิเสสไม่ว่าข้อใดก็ตามทั้ง 13 ข้อ?

ถ้าลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติสังฆาทิเสสและไม่มีอาบัติอื่นๆ ด้วย เพราะไม่ใช่พระภิกษุแล้ว

2. หลังจากที่สึกออกมาแล้วอาบัตินั้นจะไม่ติดตัวใช่ไหมครับ​ จะไม่ส่งผลให้ชีวิตไม่เจริญรุ่งเรืองใช่ไหมครับ?

ถ้าลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติสังฆาทิเสสและไม่มีอาบัติอื่นๆ ด้วย เพราะไม่ใช่พระภิกษุแล้ว แต่จะเจริญรุ่งเรืองหรือไม่ เป็นไปตามกรรม ครับ

3. อาบัติสังฆาฑิเสสข้อที่​ 1​ เจตนาปล่อยสุกกะ​ครับ​ กรรมอยู่ที่ตัวเราคนเดียว​ สึกไปแล้วอาบัติยังตามติดไหมครับ

ถ้าลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติสังฆาทิเสสและไม่มีอาบัติอื่นๆ ด้วย เพราะไม่ใช่พระภิกษุแล้ว

* * * เป็นการดีอย่างยิ่งที่เมื่อไม่สามารถประพฤติตามพระวินัยได้ ก็ลาสิกขา เพราะถ้ายังอยู่ต่อไป อันตรายอย่างยิ่ง เพราะมีอาบัติติดตัว หากมรณภาพไปขณะที่ยังเป็นพระภิกษุอยู่ ชาติหน้าต่อจากชาตินี้เลย ไปเกิดใน อบายภูมิ เท่านั้น

* * * แต่ถ้ากลับมาบวชใหม่ อาบัติที่เคยล่วงละเมิดครั้งก่อน กลับมาทั้งหมดเป็นโทษต่อไปอีก ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 134  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.พ. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 135  
 
soloyahaa
วันที่ 27 ก.พ. 2564

ขอบพระคุณมากครับ

เป็นข้อมูลที่ดีมากๆ สำหรับผม​และได้สำนึกเกรงกลัวต่อบาปกรรม​ ทำให้ได้คิดไตร่ตรองว่าควรหมั่นทำแต่ความดี​ มีสติในการดำเนินชีวิตอีกต่อไป​

ขอบคุณครับ​ สาธุๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 136  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 138  
 
karn660
วันที่ 22 เม.ย. 2564

ขอบพระคุณมากสำหรับคำแนะนำ ผมก็อาบัติข้อที่ 1 แต่นี้ก็จะของตั้งใจศึกษาพระธรรมให้มากขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 140  
 
chatchai.k
วันที่ 2 พ.ค. 2564

ความเห็นที่ 125

ถ้าลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติสังฆาทิเสส และไม่มีอาบัติอื่นๆ ด้วย เพราะไม่ใช่พระภิกษุแล้ว เป็นการดีอย่างยิ่งที่เมื่อไม่สามารถประพฤติตามพระวินัยได้ ก็ลาสิกขา เพราะถ้ายังอยู่ต่อไป อันตรายอย่างยิ่ง เพราะมีอาบัติติดตัว หากมรณภาพไปขณะที่ยังเป็นพระภิกษุอยู่ ชาติหน้าต่อจากชาตินี้เลย ไปเกิดในอบายภูมิเท่านั้น และที่สำคัญเมื่อลาสิกขาแล้วก็ขอให้เป็นคฤหัสถ์ที่ดี ทำแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่ควรคิดในเรื่องการกลับมาใหม่เพื่อมาแก้อาบัติ เพราะเหตุว่า เป็นคฤหัสถ์ไม่มีอาบัติแล้วนั่นเอง แต่ถ้ากลับมาบวชใหม่ อาบัติที่เคยล่วงละเมิดครั้งก่อน กลับมาทั้งหมดเป็นโทษต่อไปอีก ครับ


ความเห็นที่ 128

เมื่อเป็นพระภิกษุที่เคารพในพระธรรมวินัย ถ้าท่านล่วงละเมิดสิกขาบทแล้ว จะพยายามทุกอย่าง ขวนขวาย เพื่อทำให้ตนเองบริสุทธิ์ ด้วยความจริงใจ เพราะท่านเข้าใจดีว่า ถ้าท่านยังมีอาบัติติดตัวอยู่ ไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ และ ถ้ามรณภาพไปในขณะที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ ก็ไปสู่อบายภูมิเท่านั้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 141  
 
Deep
วันที่ 12 พ.ค. 2564

ตอนนี้บวชเป็นพระอยู่ แล้วจะสึกในอีก 2 อาทิตย์ ตอนนี้อาบัติสังฆาทิเสส ข้อ 1, 3, 4, 5 จะปลงอาบัติได้ไหมขอคำแนะนำหน่อย

 
  ความคิดเห็นที่ 142  
 
khampan.a
วันที่ 20 พ.ค. 2564

เรียน ความคิดเห็นที่ 141 ครับ

เมื่อต้องอาบัติ ก็ต้องมีความจริงใจ ตั้งใจที่จะออกจากอาบัตินั้นๆ ต้องใฝ่ใจอยู่เสมอ สำหรับอาบัติสังฆาทิเสส เป็นอาบัติหนักที่สามารถพ้นได้ด้วยการประพฤติวุฏฐานวิธี (อยู่กรรม) ชีวิต ไม่มีใครรู้ได้ว่าจะจากโลกนี้ไปเมื่อใด จะประมาทไม่ได้เลย เพราะถ้ามรณภาพไปในระหว่างที่เป็นภิกษุที่มีอาบัติติดตัวอยู่ ก็ไปสู่อบายภูมิเท่านั้น เพราะมีอาบัติเป็นเครื่องกั้นไม่สามารถไปเกิดในสุคติภูมิได้ในชาติถัดไป ดังนั้น จึงควรทำให้ถูกต้อง แต่ถ้ายังไม่สามารถไปประพฤติวุฏฐานวิธีได้ อยู่ไปจนถึงวันลาสิกขา แล้วลาสิกขาได้ เมื่อนั้นก็ไม่มีอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว เพราะไม่ได้เป็นพระภิกษุ และไม่ต้องกลับมาบวชใหม่ เพราะถ้าบวชใหม่ อาบัติจะมีเหมือนเดิม เป็นโทษเหมือนเดิม ครับ

…ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 143  
 
chatchai.k
วันที่ 20 พ.ค. 2564

ถ้ายังไม่สามารถไปประพฤติวุฏฐานวิธีได้ อยู่ไปจนถึงวันลาสิกขา แล้วลาสิกขาได้ เมื่อนั้น ก็ไม่มีอาบัติสังฆาทิเสสแล้วเพราะไม่ได้เป็นพระภิกษุ และไม่ต้องกลับมาบวชใหม่ เพราะถ้าบวชใหม่ อาบัติจะมีเหมือนเดิม เป็นโทษเหมือนเดิม ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 146  
 
Thanakorn2603
วันที่ 18 ส.ค. 2565

ในขนาดที่เราเป็นภิษุอยู่ แต่เราทำผิดสังฆาทิเสส แล้วเราบำเพ็ญภาวนา นั่งสมาธิ สวดมนต์ แล้วจะยังเป็นผลอยู่ใหมครับ แล้วจะมีผลต่อเรา หรือ พ่อแม่ญาติพี่น้องเราใหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 147  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ส.ค. 2565

ข้อความบางตอนจากกระทู้ ...

ทำไมบวช

การบวช ไม่ใช่ง่าย ไม่ใช่ของเล่น ไม่ใช่ใครก็บวชได้ อย่างที่บวชกันในยุคนี้สมัยนี้ ซึ่งไม่ใช่การบวชตามพระธรรมวินัย การบวชเป็นการสละ ละความติดข้อง ผู้บวชเป็นผู้สงบจากความติดข้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 148  
 
 
  ความคิดเห็นที่ 149  
 
อาทิยะ
วันที่ 29 ก.ย. 2565

ผมขอแสดงอาบัติ ว่าผมได้ทำผิดอาบัติสังฆาทิเสสข้อ ๑ ๓ ๔ ๕ โดยที่ตั้งใจ ก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ทุกท่านรับฟังไว้ด้วย และจะไม่ทำอีกแล้ว ตลอดการเป็นพระ แล้วจะเคร่งกับการเรียนบทสวดมนต์ ให้มากๆ ๆ ครับ

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

พระเอกลักษณ์ อธิวโร....

 
  ความคิดเห็นที่ 150  
 
chatchai.k
วันที่ 29 ก.ย. 2565

ทำไมบวช

โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์

คนที่ไม่เข้าใจธรรม ไม่เห็นกิเลสของตัวเองและไม่ได้สะสมอุปนิสัยในการสละเพศคฤหัสถ์ แล้วบวช นั้น ไม่ใช่ผู้ที่จริงใจและไม่ใช่ผู้ตรง เพราะถามว่าบวชทำไม ถ้าตอบว่าเพราะเหตุนั้นๆ แต่ไม่ใช่เพราะได้เข้าใจพระธรรมและรู้อัธยาศัยของตนเองว่าเพื่อศึกษาพระธรรมและขัดเกลากิเลสในเพศภิกษุตามพระธรรมวินัยแล้ว สมควรบวชไหม การบวชเป็นภิกษุไม่ใช่เป็นอยู่อย่างสบายให้ผู้คนกราบไหว้ แต่เพราะเป็นผู้ที่เห็นกิเลสและเห็นโทษของกิเลส และรู้ว่าหนทางเดียวที่จะขัดเกลากิเลสก็ด้วยความเข้าใจพระธรรมจึงบวชเพื่อศึกษาธรรมและขัดเกลากิเลสยิ่งกว่าคฤหัสถ์ ฉะนั้น การดำรงชีวิตของคฤหัสถ์และบรรพชิตจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ